ความหมายของการใช้เหตุผล
การใช้เหตุผลถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เอื้อให้ชีวิตประจำวันของมนุษย์มีความสมดุลดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประโยชน์ แม้เราจะใช้เหตุผลกันอยู่ทุกวัน แต่เหตุผลที่เราใช้อาจไม่ใช่เหตุผลที่ดีและถูกต้องเสมอไป เนื่องจากเรามักใช้เหตุผลตามความเคยชินโดยขาดหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ บางครั้งเหตุการณ์ความไม่เข้าใจ หรือความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในองค์กร และสังคม เกิดขึ้นจากการใช้เหตุผลที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมซึ่งมีให้เห็นกันบ่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน ในเมื่อเหตุผลที่เราใช้มีทั้งที่ดีและไม่ดีก็มี ดีและมีประโยชน์ก็มี และดีแต่ไม่มีประโยชน์(อาจจะในขณะนั้น) ก็มี ในการดำเนินชีวิตของเรา จึงควรต้องใช้พิจารณญาณเพื่อแยกแยะเหตุผล เพื่อตัดสินว่าถูกต้องหรือดีพอและมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือไม่ แต่การที่จะวิเคราะห์การใช้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้โดยง่าย ถ้าปราศจากหลักเกณฑ์มาช่วยในการวินิจฉัย การศึกษากฏเกณฑ์การใช้เหตุผลในเบื้องต้นจึงเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของการใช้เหตุผลในชีวิตประจำวัน
การใช้เหตุผลคือ กระบวนการทางความคิดที่พยายามแสดงว่าข้อสรุปควรเป็นที่ยอมรับหรือทำให้ผู้ฟังมีความเชื่อถือ เพราะมีเหตุผลหรือหลักฐานที่ดีมาสนับสนุน นอกจากนี้ยังต้องอธิบายเหตุผลให้คนอื่นเขาใจและ ยอมรับด้วย คือเมื่อฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราอาจไม่เชื่อทั้งหมดในการเลือกว่าเรื่องใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ เราก็ต้องใช้เหตุผลในการพิจารณาการตัดสิน และเมื่อเรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันหรือมีปัญหาขัดแย้ง เราก็สามารถยุติความขัดแย้งนี้ได้โดยใช้เหตุผล
ปรีชา ช้างขวัญยืน (2543: 17) กล่าวว่า การอ้างเหตุผลคือการดึงข้อความหนึ่งออกมาจากข้อความหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อชวนให้เชื่อหรือเพื่ออธิบายให้เข้าใจ และมีกฎเกณฑ์สำหรับตัดสินว่าดึงออกมาได้ถูกต้องหรือไม่ การอ้างเหตุผลที่ถูกต้องคือการดึงข้อความหนึ่งออกมาจากอีกข้อความหนึ่งโดยเดินตามกฎ โดยข้อความที่เป็นตัวตั้งเรียกว่า “ข้ออ้าง” และข้อความที่เราดึงออกมาจากข้ออ้าง เรียกว่า “ข้อสรุป” หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ประโยคที่เราดึงออกมาจากประโยคอื่นเป็น “ผล” ประโยคที่เป็นแหล่งที่มาของประโยคอื่นเป็น “เหตุ” โดยจะเห็นได้จากประโยคที่เรายกขึ้นมาเพื่อตอบคำถาม “เพราะเหตุใด
ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence; EQ)
เรามักได้ยินคนพูดถึงความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) อยู่บ่อยๆ ความฉลาดทางอารมณ์ก็เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ผู้นำควรมี และส่งผลต่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จค่ะ
Daniel Goleman ผู้เขียนหนังสือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ได้กล่าวว่าในปี ค.ศ.2020 ความฉลาดทางอารมณ์จะเป็น 1 ใน 10 ทักษะที่ใช้ในการสมัครงานค่ะ
อ.ก้อย เห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจและสำคัญ จึงนำความรู้และประสบการณ์มาแบ่งปันค่ะ เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถฝึกฝนตนเองในการเป็นผู้นำที่ดีหรือเป็นพนักงานที่พร้อมสำหรับการเติบโตในหน้าที่การงานค่ะ
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อใช้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน
1. การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness)
การตระหนักรู้ในตนเอง หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ และรับรู้อารมณ์ของตนเอง ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา EQ ค่ะ เราต้องรู้จักตัวเราเองก่อนว่าเราเป็นคนอารมณ์แบบไหน ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการแสดงออกหรือพฤติกรรมของเรา และส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไรค่ะ ด้านไหนเป็นข้อดีของเรา และด้านไหนเป็นข้อที่ควรพัฒนาของเราค่ะ
วิธีฝึกฝน: การฝึกสติอย่างสม่ำเสมอช่วยให้เรามีความไวต่อการรับรู้อารมณ์ของตนค่ะ
2. การควบคุมตัวเอง (Self-Regulation)
หลังจากที่เรารับรู้อารมณ์ของตนเองและผลกระทบที่มีต่อผู้อื่นแล้ว สามารถควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตนได้ แล้วแสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น เมื่อฟังลูกน้องพูดแล้วรู้สึกหงุดหงิด ก็ตระหนักรู้ว่าตนเองกำลังหงุดหงิด แล้วควบคุมตนเองไม่ระเบิดใส่ลูกน้อง เป็นต้น
คนที่สามารถควบคุมตนเองได้ดีจะมีความยืดหยุ่นและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีค่ะ
วิธีฝึกฝน: หมั่นทบทวนถึงการแสดงออกที่ดี และสิ่งที่ยังทำได้ไม่ดี ในแต่ละวัน และให้กำลังใจตนเองในการพัฒนาการควบคุมตนเองและแสดงออกให้ดียิ่งขึ้น
3. ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Social Skills)
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีและผู้อื่นอยากที่จะทำงานด้วยค่ะ ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น การเป็นผู้ฟังที่ดี การสื่อสารด้วยวัจนะภาษา (คำพูด) การสื่อสารด้วยอวัจนะภาษา (ภาษากายและน้ำเสียง) การให้เกียรติผู้อื่น เป็นต้น
วิธีฝึกฝน: เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่พูดแทรก ให้เกียรติผู้อื่น ชื่นชมในสิ่งที่ดี ให้กำลังใจผู้อื่น
4. การเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
การเข้าใจผู้อื่น หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และแสดงความใส่ใจเป็นพิเศษหากเขารู้สึกไม่ดี กังวล เศร้า เป็นต้น หากเราใส่ใจในการฟัง ฟังมากกว่าแค่คำพูด สังเกตน้ำเสียง และภาษากาย จะช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญ คือ ใส่ใจคนที่คุยด้วยจริงๆ ไม่ได้ทำอย่างอื่นไปด้วยค่ะ
วิธีฝึกฝน: สังเกตสีหน้า แววตา ท่าทางของผู้อื่น ฝึกอ่านอารมณ์ความรู้สึก
5. การจูงใจ (Motivation)
เป็นคนที่มีแรงจูงใจจากภายใน (Intrinsic motivation) เต็มไปด้วยพลังที่ขับเคลื่อนจากภายใน มากกว่าแรงจูงใจจากภายนอก (External motivation) เช่น เงิน ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับ เป็นต้น มีการตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนบรรลุเป้าหมาย ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค/ความยากลำบาก
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.workwithpassiontraining.com/ และ https://www.baanjomyut.com/