แซมเปิลสเปซ (sample space) คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ที่อาจจะเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม เขียนแทนด้วย s และจำนวนของ แซมเปิลสเปซ เขียนแทนด้วย n(S)
นิยาม 1
คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม ใช้ Sแทนเซตของแซมเปิลสเปซ
เช่น การทอดลูกเต๋า1ลูก1ครั้ง
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่ม คือ 1,2,3,4,5,6 ดังนั้น S={1,2,3,4,5,6}
นิยาม 2
คือ ถ้า S เป็นแซมเปิลสเปซและเป็นเซตจำกัดแล้ว จำนวนผลลัพธ์ใน S จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ n(s)
จากS={1,2,3,4,5,6} จะได้ว่า n(s)=6
**แซมเปิลสเปซจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่สนใจ
ถ้าผลลัพธ์ทุกผลลัพธ์ในแซมเปิลสเปซมีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน จะเรียกผลลัพธ์เหล่านี้ว่า ผลลัพธ์เหมือนเท่ากัน ซึ่งเป็นแซมเปิลสเปซที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความน่าจะเป็น เราจะหาจำนวณผลลัพธ์ในแซมเปิลสเปซได้โดย
1. เขียนแผนภาพ 2. ใช้กฎเกณฑ์การนับ
ตัวอย่าง
โยนเหรียญ2 เหรียญ1 ครั้ง สนใจหน้าของเหรียญที่เกิดขึ้น
หน้าของเหรียญที่จะเกิดขึ้น 2*2*2=8
n(s)=8
S= {HHH,HHT,HTH,HTT,THH.THT,TTH,TTT}
ตัวอย่าง
หยิบลูกบอล2ลูกออกจากถุงซึ่งมีลูกบอลสีดำ5 ลูก สีฟ้า5ลูกสนใจสีของลูกบอลที่หยิบได้
S={สีดำ,สีฟ้า}
n(s)=2
ตัวอย่าง
ทีมแชร์บอล Kและทีมแชร์บอล P และสนใจผลการแข่งขันของทีมP
S={แพ้,ชนะ,เสมอ}
n(s)=3
หตุการณ์(Event)
คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ
บทนิยาม
ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซจากการทดลองสุ่ม และ E ⊂ S จะเรียก E ว่า เหตุการณ์
จากบทนิยามกล่าวได้ว่า เหตุการณ์ คือ เซตของผลลัพธ์ที่เราให้ความสนใจจากการทดลองสุ่ม
ข้อควรระวัง
1. เซตว่าง{}ถือเป็นเซตหนึ่ง
2. แซมเปิลสเปซ S เปรียบได้กับเอกภพสัมพัทธ์ในเรื่องเซต
3. ถ้าแซมเปิลสเปซS มีสมาชิก nตัวจำนวนของเหตุการณ์ทั้งหมดของการทดลองสุ่มเท่ากับ 2nเหตุการณ์
4. เนื่องจากเหตุการณ์ของการทดลองสุ่มเป็นเซต จึงสามารถมีการดำเนินการทางเซตได้ เช่น ถ้า E1และE2เป็นเหตุการณ์ E1 ∪ E2 หมายถึง เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในE1หรือ E2
ตัวอย่าง
กำหนดS={5,6,7}เป็นแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มครั้งหนึ่ง
1.1หาจำนวนเหตุการณ์ (E)ท้้งหมดของการทดลองสุ่มครั้งนี้
n(E)=23=8
1.2เขียนเหตุการณ์ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม
E={},{5{,{6},{7},{5,6},{5,7},{6,7},{5,6,7}
ตัวอย่าง
1. มีลูกอมสีแดง 2 ลูก และสีเขียว3 ลูก จงหาแซมเปิลสเปซของการจับฉลากลูกอม 2 ครั้ง
แทนลูกอมเป็น แดง1 แดง2 เขียว1 เขียว2 เขียว3
วิธีทำ S={แดง1แดง2,แดง1เขียว1, แดง1เขียว2 , แดง1เขียว3 , แดง2เขียว1
,แดง2เขียว2, แดง2เขียว3, เขียว1เขียว2, เขียว1เขียว3 ,เขียว2เขียว3}
n(S) = 10
2. ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก ถ้าเราสนใจแต้ม ของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6
ดังนั้นแซมเปิลสเปซที่ได้คือS = {1, 2,3,4,5,6}
n(s) = 6
3. การหาแซมเปิลสเปซในการโดยเหรียญ 1 เหรียญ ถ้าเราสนใจหน้าที่หงายขึ้น
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ หัว หรือ ก้อย
ดังนั้นแซมเปิลสเปซที่ได้ คือ S={หัว, ก้อย}
n(S) = 2