สารละลายบัฟเฟอร์ (Buffer solution)
สารละลายบัฟเฟอร์ หมายถึง สารละลายที่มีความสามารถในการควบคุมระดับ pH เอาไว้ได้ เมื่อเติมสารละลายกรดหรือเบสจำนวนที่ไม่มากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำบริสุทธิ์ที่เติมกรดหรือเบสจำนวนเท่ากัน สารละลายที่มีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์จะควบคุมระดับ pH เอาไว้ได้ดีกว่าน้ำกลั่น สารละลายบัฟเฟอร์เกิดจากการผสมระหว่างสารละลายกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อนนั้น หรือสารละลายเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนนั้น แม้ว่าสารละลาย
บัฟเฟอร์จะควบคุมระดับ pH เอาไว้ได้ดีกว่าน้ำกลั่น แต่ถ้าเติมกรดหรือเบสมากเกินไป สารละลายบัฟเฟอร์ก็จะไม่สามารถควบคุมระดับ pH เอาไว้ได้ตลอด
ในที่สุดจะเสียสมบัติในการเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ไป เราเรียกความสามารถในการควบคุมระดับ pH ของสารละลายบัฟเฟอร์ว่า buffer capacity
สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1) บัฟเฟอร์กรด (Acid buffer solution) เกิดจากสารละลายของกรดอ่อนผสมกับสารละลายเกลือของกรดอ่อนชนิดนั้น สารละลายบัฟเฟอร์ประเภทนี้มี pH < 7 เช่น
CH3COOH (กรดอ่อน) + CH3COONa (เกลือของกรดอ่อน)
HCN (กรดอ่อน) + KCN (เกลือของกรดอ่อน)
H2S(กรดอ่อน) + Na2S (เกลือของกรดอ่อน)
H2CO3(กรดอ่อน) + NaHCO3 (เกลือของกรดอ่อน)
2) บัฟเฟอร์เบส (Basic buffer solution) เกิดจากสารละลายของเบสอ่อนผสมกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนนั้น สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH > 7 เช่น
NH3 (เบสอ่อน) + NH4Cl (เกลือของเบสอ่อน)
NH3 (เบสอ่อน) + NH4NO3 (เกลือของเบสอ่อน)
Fe(OH)2 (เบสอ่อน) + FeCl2 (เกลือของเบสอ่อน)
Fe(OH)3 (เบสอ่อน) + FeCl3 (เกลือของเบสอ่อน)
สารละลายบัฟเฟอร์(buffer solution)หมายถึงสารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
หรือคู่เบสของกรดอ่อน หรือหมายถึงสารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
หรือคู่กรดของเบสอ่อนนั้น สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ pH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่
จำนวนเล็กน้อยลงไปการเตรียม ทำได้โดยการเติมกรดอ่อนลง
ในสารละลายเกลือของกรดอ่อน หรือการเติมเบสอ่อนลงในสารละลายเกลือของเบสอ่อน
ตัวอย่างสารละลายบัฟเฟอร์ เช่น
1.บัฟเฟอร์ของกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดอ่อน(เกลือ)
เช่น CH3COOH/CH3COONa มี pH <7
2.บัฟเฟอร์ของเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสอ่อน(เกลือ)
เช่น NH3OH/NH4Cl มี pH >7
การคำนวณเกี่ยวกับบัฟเฟอร์
1. pH = Pka + log [salt]/[Acid]
2. pOH=Pkb +log[salt]/[Base]
หรือคู่เบสของกรดอ่อน หรือหมายถึงสารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
หรือคู่กรดของเบสอ่อนนั้น สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ pH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่
จำนวนเล็กน้อยลงไปการเตรียม ทำได้โดยการเติมกรดอ่อนลง
ในสารละลายเกลือของกรดอ่อน หรือการเติมเบสอ่อนลงในสารละลายเกลือของเบสอ่อน
ตัวอย่างสารละลายบัฟเฟอร์ เช่น
1.บัฟเฟอร์ของกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดอ่อน(เกลือ)
เช่น CH3COOH/CH3COONa มี pH <7
2.บัฟเฟอร์ของเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสอ่อน(เกลือ)
เช่น NH3OH/NH4Cl มี pH >7
การคำนวณเกี่ยวกับบัฟเฟอร์
1. pH = Pka + log [salt]/[Acid]
2. pOH=Pkb +log[salt]/[Base]
ตัวอย่าง
1. จงคำนวณหา pH ของสารละลาย 1.00M CH3COOH และ
1.00M CH3COONa(Ka ของ CH3COOH=1.8×10-5 ที่ 25 0C)
วิธีทำ CH3COONa(s)— CH3COO – (aq) + Na +(aq)
CH3COOH + H2O= CH3COO – + H3O +
ความเข้มข้นเริ่มต้น 1.00 1.00 –
ขณะเปลี่ยนแปลง -x +x +x
ที่สมดุล 1.00-x 1.00+x +x
Ka =[ CH3COO – ][ H3O+]/[ CH3COOH ]
1.8×10-5 = x(1.00)/1.00
x =[ H3O+] =1.8×10-5
pH =-log[ H3O+]
=-log(1.8×10-5) = 4.74
2. เมื่อเติม 0.02M OH– ลงในสารละลาย ในข้อ 1 pH จะเป็นเท่าใด
วิธีทำ CH3COOH + OH– =CH3COO – + H2O
เมื่อเริ่มต้น 1.00M 1.00M
เติมเบส 0.02M
ขณะเปลี่ยนแปลง -0.02 M -0.02M +0.02M
หลังจากปฏิกิริยา 0.98M ~0M 1.02M
pH = Pka+ log [CH3COO – ]/[ CH3COOH ]
=-log(1.8×10-5) +log(1.02/0.98)
= 4.77
3.เมื่อเติม 0.02M H3O+ ลงในสารละลายข้อ 1 pH จะเป็นเท่าใด
CH3COO – + H3O+ =CH3COOH + H2O
เมื่อเริ่มต้น 1.00M 1.00M
เติมกรด 0.02M
ขณะเปลี่ยนแปลง -0.02M -0.02M +0.02M
หลังจากปฏิกิริยา 0.98M ~0M 1.02M
pH = Pka+ log [ CH3COO–]/[ CH3COOH ]
=-log(1.8×10-5) +log(0.98/1.02)
= 4.72
แบบฝึกหัด
1. If 0.010 M NH3 50 cm3 is mixed with 0.100 M NH4Cl 50 cm3 , NH3 has a Kb =1.8×10-5
(สารละลาย NH3 ความเข้มข้น 0.010 M จำนวน 50 cm3 ผสมกับสารละลาย NH4Cl ความเข้มข้น 0.100 M จำนวน 50 cm3 ; ค่า Kb ของ MH3 = 1.8×10-5 )
a. setup the equilibrium expression. (จงเขียนสมการแสดงภาวะสมดุล)
b. calculate the concentration of OH– produced. (จงคำนวณหาความเข้มข้นของ OH–)
c. calculate the pOH. (จงคำนวณหาค่า pOH)
d. Calculate the pH (จงคำนวณหาค่า pH)
2. What is the pH of a solution of 0.81 M acid and 0.65 M of its conjugate base if the ionization constant is
4.92 x 10-7? (Ans.c) (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น 0.81 M มีค่า Ka = 4.92 x 10-7 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น
0.65 M อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
a) 5.80 b) 6.40 c) 6.21 d) 6.81 e) 6.62
3. What is the pH of a solution of 0.28 M acid and 0.73 M of its conjugate base if the ionization constant is
3.75 x 10-9? (Ans.c) (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น 0.28 M มีค่า Ka = 3.75 x 10-9 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น
0.73 M อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
a) 9.58 b) 9.32 c) 8.84 d) 8.01 e) 9.12
4. What is the pH of a solution of 0.17 M acid and 0.50 M of its conjugate base if the ionization constant is
2.87 x 10-9 ? (Ans.c) (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น 0.17 M มีค่า Ka = 2.87 x 10-9 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น
0.50 M อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
a) 9.31 b) 9.59 c) 9.01 d) 9.98 e) 9.71
5. What is the pH of a solution of 0.73 M acid and 0.40 M of its conjugate base if the pKa = 7.70 ? (Ans.c)
(สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น 0.73 M มีค่า pKa = 7.70 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 0.40 M อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
a) 8.30 b) 7.15 c) 7.44 d) 7.95 e) 8.15
6. What is the pH of a solution of 0.28 M acid and 0.54 M of its conjugate base if the pKa = 7.93 ? (Ans.c)
(สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น 0.28 M มีค่า pKa = 7.93 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 0.54 M อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
a) 7.40 b) 7.65 c) 8.21 d) 7.00 e) 7.22
7. What is the pH of a solution of 0.65 M acid and 0.51 M of its conjugate base if the pKa = 5.30 ? (Ans.c)
(สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น 0.65 M มีค่า pKa = 5.30 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 0.51 M อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
a) 5.85 b) 5.41 c) 5.19 d) 6.05 e) 5.62
8. What is the hydronium ion concentration of a solution of 0.260 M acid and 0.640 M of its conjugate base if the ionization constant is 2.06 x 10-6 ? (Ans.a)
(สารละลายของกรดชนิดหนึ่งความเข้มข้น 0.260 M มีค่า Ka=2.06 x 10-6 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 0.640 M อยากทราบว่าความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนเป็นเท่าไร)
a) 8.37 x 10-7 b) 4.21 x 10-7 c) 1.25 x 10-5 d) 2.50 x 10-6 e) 5.07 x 10-6
9. What is the hydronium ion concentration of a solution of 0.200 M acid and 0.600 M of its conjugate base if the ionization constant is 2.88 x 10-7 ? (Ans.a)
(สารละลายของกรดชนิดหนึ่งความเข้มข้น 0.200 M มีค่า Ka=2.88 x 10-7 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 0.600 M อยากทราบว่า
ความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนเป็นเท่าไร)
a) 9.69 x 10-8 b) 1.73 x 10-7 c) 8.64 x 10-7 d) 5.80 x 10-8 e) 4.67 x 10-7
10. What is the hydronium ion concentration of a solution of 0.700 M acid and 0.440 M of its conjugate base if the ionization constant is 3.59 x 10-8 ? (Ans.a)
(สารละลายของกรดชนิดหนึ่งความเข้มข้น 0.700 M มีค่า Ka=3.59 x 10-8 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 0.440 M อยากทราบว่าความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนเป็นเท่าไร)
a) 5.71 x 10-8 b) 2.26 x 10-8 c) 2.47 x 10-7 d) 8.98 x 10-8 e) 1.13 x 10-7
11. A buffer solution is formed by adding 0.500 mol of sodium acetate and 0.500 mol of acetic acid to 1.00 L H2O. What is the pH of the solution at equilibrium?
(Ka = 1.80 x 10-5)
(สารละลายบัฟเฟอร์ 1 ลิตร เกิดจากโซเดียมอะซิเตตและกรดแอซืติกชนิดละ 0.500 โมล ละลายอยู่รวมกัน อยากทราบว่าจะมี pH เท่าไร ถ้าค่า Ka ของกรดแอซิติกคือ 1.80 x 10-5)
(A) 5.05 (B) 4.74 (C) 4.44 (D) 2.38 (E) None of these
12.. The amount (in grams) of sodium acetate (MW = 82.0) to be added to 500.0 mL of 0.200 molar acetic acid (Ka = 1.80 x 10-5) in order to make a buffer with
pH = 5.000 is
(เมื่อต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ให้มี pH 5.00 โดยการเติมโซเดียมอะซิเตต (MW = 82.0) ลงในสารละลายกรดแอซิติกจำนวน 500 ml ความเข้มข้น
0.200 molar อยากทราบว่าจะต้องใช้โซเดียมอะซิเตตกี่กรัม)
(A) 69 (B) 0.180 (C) 14.9 (D) 29.5 (E) None of these
13. What volumes of 0.500 M HNO2 (Ka = 4.0 X 10-4) and 0.500 M NaNO2 must be mixed to prepare 1.0 L of a solution buffered at pH 3.55?
(เมื่อต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ pH 3.55 จำนวน 1.0 ลิตร จากสารละลาย HNO2 ความเข้มข้น 0.500 M Ka = 4.0 X 10-4 กับสารละลาย NaNO2
ความเข้มข้น 0.500 M เช่นกัน อยากทราบว่าจะต้องใช้สารละลายแต่ละชนิด ปริมาตรเท่าไร)
(A) 500 mL of each solution
(B) 703 mL 0.500 M HNO2, 297 mL 0.500 M NaNO2
(C) 413 mL 0.500 M HNO2, 587 mL 0.500 M NaNO2
(D) 297 mL 0.500 M HNO2, 703 mL 0.500 M NaNO2
(E) 587 mL 0.500 M HNO2, 413 mL 0.500 M NaNO2
14. Which of the following would not make a good buffering system? (ส่วนประกอบในข้อใดไม่เป็นระบบบัฟเฟอร์ที่ดี)
(A) SO42- and H2SO4
(B) HCO3– and H2CO3
(C) NH3 and NH+4
(D) CH3COO– and CH3COOH
15. If 1.00 L of 1.00 M CH3COOH is mixed with 0.25 mole of solid NaOH (assume no volume change), what will be the pH of the resulting solution?
(Ka = 1.8 x 10-5).
(เมื่อผสมสารละลาย CH3COOH Ka = 1.8 x 10-5 ความเข้มข้น 1.00 M จำนวน 1.00 L กับ NaOH จำนวน 0.25 mole เข้าด้วยกัน โดยสมมติว่าปริมาตรคงที่
อยากทราบว่าสารละลายผสมจะมี pH เท่าไร)
(A) 4. 14 (B) 4.26 (C) 4.74 (D) 5.35
16. Which solution would show the least change in pH upon addition of 3.0 mL of 1.0 M KOH? (Assume equal volumes of each solution are used.
Ka for HC2H3O2 = 1.8 x 10-5)
(ถ้านำสารละลายในแต่ละข้อของตัวเลือกมาในปริมาณที่เท่ากัน แล้วทดลองเติมสารละลาย KOH ความเข้มข้น 1.0 M จำนวน 3.0 mL ลงในแต่ละสารละลาย อยากทราบว่าชนิดใดที่ pH
เปลี่ยนน้อยที่สุด)
(A) A solution that is 0.50 M acetic acid and 0.50 M sodium acetate.
(B) A solution that is 0.10 M acetic acid and 0.10 M sodium acetate.
(C) A solution that is 1.0 M acetic acid.
(D) A solution that is 0.50 M sodium acetate.
17. What volume of 0.100 M NaOH must be added to 1.00 L of 0.0500 M HA
(Ka = 4.0 x 10-8) to achieve a pH of 8.00?
(มีสารละลายของกรดอ่อน HA (Ka = 4.0 x 10-8) ความเข้มข้น 0.0500M อยู่ 1 ลิตร อยากทราบว่าจะต้องเติมสารละลาย NaOH ความเข้มข้น 0.100 M ลงไปกี่ลิตร
เพื่อทำให้สารละลายมี pH=8)
(A) 1.00 L (B) 5.00 L (C) 2.00 L (D) 4.00 L (E) None of these
18. Determine the pH of a solution in which 1.00 mol H2CO3 (Ka = 4.2 x 10-7) and 1.00 mole NaHCO3 are dissolved in enough water to form 1.00 L of solution.
(เมื่อใช้ H2CO3 , Ka = 4.2 x 10-7 จำนวน 1.00 โมล ละลายรวมกับ NaHCO3 จำนวน 1.00 โมลเช่นกัน ในสารละลาย 1.00 ลิตร อยากทราบว่าสารละลายมี pH เท่าไร)
19. How many moles of NaHCO3 should be added to one liter of 0.100 M H2CO3 (Ka = 4.2 x 10-7) to prepare a buffer with pH = 7.00?
(มีสารละลาย H2CO3 ( Ka = 4.2 x 10-7 ) ความเข้มข้น 0.100 M อยู่ 1 ลิตร อยากทราบว่าเมื่อต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ ให้มี pH=7 จะต้องเติม NaHCO3 ลงไปกี่โมล)
20. Determine the pH of 0.01 M NH3 (Kb= 1.8 x 10-5) when an equal volume of 0.05 M NH4Cl is added.
(สารละลาย NH3 (Kb= 1.8 x 10-5) ความเข้มข้น 0.1M ถ้าเติมสารละลาย NH4Cl ความเข้มข้น 0.05M และมีปริมาตรเท่ากันลงไป สารละลายที่ได้จะมี pH เท่าไร)
21. Determine the pH of an HCN/KCN buffer containing 0.10 mole HCN and 0.07 mole KCN before and after
the addition of 0.001 mol HCl to one liter of buffer. (Ka = 4.79 x 10-10)
รละลายบัฟเฟอร์ระหว่าง HCN/KCN (Ka = 4.79 x 10-10) จำนวน 1 ลิตร ประกอบด้วย HCN 0.10 mol กับ
KCN 0.07 mol เมื่อเติม HCl ลงไป 0.001 mol อยากทราบว่า pH จะเป็นเท่าไร
22. If 25 mL of 0.2 M NaOH is added to 50 mL of 0.1 M CH3COOH (Ka = 1.8 x 10-5), what is the pH?
(เมื่อสารละลาย NaOH ความเข้มข้น 0.2M จำนวน 25 mL ผสมกับสารละลาย CH3COOH (Ka = 1.8 x 10-5),
ความเข้มข้น 0.1M จำนวน 50 mL สารละลายที่ได้จากการผสมจะมี pH เท่าไร)
23. Calculate the mass of (NH4)2SO4 that must be added to 1 L of 0.50 M NH3 in order to prepare a buffer with a pH of 8.65.
(Ka of NH4+ = 5.6 x 10-10).
(มีสารละลาย NH3 ความเข้มข้น 0.50M อยู่ 1 ลิตร อยากทราบว่าเมื่อต้องการทำให้เป็นสารละลายบัฟเฟอร์ pH 8.65 จะต้องเติม (NH4)2SO4
กี่กรัม ถ้า Ka ของ NH4+ = 5.6 x 10-10 )
24. Calculate the pH of the solution prepared when 0.250 mol HClO4 is added to 2.00 L of a solution that is 0.500 M CH3CO2H and 0.400 M CH3CO2Na.
(Ka of CH3CO2H = 1.8 x 10-5)
(มีสารละลายอยู่ 2 ลิตร โดยในสารละลายมี CH3CO2H และ CH3CO3Na ละลายอยู่รวมกัน มีความเข้มข้น 0.500 และ 0.400 โมลลาร์ ตามลำดับ ค่า Ka ของ CH3CO2H = 1.8 x 10-5
อยากทราบว่าถ้าเติม HClO4 ลงไป 0.250 โมล pH ของสารละลายจะเป็นเท่าไร)
25. A buffer is prepared in which the ratio of HCO3-/CO32- is 5.00.
(ถ้ามีสารละลายบัฟเฟอร์ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่าง HCO3–/CO32- = 5.00. )
(A) What is the pH of this buffer? (Ka for HCO3– = 4.80 x 10-11)
(สารละลายบัฟเฟอร์นี้มี pH เท่าไร ถ้า Ka ของ HCO3– = 4.80 x 10-11)
(B) Enough strong acid is added to make the pH of the buffer 9.30. What is the ratio of HCO3–/CO32- at this point?
(ถ้าเติมกรดแก่ลงไปจนกระทั่งสารละลายมี pH = 9.30 อยากทราบว่าอัตราส่วนระหว่าง HCO3-/CO32- เป็นเท่าไร)