ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนยากที่จะกลับไปเป็นเหมือนเดิมหลังสงครามการค้าเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ต่อจากนี้เชื่อว่าทั่วโลกจะจับตาไปที่ตลาดเงิน เมื่อการเคลื่อนไหวของเงินหยวนล่าสุดส่งสัญญาณว่ามีโอกาสเข้าสู่ “สงครามค่าเงิน”
เงินหยวนอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯถึง 4% จากระดับ 6.2 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาที่ระดับ 6.6 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะดูไม่เหวี่ยงเหมือนสกุลเงินหลักอื่นๆ แต่ถือเป็นสถิติใหม่ของหยวนสำหรับการอ่อนค่ามากที่สุดในเดือนเดียว
เส้นส้ม Dollar Index (ขึ้นคือแข็งค่า) เส้นขาวค่าเงินหยวนต่อหนึ่งดอลลาร์ (ขึ้นคืออ่อนค่า)
ที่มา : Bloomberg ปี 2541 (ค.ศ.1971) ประธานาธิบดีนิกสันตั้งกำแพงภาษีกับญี่ปุ่น จบด้วยการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯถึง 30% ในสองปีต่อมา ครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีเรแกนและประธานาธิบดีบุช ตั้งกำแพงภาษีกับธุรกิจรถยนต์ สุดท้ายก็ตามมาด้วยการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯถึง 50% ในช่วงปี2528-2533 (ค.ศ. 1985- 1990)และล่าสุดในปี 2542 (ค.ศ. 2002) การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯถึง 30% ก็เกิดในช่วง 2 ปีหลังจากที่ประธานาธิบดีบุชตั้งกำแพงภาษีกับธุรกิจเหล็ก หรือสรุปได้ว่า ถ้าจีนไม่เริ่มสงครามค่าเงิน
ฝั่งสหรัฐฯเศรษฐกิจฟื้นตัวจากนโยบายภาษี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคที่มีขนาดถึง 70% ของจีดีพีสหรัฐฯขณะที่การส่งออกไปจีนคิดเป็นแค่ 0.7% แม้จะโดนจีนกีดกันการค้ากลับ ก็ยากที่จะกระทบกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ธนาคารกลางสหรัฐฯจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยต่อไปได้ ซึ่งจะทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯถูกดูดกลับไปสหรัฐฯ
ต่างกับทางฝั่งเศรษฐกิจจีน ที่การส่งออกรวมกับการลงทุนมีค่าถึง 70% ของจีดีพี เมื่อ 20% ของการส่งออกและ 10% ของการลงทุนมีจุดหมายที่สหรัฐฯ 10 ปีก่อนทางการจีนตรึงค่าเงินไว้ที่ระดับ 6.8 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ตอนนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึง 10% ต่อจีดีพี ตอนนี้เหลือเพียง 1% ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนที่เคยสูงสุดถึงเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯตอนนั้น ก็เหลือแค่ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในตอนนี้ ไม่แปลกที่นักวิเคราะห์ในตลาดจะมองว่ามูลค่าพื้นฐานของเงินหยวนน่าจะอ่อนค่าไปอยู่ในช่วง 7-10 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ใช่ 6 กว่าในปัจจุบัน
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.finnomena.com/