การผลิตปิโตรเลียม สามารถจำแนกได้ตามชนิดของแหล่งปิโตรเลียม ดังนี้
- แหล่งก๊าซธรรมชาติ
- แหล่งน้ำมันดิบ ซึ่งประกอบด้วย
- แหล่งน้ำมันบนบก
- แหล่งน้ำมันดิบนอกชายฝั่ง
หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ให้การอนุมัติในการผลิตแล้ว บริษัทผู้รับสัมปทานก็จะทำการติดตั้งแท่นและอุปกรณ์การผลิต รวมถึงขุดเจาะหลุมพัฒนา (Development Well) หรือหลุมผลิตจำนวนหนึ่งตามแผนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเพื่อผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาขาย ทาให้เริ่มมีรายได้จากการลงทุนสำรวจและพัฒนามากกว่า 10 ปี
กระบวนการผลิตปิโตรเลียม
- แหล่งก๊าซธรรมชาติชนิดเปียก (Wet Gas)
- เป็นชนิดที่พบมากในอ่าวไทย
- ของไหลที่ไหลออกมาจากใต้พิภพจะมีด้วยกัน 3 ชนิด
- ก๊าซธรรมชาติ
- คอนเดนเสท (หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว)
- น้ำ
- ของไหลทั้ง 3 ชนิดจะไหลขึ้นมาบนปากหลุมและรวมกันหลายหลุมบนแท่นหลุมผลิตแล้วจะถูกส่งต่อรวมกันไปที่แท่นกระบวนการผลิต
- แท่นกระบวนการผลิตจะทาการแยกของไหลทั้ง 3 ชนิดนี้ออกจากกันด้วยเครื่องแยกสถานะ (separator) ดังต่อไปนี้
- ก๊าซธรรมชาติ ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด จะถูกแยกออกทางด้านบนของเครื่องแยกสถานะ จากนั้นก็ถูกส่งเข้าไปในระบบอัดความดัน (Compressor) ก่อนถูกส่งไปที่ระบบดูดความชื้น (Dehydration Unit) เป็นกระบวนการมาตรฐาน สาหรับบางแหล่งที่มีสารปนเปื้อนจานวนมาก เช่น สารปรอท (Hg) ก๊าซไข่เน่า (H2S) และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จะต้องติดตั้งระบบกาจัดสารพวกนี้ก่อนส่งเข้าในระบบมาตรวัด (metering) ในระบบการซื้อขายและส่งเข้าท่อก๊าซของ ปตท.
- คอนเดนเสท หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว จะถูกแยกออกจากทางด้านหลังของเครื่องแยกสถานะ จะถูกส่งเข้าไปในระบบทำให้เสถียร (Stabilization) เพื่อรักษาค่าความดันไอให้มีสถานะของเหลวที่คงตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการส่งไปเก็บรักษายังเรือกักเก็บเพื่อรอการจำหน่าย (Floating Storage Offloading, FSO) ส่วนก๊าซที่หลุดออกจากระบบทำให้เสถียรนี้บางส่วนจะถูกส่งเข้าระบบอัดความดันเพื่อส่งต่อไปยังกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติ และบางส่วนที่ความดันต่ำจนเกินไปจะถูกส่งไปยังปล่องเผาก๊าซ (Flare)
- น้ำ ที่มีน้ำหนักมากที่สุดจะถูกแยกออกจากทางด้านล่างของเครื่องแยกสถานะ จะถูกส่งต่อไปยังระบบบาบัดน้ำเสียเพื่อแยกพวกสิ่งเจือปน เช่น ทราย และพวกเศษตะกอนต่างๆ ก่อนนาไปอัดกลับไปที่หลุมกาจัดน้ำ (Disposal well) กลับลงไปสู่ใต้พิภพ
- ข้อมูลการผลิตทั้งหมด เช่น อัตราการไหล ความดัน อุณหภูมิ คุณสมบัติและองค์ประกอบของปิโตรเลียม ฯลฯ จะถูกส่งต่อไปให้วิศวกรปิโตรเลียมใช้ทาการศึกษา ติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้คานวนปริมาณสารองคงเหลือ วางแผนการพัฒนาแหล่งและหาวิธีการผลิตปิโตรเลียมที่ให้ได้ปริมาณสำรองสูงที่สุดและมีผลตอบแทนสูงที่สุด
- แหล่งก๊าซธรรมชาติชนิดแห้ง (Dry Gas)
- เป็นชนิดที่พบมากบนบก โดยเฉพาะภาคอีสาน
- ของไหลที่ไหลออกมาจากใต้พิภพจะมีด้วยกัน 2 ชนิด
- ก๊าซธรรมชาติ
- น้ำ
- กระบวนการผลิตคล้ายกับกระบวนการผลิตของก๊าซธรรมชาติชนิดเปียก แต่จะไม่มีระบบการผลิตคอนเดนเสท
- แหล่งน้ำมันดิบ (Crude)
- เป็นแหล่งที่พบทั้งแหล่งบนบกและอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย
- ของไหลที่ไหลออกมาจากใต้พิภพจะมีด้วยกัน 3 ชนิด
1.น้ำมันดิบ
2.ก๊าซธรรมชาติ (เรียกว่า Associated Gas)
3.น้ำ
- ของไหลทั้ง 3 ชนิดจะไหลขึ้นมาบนปากหลุมและรวมกันหลายหลุมบนแท่นหลุมผลิตแล้วจะถูกส่งต่อรวมกันไปที่แท่นกระบวนการผลิต
- สำหรับแหล่งน้ำมันดิบบนบกส่วนใหญ่ เช่น แหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์ แหล่งน้ำมันดิบสุพรรณบุรี ของ ปตท.สผ. จะทาการส่งของไหลผ่านระบบให้ความร้อนและเครื่องแยก 2 สถานะ (2-phase separator) แยกของไหลออกเป็นสองชนิดก่อนคือ ของเหลวและก๊าซธรรมชาติ
- น้ำมันดิบและน้ำ จะถูกแยกออกจากด้านล่างของเครื่องแยกสถานะรวมกันเป็นของเหลวและถูกส่งต่อไปที่ถังกักเก็บน้ำมันดิบและน้ำ (Tank Farm) จะมีการใส่สารเร่งการแยกชั้น (Demulsifier) ก่อนเข้าถังกักเก็บเพื่อแยกน้ำมันดิบกับน้ำที่อยู่ในถังกักเก็บนั้น น้ำที่มีความถ่วงจำเพาะหรือน้ำหนักมากกว่าถูกแยกชั้นจะตกลงไปก้นถัง ก็จะถูกส่งต่อไปถังกักเก็บน้ำเพื่อทาการบาบัดน้าเสียก่อน อัดกลับลงไปในหลุมบำบัดลงไปสู่ใต้พิภพอีกครั้ง ส่วนน้ำมันดิบที่แยกชั้นจะไปอยู่ส่วนบนของถังกักเก็บ จะถูกส่งต่อไปที่โรงกลั่นโดยรถไฟหรือรถบรรทุก
- ก๊าซธรรมชาติ จะถูกแยกออกจากเครื่องแยกสถานะทางด้านบนของเครื่องเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในสถานีผลิตและระบบให้ความร้อน ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันดิบด้วยเทคนิค Gas Lift (ถ้ามี) ก่อนส่งไปยังโรงไฟฟ้า สำหรับแหล่งผลิตที่มีก๊าซธรรมชาติแยกออกจากน้ำมันดิบมากๆอย่างแหล่งน้ามันดิบสิริกิติ์ จะมีปริมาณส่วนประกอบของสารประกอบหนักค่อนข้างมาก ก็จะมีกระบวนการแยกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ออกมา ก่อนส่งต่อไปยังโรงผลิตไฟฟ้า หรือบางส่วนที่มีความดันไม่พอส่งกลับเข้าระบบจะถูกส่งไปที่ปล่องเผาก๊าซ (flare)
- สำหรับแหล่งน้ำมันดิบนอกชายฝั่ง เช่น แหล่งน้ำมันดิบเบญจมาศ ของบริษัท เชฟรอน แท่นกระบวนการผลิตจะทำการแยกของไหลทั้ง 3 ชนิดนี้ออกจากกันด้วยเครื่องแยก 3 สถานะ (3-phase separator) ดังต่อไปนี้
- น้ำมันดิบ จะถูกแยกออกจากทางด้านหลังของเครื่องแยกสถานะ จะถูกส่งเข้าไปในระบบแยกไอก๊าซส่วนเกิน (Knock-out drum) เพื่อรักษาค่าความดันไอให้มีสถานะของเหลวที่คงตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการส่งไปเก็บรักษายังเรือกักเก็บเพื่อรอการจาหน่าย (Floating Storage Offloading, FSO) ส่วนก๊าซที่หลุดออกจากระบบทาให้เสถียรนี้บางส่วนจะถูกส่งเข้าระบบอัดความดันเพื่อส่งต่อไปยังกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติ และบางส่วนที่ความดันต่าจนเกินไปจะถูกส่งไปยังปล่องเผาก๊าซ (Flare)
- ก๊าซธรรมชาติ ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด จะถูกแยกออกทางด้านบนของเครื่องแยกสถานะ จากนั้นก็ถูกส่งเข้าไปในระบบอัดความดัน (Compressor) ก่อนถูกส่งไปที่ระบบดูดความชื้น (Dehydration Unit) เป็นกระบวนการมาตราฐาน สาหรับบางแหล่งที่มีสารปนเปื้อนจานวนมาก เช่น สารปรอท (Hg) ก๊าซไข่เน่า (H2S) และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จะต้องติดตั้งระบบกาจัดสารพวกนี้ก่อนส่งเข้าในระบบมาตรวัด (metering) ในระบบการซื้อขายและส่งเข้าท่อก๊าซของ ปตท.
- น้ำ ที่มีน้าหนักมากที่สุดจะถูกแยกออกจากทางด้านล่างของเครื่องแยกสถานะ จะถูกส่งต่อไปยังระบบบาบัดน้ำเสียเพื่อแยกพวกสิ่งเจือปน เช่น ทราย และพวกเศษตะกอนต่างๆ ก่อนนำไปอัดกลับไปที่หลุมกาจัดน้ำ (Disposal well) กลับลงไปสู่ใต้พิภพ
- ข้อมูลการผลิตทั้งหมด เช่น อัตราการไหล ความดัน อุณหภูมิ คุณสมบัติและองค์ประกอบของปิโตรเลียม ฯลฯ จะถูกส่งต่อไปให้วิศวกรปิโตรเลียมใช้ทำการศึกษา ติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้คำนวนปริมาณสำรองคงเหลือ วางแผนการพัฒนาแหล่งและหาวิธีการผลิตปิโตรเลียมที่ให้ได้ปริมาณสำรองสูงที่สุดและมีผลตอบแทนสูงที่สุด
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www2.pttep.com