ทรงกลมในหลายมิติ
เมื่อกล่าวถึงทรงกลม หลายคนจะคุ้นเคยกับก้อนวัตถุโค้งเรียบ เช่นลูกบอล หรือลูกโลก เป็นต้น ทรงกลมในความหมายนี้
เป็นวัตถุที่อยู่ในอวกาศสามมิติ ในทางคณิตศาสตร์ ทรงกลมเป็นพื้นผิวสองมิติที่ฝังตัวอยู่ในอวกาศสามมิติ โดยมีนิยามเป็น
เซตของจุดที่อยู่ห่างจากจุดคงที่ (จุดศูนย์กลาง) เป็นระยะทางเท่ากัน ตามความสัมพันธ์ในระบบพิกัดฉาก สำหรับทรงกลม
ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด
x2+ y2+ z2= R2
โดยที่ R เป็นรัศมีของทรงกลม โดยทั่วไป นิยมเขียนแทน ทรงกลมสองมิติ ด้วย S2
ในรูปแบบเดียวกัน วงกลมจัดเป็นทรงกลม หนึ่งมิติ S’ ที่ฝั่งตัวอยู่ในอวกาศสองมิติ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด จะมีสมการเป็น
x2+ y2= R2
ทั้งสองแบบนี้เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่คุ้นเคยกันดี แต่นิยามของทรงกลมดังกล่าวนี้สามารถขยายผลไปยัง ทรงกลมมิติใด ๆ ได้เช่นเดียวกัน
ทรงกลมศูนย์มิติ
ทรงกลมศูนย์มิติ S0คือ เซตของจุดในอวกาศหนึ่งมิติ ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน ตามสมการ
(x – x0)2= R2
หรือ |x – x0| = R
นั่นคือ ทรงกลมศูนย์มิติ ประกอบด้วย 2 จุดคือ x = x0+ R และ x = x0- R ดังรูป 1
ทรงกลมสามมิติ
ทรงกลมสามมิติ S3คือพื้นผิวสามมิติที่ฝังตัวอยู่ในอวกาศสี่มิติ ซึ่งประกอบด้วยจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง (w0, x0, y0, z0) เท่ากัน ตามสมการ
(w – w0)2+ (x – x0)2+ (y – y0)2+ (z – z0)2= R2
จุดในอวกาศสี่มิติ R4ระบุได้ด้วยพิกัดสี่ค่าคือ (w, x, y, z)
มีข้อสังเกตคือ ทรงกลมสามมิติ หมายถึง ทรงกลมที่มีพื้นผิดสามมิติ แต่ตัวทรงกลมเองเป็นก้อนอยู่ในอวกาศสี่มิติ ในทาง
เรขาคณิตตัวทรงกลมหมายถึงจุดที่อยู่บนผิวเท่านั้น สำหรับทรงกลมสองมิติ เช่น ลูกบอล ที่ว่างภายในลูกบอล ไม่ได้นับรวมว่า
เป็นส่วนหนึ่งของทรงกลมเฉพาะจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากับรัศมีของทรงกลมเท่านั้น ที่นับว่าอยู่ภายในทรงกลม
โดยวิธีการเดียวกันสามารถเขียนสมการที่แสดงทรงกลม n มิติ Snได้เป็นพื้นผิวในอวกาศ n + 1 มิติ Rn+1ที่อยู่ห่างจาก
จุดศูนย์กลาง (y1, … , yn+1) เป็นระยะเท่ากัน
(x1- y1)2+ … + (xn+1- yn+1)2= R2
จุดใน Rn+1ระบุได้ด้วยพิกัด (x1, … , Xn+1)
เรขาคณิตหลายมิติ
ระบบพิกัดทรงกลมในสามมิติ
ในอวกาศสามมิติ R3สามารถระบุตำแหน่งของจุดต่าง ๆ ได้ด้วยค่าพักัดสามค่า เช่น (x, y, z) ในระบบพิกัดฉาก นอกจากนี้
ยังสามารถระบุตำแหน่งของจุดใน R3ในระบบพิกัดอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ระบบพิกัดทรงกลม และระบบพิกัดทรงกระบอก เป็นต้น
ระบบพิกัดทรงกลมในสามมิติ
พิจารณาจุดใน R3ที่มีพิกัดเป็น (x,y,z) ดังรูป 1 จุด (x,y,z) สามารถ
กำหนดให้มีค่าพิกัดในระบบพิกัดทรงกลมได้เป็น (r, θ,Ø) ดังรูป 2 ในที่นี้ r เป็นระยะทางจากจุดกำเนิด (0,0,0)θ เป็นมุมที่วัด
จากแกน z และØ เป็นมุมที่วัดจากแกน x มายังโปรเจกชันของ r บนระนาบ xy
จากรูป 2 จะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง พิกัด (x,y,z) และ (r,θ,Ø) เป็น
z = r cosθ —–(1)
x = r sinθ cosØ —–(2)
y = r sinθ sinØ —–(3)
ซึ่งสามารถหาอินเวอร์สได้เป็น
พิสัยของค่าพิกัด (x,y,z) คือ
-∞ < x <∞ , -∞ < y <∞ , -∞ < z <∞
ส่วนค่าพิสัยของพิกัด (r,θ,Ø) หาได้ดังนี้
เนื่องจากจึงได้ r≥ 0
สำหรับØ จะพบว่า 0≤Ø≤ 2Π เนื่องจาก y/x ให้ค่า tanØ ได้ทุกค่าในช่วง (-∞,∞) สำหรับθ จะได้ว่า 0≤θ≤Π
เนื่องจาก cos-1มีค่าอยู่ในช่วง [0,Π] จึงสรุปได้ว่า ในพิกัดทรงกลม
r≥ 0 , 0≤θ≤Π, 0≤Ø≤ 2Π
การใช้พิกัดทรงกลมทำให้เขียนสมการบางอย่างได้ง่ายขึ้น เช่น วงกลมรัศมี R และมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิดมีสการใน
ระบบพิกัดฉากเป็น
x2+ y2+ z2= R2
เมื่อใช้ความสัมพันธ์ (1), (2) และ (3) จะได้สมการในรูปแบบง่าย ๆ คือ
r = R
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/lesson-mathematics/item/7348-2017-06-18-04-32-23