กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ขณะนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย และแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้กู้ยืม กยศ. กับผู้รับทุน กสศ. เพื่อให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากการดำเนินงานของกองทุน กยศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่างๆ สำหรับนักเรียน นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยต้องชำระเงินคืนตามเงื่อนไขที่กำหนด ในขณะที่กองทุน กสศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
ในขณะที่ กสศ. มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู การช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ กสศ. มุ่งบรรเทาอุปสรรคต่อการเข้าถึงการศึกษาให้แก่ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสตั้งแต่ระดับปฐมจนถึงจบการศึกษาภาคบังคับ (มัธยม 3) โดยวิธีการสนับสนุนเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) 2) กสศ.มีภารกิจ “แล็ปปฏิรูป” จัดการค้นคว้าศึกษาวิจัย ทดลอง แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พัฒนาตัวแบบนำไปสู่การขยายผล และเสนอเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กสศ. จะใช้วิธีการสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบโครงการให้แก่หน่วยงาน (Project-based Program) โดยส่วนนี้ กสศ.จะมีการทดลองกับกลุ่มประชากรยากจนด้อยโอกาสจำนวนไม่มากนัก เช่น ทุนการศึกษาต่อสายอาชีพปีละ 2,500 คน ทุนเรียนครูที่ผูกมัดต้องไปปฏิบัติงานในโรงเรียนชนบทห่างไกลปีละ 300 คน เป็นต้น
กยศ. และ กสศ. จะเป็นหน่วยงานที่ให้โอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เช่นเดียวกัน แต่มีแนวทางการดำเนินงานแตกต่างกัน เยาวชนจะไม่สามารถรับการสนับสนุนทุนการศึกษาจาก กสศ. และ กู้ยืมเงินจาก กยศ. เพื่อใช้ในระหว่างการศึกษาในช่วงเวลาเดียวกันได้ ความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่าง 2 หน่วยงาน จะช่วยให้การดำเนินงานในภาพรวมเกิดความเชื่อมโยงและเป็นไปในทิศทางเดียวกันในหลายด้าน จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนได้มากขึ้น รวมถึงลดปัญหาการให้ทุนการศึกษาซ้ำซ้อนกัน
ข้อสรุป
กสศ. มีทุนการศึกษาที่สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนที่ยากจน 20 เปอร์เซ็นต์ล่างสุดของประเทศ มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หรือไม่เกิน 36,000 บาทต่อปี จำนวนปีละ 2,700 ทุน ซึ่งเป็นจำนวนน้อยได้ศึกษาต่อระดับสายอาชีพและเป็นครู โดยผู้รับทุนหากเรียนจบไม่ต้องชดใช้ทุน โดยทุนนี้ไม่ได้ให้ไปที่เยาวชนเพียงอย่างเดียว แต่มีทุนที่ให้ไปยังสถาบันการศึกษาเพื่อเน้นการศึกษาวิจัย พัฒนาและทดลองเพื่อนำไปสู่การปฏิรูประบบการศึกษา และกสศ. เน้นการช่วยเหลือกลุ่มเด็กและเยาวชนยากจนที่สุดเพื่อสนับสนุนโอกาสทางการศึกษา โดยกยศ. ไม่มีภารกิจในการให้ทุนการศึกษา แต่ดำเนินงานโดยการกำหนดแนวทางการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่างๆ
ขอบคุณข้อมูล https://www.thereporters.co และ https://www.studentloan.or.th