เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin, 1706-1790)
พบว่าการขัดสีวัตถุด้วยผ้าขนสัตว์ทําให้เกิดประจุบนวัตถุและได้ทดลองนําแท่งแก้วและยางที่มีประจุจากการขัดสีไปวางใกล้แท่งยาง
ที่แขวนไว้ด้วยเชือกพบว่าแท่งแก้วออกแรงดูดแต่แท่งยางออกแรงผลัก แสดงว่าประจุที่เกิดในวัสดุ ชนิดเดียวกันจะผลักกันและประจุในวัสดุต่างชนิดจะดูดกัน ประจุทําให้เกิดแรงกระทํากับวัตถุได้ 2
แบบ จึงคิดว่าควรมีประจุ 2 ชนิดโดยเรียกประจุชนิดหนึ่งว่าประจุบวก (positive charge) และประจุอีกชนิดว่าประจุลบ (negative charge) แรงที่เกิดจากประจุต่างชนิดกันจะดูดกันและประจุ
ชนิดเดียวกันจะผลักกัน ในภายหลังได้มีการทดลองและศึกษาคุณสมบัติของประจุทั้งสอง คุณสมบัติของประจุอนุภาคประจุบวกเรียกว่าโปรตอน (proton, p ) มีประจุเท่ากับ +e
อนุภาคประจุลบเรียกว่าอิเล็กตรอน (electron, e ) มีประจุเท่ากับ -e การขัดสีทําให้เกิดประจุ บนวัตถุเนื่องจากการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างวัตถุที่ขัดสีกัน ภายหลังทราบว่าประจุลบมีมวลน้อย
กว่าประจุบวกมาก ดังนั้นการแลกเปลี่ยนประจุเกิดขึ้นเพราะประจุลบเคลื่อนที่โดยจํานวนประจุที่ เกิดขึ้นเป็นจํานวนเท่า (จํานวนเต็ม) ของประจุอิเล็กตรอน วัสดุที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจํานวน
อนุภาคประจุบวกเท่ากับประจุลบ ถ้าเอาอิเล็กตรอน n ตัวออกจากวัสดุจะทําให้วัสดุมีประจุสุทธิ เป็นบวกเท่ากับ +ne ถ้าให้อิเล็กตรอน n ตัวกับวัสดุจะทําให้มีประจุสุทธิเป็น -ne
วัสดุตัวนําและฉนวน วัสดุโดยทั่วไปจะเป็นกลางทางไฟฟ้าคือมีประจุบวกเท่ากับประจุลบและ มีอิเล็กตรอนจํานวนมหาศาลในเนื้อวัสดุฉนวน เช่น แก้ว และ ยาง เป็นวัสดุที่ไม่นําไฟฟ้า เมื่อนําไป
ขัดถูจะเกิดประจุบริเวณที่มีการเสียดสีประจุที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของ วัสดุได้ตัวนํา เช่น ทองแดง อลูมิเนียม และ เงิน เมื่อมีประจุเกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของวัสดุ ประจุจะ
กระจายตัวออกไปทั่วทั้งพื้นผิวของวัสดุเพราะอิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระที่ผิวตัวนํา
กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law)
ชาร์ล คูลอมบ์ (Charles Coulomb, 1736-1806) ศึกษาขนาดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้า พบว่าแรงที่เกิดขึ้นระหว่างประจุจะมีทิศตามแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างประจุนั้น ถ้าประจุเป็นชนิด
เดียวกันจะเป็นแรงผลักและประจุต่างชนิดเป็นแรงดูด ขนาดของแรงลดลงตามระยะห่างกําลังสอง และขึ้นกับปริมาณประจุ