-
นิสัยการนอนแบบ “นกฮูก”
งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2552 ในวารสาร journal Personality and Individual Differences ซึ่งสังเกตถึงการเชื่อมโยงระหว่างไอคิวในวัยเด็ก
และนิสัยการนอนหลับในบรรดาผู้ใหญ่นับพันคน และนั่นเอง บุคคลที่ฉลาดกว่ากล่าวว่า พวกเขานอนดึกและตื่นสายทั้งในวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์ แม้ว่านิสัยนกฮูกจะทำให้คุณคิดว่า คุณฉลาดกว่าคนอื่น ๆ แต่อย่าลืมว่า รูปแบบการนอนของแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งนั่นถูกกำหนดด้วยนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตามช่วงวัย เรื่องสำคัญกว่าการบอกตัวเองว่า เราเป็นคนฉลาด ก็คือการตอบให้ได้ว่าเรามีรูปแบบการนอนแบบใดที่เหมาะสมกับตัวเรา เพื่อที่จะได้ปรับวิธีการทำงานหรือการเรียนให้สอดคล้องกับตัวตนและนาฬิกาทางชีวภาพของร่างกาย
-
การปรับตัวที่ดีเยี่ยม
สติปัญญาของมนุษย์ อาจหมายถึง คุณภาพจิตใจที่ประกอบด้วยความสามารถในการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจว่าสติปัญญาคืออะไรและทำอะไร โดยการปรับตัวดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น นักเรียนในโรงเรียนจะเรียนรู้เนื้อหาที่เขาต้องรู้เพื่อที่จะทำได้ดีในหลักสูตร แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยด้วยอาการที่ไม่คุ้นเคยโดยการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นต้นเหตุ หรือศิลปินวาดภาพซ้ำเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกที่ต่อเนื่องกันมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ความฉลาดขึ้นอยู่กับความสามารถในการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมที่อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือก็อาจหมายถึงการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมหรือการค้นหาสิ่งใหม่
-
อยากรู้อยากเห็นไม่รู้จบ
สติปัญญาในวัยเด็กเชื่อมโยงกับบุคลิกภาพที่เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ สงสัยและสนใจเรียนรู้อยู่เสมอในวัยผู้ใหญ่
-
การควบคุมตนเองที่น่ายกย่อง
การเอาชนะสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระตุ้นและรบกวนจิตใจของเรา คือ การมีแผนที่จะบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน รวมทั้งการสำรวจกลยุทธ์ทางเลือกและพิจารณาผลที่ตามมาก่อนที่จะเริ่มลงมือทำการศึกษาหนึ่งในวารสาร journal Psychological Science เมื่อปีพ.ศ. 2552 พบว่า ความสามารถในการควบคุมตัวเองเชื่อมโยงกับความฉลาดและระดับสติปัญญาของมนุษย์ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงานวิจัย โดยการให้เลือกระหว่าง 2 รางวัลทางการเงิน ได้แก่ กำไรเพียงเล็กน้อยที่ได้รับในทันที และกำไรที่มากขึ้นแต่ได้รับในภายหลัง
ผลงานวิจัยพบว่า นักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังการศึกษากล่าวว่า สมองส่วน anterior prefrontal cortex อาจมีบทบาทในการช่วยให้ผู้คนแก้ปัญหาที่ยากและแสดงให้เห็นถึงการควบคุมตนเองในขณะที่ทำงานไปสู่เป้าหมาย
-
การทำความรู้จักกับคนอื่นอย่างลึกซึ้ง
คนที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นสูง (Highly Empathetic People: HEPs) จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถแสดงออกในแบบที่ไวต่อความต้องการเหล่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์มักจะสนใจพูดคุยกับผู้คนใหม่ ๆ และเรียนรู้เกี่ยวกับพวกเขามากขึ้น
ขอบขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/article-biology/item/10986-2019-10-25-07-34-04