เวกเตอร์ ปริมาณมี 2 แบบ คือสเกลาร์ กับเวกเตอร์
สเกลาร์ เป็น ปริมาณที่มีแต่ขนาด เช่น พื้นที่ อุณหภูมิ ความยาว เป็นต้น
เวกเตอร์ เป็น ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่นความเร็ว แรง เป็นต้น
เราสามารถแทนเวกเตอร์ในเชิงเรขาคณิตได้ด้วยส่วนของเส้นตรงและลูกศร โดยที่ทิศทางของลูกศรแทนทิศทางของเวกเตอร์ และความยาวของลูกศรแทน ขนาดของเวกเตอร์ หางลูกศรเรียกว่า จุดเริ่มต้นของเวกเตอร์ หัวลูกศร เรียกว่า จุดสิ้นสุดของเวกเตอร์
สัญลักษณ์ที่ใช้
(รูปที่ 1)
บทนิยาม 1 ถ้าเวกเตอร์ u และ v เป็นเวกเตอร์ที่ไม่ใช่เวกเตอร์ศูนย์ แล้ว ผลบวกของเวกเตอร์ u และ v เขียนแทนด้วยเวกเตอร์ u + v หาได้จากให้ตำแหน่งเวกเตอร์ v มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดสิ้นสุดของเวกเตอร์ u
เวกเตอร์ u + v จะแทนด้วยลูกศรจากจุดเริ่มต้นของเวกเตอร์ u ไปยังจุดสิ้นสุดของเวกเตอร์ v ดังรูปที่ 2
(รูปที่ 2)
บทนิยาม 2 ให้เวกเตอร์ v เป็นเวกเตอร์ที่ไม่ใช่เวกเตอร์ศูนย์ และ k เป็นจำนวนจริงใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ แล้ว เวกเตอร์ kv หมายถึงเวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ |k| เท่าของเวกเตอร์ v เมื่อ k>0 เวกเตอร์ kv จะมีทิศทางเดียวกับ v และเมื่อ k<0 เวกเตอร์ kv มีทิศตรงข้ามกับเวกเตอร์ v และให้เวกเตอร์ kv =0 เมื่อ k =0
จากรูปที่ 3 ได้ว่าเวกเตอร์ v กับเวกเตอร์ Kv เป็นเวกเตอร์ที่ขนานกัน
เวกเตอร์ในระบบพิกัดฉากในปริภูมิสามมิติ
ให้เวกเตอร์ v เป็นเวกเตอร์ในปริภูมิ 3 มิติในระบบพิกัดฉาก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดกำเนิด และจุดสิ้นสุดอยู่ที่จุด (x1,y1,z1) ดังรูปที่ 5 เรียกพิกัด x1,y1และ z1ว่า ส่วนประกอบเวกเตอร์ และเขียนแทนด้วย
ตัวอย่าง 2 กำหนดให้ จุด A(1, 2, 3) ,B(4, -1, -2)และ C(-3, 4, 0)
จะได้เวกเตอร์ AB = <4,-1,-2> – <1,2,-3> = <3,-3,1>
เวกเตอร์ BC = <-3,4,0> – <4,-1,-2> = <-7,5,2>
ขนาดของเวกเตอร์
ขนาดของเวกเตอร์ u เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ จะได้ว่า ‖u‖ ขนาดของเวกเตอร์ u เรียกอีกอย่างว่า ค่าประจำของเวกเตอร์ u
ตัวอย่างที่ 4 กำหนดให้เวกเตอร์ u = <2, -1, -2>
1. เวกเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศเดียวกับเวกเตอร์ u
2. เวกเตอร์ที่มีขนาดเป็น 5 หน่วยทิศตรงข้ามกับเวกเตอร์ u
-ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://kulazaza.wordpress.com