สาขานี้เป็นสาขาที่หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและเต็มไปด้วยความหลากหลาย สำหรับผู้ที่ต้องการจะทำงานในอุตสาหกรรมแห่งการสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยวัฒนธรรมความแปลกใหม่ และเหมาะกับผู้ที่ต้องการความรู้ที่กว้างขวางในสาขาศิลปะ,สื่อและการออกแบบ โดยความต้องการในสาขานี้กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด และกำลังจะมาบรรจบกันทั้งในระดับสากล, ระดับประเทศ และระดับอุตสาหกรรมหลักอย่างรวดเร็ว
โดยสาขานี้เป็นหลักสูตรเดี่ยว สอนครอบคลุมเพื่อเตรียมพร้อมคุณทั้งในวิชาทั่วไปและการจัดการในโลกอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ หรืออาจจะพัฒนาคุณในกลายเป็นศิลปินที่มีความสามารถระดับสากล ด้วยการสร้างทักษะพื้นฐานที่หลากหลาย คุณจะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ทฤษฎีและปฏิบัติที่ครอบคลุมทั้งวิจิตรศิลป์, การออกแบบ, การตลาดเชิงผลิตภัณฑ์และสื่อต่างๆ
คุณสมบัติที่เหมาะสม
ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีทักษะ หรือประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้อง แล้วคุณสามารถแสดงออกมาได้ พร้อมกับแสดงให้เห็นว่าคุณจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเรียนต่อไปในระดับที่สูงขึ้น ก็จะทำให้สถาบันการศึกษาต่างๆจะไม่ปฏิเสธใบสมัครของคุณ
ถ้าคุณสมัครในระดับปริญญาตรี คุณจำเป็นต้องผ่าน A-levels (สำหรับการเรียนในอังกฤษ หรือ จะเป็นคะแนนเทียบเท่าสำหรับการเรียนในประเทศอื่นๆ) และมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษอย่าง IELTS หรือ TOEFL ตามที่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งกำหนด
ส่วนมากแล้ว การเรียนในระดับปริญญาตรีในสาขาที่กราฟฟิกดีไซน์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องนั้น เรื่องของ “คะแนนสอบ” เป็นสิ่งที่คุณ “ต้อง” ผ่านเกณฑ์ ส่วนในเรื่องของประสบการณ์ที่ผ่านมาและแฟ้มสะสมผลงานนั้น ถือว่าเป็นข้อสรุปสุดท้ายสำหรับการสมัครของคุณ
คุณสมบัติที่สำคัญที่หลายคนมองข้ามไปคือการเป็นผู้ฟังที่ดี ใช่แล้ว การเรียนศิลปะไม่ใช่การทำตัวติสท์อยากวาดอะไรวาด อยากทำโปรเจคต์อะไรก็ได้ แต่ต้องทำตามโจทย์ที่ได้ เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดบ้าง ลองทำอะไรในสไตล์หลากหลายแบบ การเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่เป็นน้ำเต็มแก้วจึงสำคัญมาก
ทั้งหมดถูกสอนในเนื้อหาที่นำไปสู่การเรียนทางด้านธุรกิจโดยสังเขป ซึ่งจะช่วยในการสร้างผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของคุณต่อไป และทำให้คุณมีโอกาสที่ดีในการเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมกราฟฟิกดีไซน์ในอนาคต
กระบวนการการออกแบบ มีทั้ง การคิดนอกกรอบ, จินตภาพสร้างสรรค์, การระดมความคิด, กฎการออกแบบพื้นฐาน และการใช้สีและการพิมพ์
และเมื่อจบหลักสูตร คุณจะได้แฟ้มสะสมผลงานที่สมบูรณ์ สำหรับการสัมภาษณ์งาน และ การแฟ้มสะสมผลงานแบบดิจิตอล สำหรับการโฆษณาหรือแสดงความเป็นตัวคุณในโลกออนไลน์
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของคุณตลอดการเรียนทั้งหลักสูตร เพราะแฟ้มสะสมผลงานของคุณ จะเป็นตัวสร้างความมั่นใจให้กับคุณในการสมัครงานในตำแหน่งนักกราฟฟิกดีไซน์ได้ทันทีหลังจากจบการศึกษา หรือ การสมัครเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไปถ้าคุณอยากต้องการที่จะฝึกฝนเพิ่มเติม
อาชีพหลังเรียนจบ
เอาล่ะ ทีนี้พอเรียนจบมาจะทำอะไร จริงๆ แล้วการเรียนศิลปะ กราฟฟิกดีไซน์ หรือสายครีเอทีฟต่างๆ สามารถไปทำงานได้หลายสาย ไม่จำเป็นต้องนั่งวาดรูป ทำกราฟฟิกไปตลอด
- Creative ที่นำเสนอไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ให้กับองค์กร บริษัท หรือเอเจนซี่ต่างๆ
- Artist แน่นอนว่าเรียนศิลปะมาก็มีหลายคนเหมือนกันที่ผันตัวเป็นศิลปินเต็มตัว
- เจ้าของธุรกิจส่วนตัว
- ดีไซเนอร์ ออกแบบภาพ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วแต่ความถนัด
- งานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
- Art Director
- Graphic artist,
- Creative director
- Production artist
- Art manager
- Web designer
1 สาขาวิชาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เป็นคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เช่น การออกแบบโปสเตอร์ การออกแบบโลโก้ การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กรการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์
หลังจากที่เรียนจบจากสาขาดังกล่าวก็มีโอกาสทางอาชีพ เช่น นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Designer), Graphic Designer, Motion Graphic Designer นักออกแบบกราฟิก ที่นำเสนองานออกแบบกราฟิกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว, ช่างภาพ, Creative, Art Director และ Creative Director
2 สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ต คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลักสูตรปริญญาตรี ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งสิ้น 4 ปี สิ่งที่น้องๆ จะได้เรียนรู้เมื่อเข้าสู่คณะนี้ คือ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือในโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ได้แก่
– กลุ่มวิชาชีพเลือกดิจิทัลอาร์ต โดยศึกษาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานด้านดิจิทัลอาร์ตทุกรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์การสร้างสรรค์งานในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น การวาดรูปแบบ Digital Paint การปั้นโมเดลแบบ 3 มิติ (3D Sculpture) การวาดภาพประกอบ(Illustration) และศิลปะภาพเคลื่อนไหว (Motion Arts)
– กลุ่มวิชาชีพเลือกมีเดียอาร์ต ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยสื่อมัลติมีเดีย โดยไม่จำกัดรูปแบบ เช่น จิตรกรรมดิจิทัล (Digital Paint) ประติมากรรมดิจัทล(3D Sculpture) ศิลปะภาพเคลื่อนไหว (Motion Arts) ตลอดจนศิลปะภาพถ่าย (Photo Arts) ศิลปะการจัดวาง(Installation Arts) และศิลปะสื่อ (Media Arts)
สำหรับโอกาศทางอาชีพ ได้แก่ นักวาดภาพประกอบ, นักออกแบบและสร้างสรรค์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์, Digital Painting Artist ,Texture Artist ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการวาดภาพและลงสีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ , Matte Painting Artist ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการวาดภาพทิวทัศน์ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล และ 3D Artist ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม 3 มิติด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และคนที่จบและทำงานด้านนนี้ สามารถมีรายได้ต่อเดือนที่ 20,000 – 25,000 บาท
3 สาขาวิชามัลติมีเดียดีไซน์ BFA มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นหลักสูตรปริญญาตรีที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง สถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มิงแฮม (BIAD) และ มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลอิงแลนด์ (UCE) ประเทศอังกฤษ โดยผู้เรียนจะได้วุฒิ BA (Hons.) Animation and Moving Image และ BFA Multimedia Design ของ BIAD เพียงแค่มาการเรียนที่ ม.ศิลปากร ไม่ต้องไปไกลถึงอังกฤษ
จุดเด่นของหลักสูตรนี้จะอยู่ที่ได้รับการพัฒนาจากทั้งสองสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งม.ศิลปากรก็มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะอยู่แล้ว โดยหลักสูตรดังกล่าวก็จะเน้นด้านการเพิ่มพูนทักษะทางด้านปฏิบัติและทางด้านทฤษฎีที่ทันสมัยในเรื่องการออกแบบโดยการใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อผลิตบัณฑิตออกไปทำงานด้าน website, interactive media, video and sound production, game design, post production หรือ special effects
สำหรับหลักสูตรดังกล่าวจะเปิดรับนักศึกษาประมาณปีละ 60 คนเท่านั้น และกำหนดคุณสมบัติให้ต้องมีคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน (paper-based test) หรือ IELTS 6.0 หรือสำหรับคนที่ไม่มีผลสอบดังกล่าวต้องเข้าทดสอบภาษาอังกฤษด้วยข้อสอบของมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะสามารถเข้าสัมภาษณ์รอบแรกได้ ก่อนที่จะเข้าทดสอบดรออิ้งและการออกแบบ จากนั้นต้องสอบสัมภาษณ์อีกครั้ง
4 สาขา Computer Graphics & Multimedia วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เป็นของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี จบมาแล้วได้ Bachelor of Technology (BT) จากคำบอกเล่าของผู้ที่เรียนพบว่าเป็นสาขาที่เรียนโดยรวมและไม่ได้แบ่งเอกชัดเจน เลยจะได้ทั้งการทำกราฟฟิคอาร์ต ทำกราฟฟิคและจัดอาร์ตในหนังสือ วาดรูป ระบายสี ตัดต่อ ทำหนัง ทำสื่อโทรทัศน์ ทำแพจเกจจิ้ง ทำเว็บ ทำสื่อดิจิทัลมีเดีย เอฟเฟคต์ แอนิเมชัน 3D และอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อจบไปแล้วสามารถทำงานได้หลายอย่าง เช่น Illustrator, Computer Graphics Designer, Web Interface Designer, Digital Designer, Graphics Artist, Computer Animator, Model Maker, Photographer, Picture Editor, New Media Developer, Flim and Video Producer, Editor, Artist, Creative Director, Videographer เป็นต้น
5 คณะดิจิทัลอาร์ต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
ถือว่าเป็นสาขาที่เปิดเป็นแห่งแรกของประเทศไทยเลยสำหรับ ม.รังสิต มีการเรียนการสอนด้านการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบ สร้างสรรค์ทางความคิด มุ่งเน้นการฝึกทักษะปฏิบัติในการใช้คอมพิวเตอร์ และการปรับพื้นความรู้ทางศิลปะ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 หลักสูตรคือ 2D Animation, 3D Animation และ Broadcast Design มีค่าใช้จ่ายในระดับปริญญาตรีตลอดหลักสูตร อยู่ที่ประมาณ 432,100 บาท
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจมีภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษาก็ได้ ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ และมีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี โดยใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
6 สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี อยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 4 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 310,580 บาท นักศึกษาที่เลือกเรียนสาขานี้จะได้ศึกษาถึงการนำองค์ความรู้ของการผลิตสื่อมัลติมีเดียและบริการผ่านเทคโนโลยีสื่อสารและคอมพิวเตอร์สมัยใหม่
ทั้งการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การผลิตภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การพัฒนาเนื้อหาและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การพัฒนาเกมประเภทต่างๆ การผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อ อาทิ การบันทึกสื่อ การลดขนาดสื่อมัลติมีเดีย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลักการและการทำงานของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง และฝึกฝนการผลิตและนำเสนอสื่อมัลติมีเดีย
7 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย พระจอมเกล้าธนบุรี
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย จะอยู่ในคณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี โดยมีการเรียนการสอนทั้งสิ้น 4 ปี เป็นระดับปริญญาตรี ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรคือ 170,000 บาท
โดยน้องๆ ที่เข้ามาเรียนจะได้เรียนในแขนงวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จิตวิทยาการศึกษา การวัดผลและการประเมินผล เทคโยโลยีการศึกษา วิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียพื้นฐาน เช่น การถ่ายภาพ วิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา กราฟฟิค เทคนิคสีและเสียง
สำหรับสาขา คอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย วิชาที่น้องๆ จะได้เรียน อาทิเช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางมัลติมีเดีย มัลติมีเดียประยุกต์ทางการศึกษา สื่อสารมวลชน โฆษณาและประชาสัมพันธ์ และเทคนิคการพัฒนามัลติมีเดีย ซีเอไอ (CAI) เมื่อจบมาแล้วก็สามารถเป็นอาจารย์สอนด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย หรือนักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นต้น
8 สาขาวิชามีเดียอาร์ต โครงการรวมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ต พระจอมเกล้าธนบุรี
สาขานี้อยู่ในคณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี หลักสูตรนี้มีค่าใช้จ่าย 309,000 บาทตลอดหลักสูตร โดยจะแบ่งวิชาเอกออกเป็น 3 วิชา คือ การออกแบบกราฟฟิค, แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ และการออกแบบภาพยนตร์ น้องคนไหนที่สนใจลองเข้าไปศึกษาแต่ละเอกวิชาได้ในเว็บไซต์ของทางมหาวิทยาลัยโดยตรง
9 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
หลักสูตร 4 ปี ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกจะมุ่งเน้นที่จะพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบงานกราฟิก ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ รวมถึงทักษะทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอาชีพ เช่น นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) นักออกแบบเว็บไซต์ (Website Designer) นักออกแบบกราฟิเพี่อสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic Designer) นักออกแบบดิสเพลย์ (Display Designer) นักออกแบบแอนิเมชั่น (Animator Designer) หรือเป็นครีเอทีฟ เป็นต้น
10 สาขาการผลิตแอนิเมชัน สถาบันกันตนา
หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อกันตนา ที่นอกจากเป็นมืออาชีพในวงการอุตสาหกรรมการบันเทิง ผลิตละคร ภาพยนตร์ และรายการชื่อดังมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ รายการ The Face Thailand ทางกันตนาก็ยังเปิดสถาบันสอนหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตในสาขาที่น่าสนใจ อย่างสาขาการผลิตแอนิเมชัน อีกด้วย
เมื่อเรียนจบหลักสูตร สามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ Stop Motion Animator, Character Animator, Effects Animator, Character designer, Editor, Animation Director, Cartoonist และ 3D Modeler สาขาการผลิตแอนิเมชันของกันตนานักศึกษาจะได้ฝึกการผลิตแอนิเมชัน เน้นปฏิบัติโดยมีอาจารย์ผู้เคยมีประสบการณ์การทำงานระดับโลกจาก Hollywood และเป็นผู้เปลี่ยนแปลงวงการแอนิเมชันไทยจากภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ก้านกล้วย คือ คุณตั้ม อัจฉรา และ คุณคำป้อน คมภิญญ์
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th
ขอบคุณข้อมูล https://www.hotcourses.in.th/