การบันทึกหรือรายงานผลการทดลองสำหรับการบอกจำนวนหรือปริมาณของสารที่เป็นค่าตัวเลข ตัวเลขที่แสดงนั้นต้องสามารถบอกถึงความถูกต้อง และ/หรือ ความเที่ยงของการวัดหรือเครื่องมือวัด ตัวเลขดังกล่าวนี้เรียกว่า เลขนัยสำคัญ (significant figure) โดยตัวเลขนัยสำคัญประกอบด้วยตัวเลขทุกตัวที่แสดงแน่นอน (certainty) รวมกับตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่แสดงความไม่แน่นอน (uncertainty)
การนับตัวเลขนัยสำคัญ จะนับจากตัวเลขที่แน่นอนตัวแรกสุดที่ไม่ใช่เลขศูนย์ รวมถึงตัวเลขสุดท้ายที่มีค่าไม่แน่นอนอีกหนึ่งตัว
การปัดเลข ในการปัดตัวเลขให้พิจารณาตัวเลขที่ตามหลังตัวเลขนัยสำคัญตัวสุดท้าย
2.1) ถ้าตัวเลขที่พิจารณามีค่ามากกว่าเลข 5 ให้ปัดขึ้น เช่น 2.78 ต้องการเลขนัยสำคัญเพียง 2 ตัว โดยการตัดเลข 8 ออก เนื่องจากเลข 8 มีค่าสูงกว่า 5 ให้ปัดขึ้น จะได้เป็น 2.78 = 2.8
2.2) ถ้าตัวเลขที่พิจารณามีค่าน้อยกว่าเลข 5 ให้ปัดทิ้ง เช่น 2.72 ต้องการปัดเลข 2 ออกให้ตัดทิ้งจะได้เป็น 2.7
2.3) ถ้าตัวเลขที่พิจารณาเป็นเลข 5 ให้พิจารณาดังนี้
– ตัวเลขนำหน้า 5 เป็นเลขคู่ (หรือเป็น 0) ให้ตัดเลข 5 ทิ้งไป เช่น 2.85 = 2.8
– ตัวเลขนำหน้า 5 เป็นเลขคี่ ให้ปัดเลข 5 ขึ้น เช่น 2.75 = 2.8
1) ตัวเลขนัยสำคัญที่ได้จากการบวกหรือลบ ผลลัพธ์ต้องมีเลขทศนิยมเท่ากับจำนวนเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมที่มีจำนวนน้อยที่สุด เช่น
12.45 + 134.324 + 60.4786 = 207.2526
ดังนั้นผลลัพธ์ต้องมีเลขทศนิยมเท่ากับสองตำแหน่ง เราต้องนำหลักการปัดเลขมาพิจารณาเลข 5 ซึ่งหลังเลข 5 เป็น 2 ซึ่งน้อยกว่า 5 ดังนั้นให้ปัดทิ้ง คำตอบที่ถูกต้องตามหลักเลขนัยสำคัญคือ 207.25
2) ตัวเลขนัยสำคัญที่ได้การคูณหรือหาร ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีเลขนัยสำคัญเท่ากับตัวเลขที่นำมาคูณหรือที่มีจำนวนเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด เช่น
0.90815 = 0.91
ดังนั้นผลลัพธ์ต้องมีเลขนัยสำคัญเท่ากับตัวเลขที่นำมาคูณหรือที่มีจำนวนเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด นั่นคือ 5.2 (นับเลขนัยสำคัญได้ 2 ตัว) เราต้องนำหลักการปัดเลขมาพิจารณาเลข 0 ซึ่งหลังเลข 0 เป็น 8 ซึ่งน้อยกว่า 5 ดังนั้นให้ปัดขึ้น คำตอบที่ถูกต้องตามหลักเลขนัยสำคัญคือ 0.91
3) ตัวเลขที่ได้จากคำนวณเกี่ยวกับลอการิทึม (logarithm) เช่นการเปลี่ยนลอการิทึมไปเป็น antilogarithm หรือเปลี่ยนกลับกัน การหาค่าลอการิทึมของตัวเลขจำนวนหนึ่งค่าที่ได้ประกอบด้วยตัวเลขสองชนิดคือ characteristic และ mantissa การนับเลขนัยสำคัญจะนับจำนวนเลขที่เป็น mantissa เท่านั้นให้มีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับตัวเลขนัยสำคัญที่นำมาหาค่าลอการิทึม
ตัวอย่าง
1. ตัวเลขที่ไม่ใช่ศูนย์เป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
ตัวเลข |
จำนวนเลขนัยสำคัญ |
354 |
3 ตัว |
2.829 |
4 ตัว |
2. เลขศูนย์ที่อยู่ระหว่างตัวเลขใดๆก็ตามถือเป็นเลขในนัยสำคัญ เช่น
ตัวเลข |
จำนวนเลขนัยสำคัญ |
502 |
3 ตัว |
10872 |
5 ตัว |
3. เลขศูนย์ใดๆที่อยูทางซ้ายของตัวเลขที่ไม่ใช่ศูนย์ ไม่ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
ตัวเลข |
จำนวนเลขนัยสำคัญ |
0.045 |
2 ตัว |
0.23 |
2 ตัว |
0.0023556 |
5 ตัว |
4. เมื่อตัวเลขใดๆที่มีค่ามากกว่า 1 เลขศูนย์ที่อยู่ทางขวาของเลขนั้นๆ ถือเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
ตัวเลข |
จำนวนเลขนัยสำคัญ |
6.0 |
2 ตัว |
89.0320 |
6 ตัว |
50.212 |
5 ตัว |
5. แต่ถ้าตัวเลขใดๆที่มีค่าน้อยกว่า 1 แต่เลขศูนย์อยู่ทางขวาของเลขนั้นและอยู่ระหว่างตัวเลขอื่นๆด้วย ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
ตัวเลข |
จำนวนเลขนัยสำคัญ |
0.0501 |
3 ตัว |
0.28905 |
5 ตัว |
0.7000211 |
7 ตัว |
-ขอบคุณข้อมูล https://web.rmutp.ac.th/
Author: Tuemaster Admin
ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)