ศิลปะร่วมสมัย สรุปแล้วเป็นงานศิลป์ที่มาพร้อมกับวิถีชีวิตยุคใหม่ ซึ่งปราศจากจุดศูนย์กลาง สามารถใช้เทคโนโลยีในการรังสรรค์ ใครอยากทำอะไรก็ทำไป เพราะฉะนั้นการแยกประเภทของงานศิลป์ชนิดนี้ให้ชัดเจนตายตัว ยังไม่มีใครแยกได้ เนื่องจากศิลปินหลายคนมีความเห็นไม่ตรงกัน ศิลปะร่วมสมัย มีการทำงานอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ใช้ตัวเองทำเป็นงานศิลปะ, Photoshop เป็นต้น เพราะฉะนั้นการนำมาแบ่งแยกประเภทว่า อันนี้เป็นศิลปะขั้นสูง อันนี้เป็นศิลปะพื้นๆ จึงทำได้ยาก
ที่มาของงาน “ศิลปะร่วมสมัย” ถือกำเนิดมาจากสังคมฝั่งตะวันตก ส่วนไทยก็ได้นำเอารูปแบบนั้น มาประยุกต์ ตามแบบของเรา หรือบางครั้งก็มีการนำรูปแบบของฝั่งตะวันตก มาผสมกับของไทย เรียกว่า “ไทยประยุกต์”
สุดท้ายนี้ถ้าต้องการคำสรุปสั้นๆเกี่ยวกับ ศิลปะร่วมสมัย ก็คงสามารถอธิบายได้ว่า เป็นการนำแนวคิดของลัทธิศิลปะในยุคโบราณกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในงานศิลป์บางส่วนให้เกิดความทันสมัย , ทันเหตุการณ์ แต่ก็ต้องยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของ แนวคิด , รูปร่าง ขั้นตอน รวมทั้งวิธีการสร้างงานตามลัทธิเดิม
ตัวอย่างของงานศิลปะร่วมสมัย
- การนำลวดลายอันสุดหรูหราจากศิลปะโรโคโคมาทำเป็นลวดลายกระดาษ หรือลายผ้า เป็นต้น
- การวาดภาพวิวทิวทัศน์ของเมืองกรุงเทพฯ โดยใช้เทคนิคการแต้มสีเหมือนศิลปะลัทธิ Impressionism เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการศิลปะร่วมสมัย แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- เป็นภาษาแห่งความงาม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลงานให้เกิดความงดงาม โดยยึดแก่นแท้ของศิลปะ นั่นก็คือ ความงาม และ มาตรฐานของความงาม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และแต่ละประเทศนั้น ก็มีมาตรฐานของความงามที่แตกต่างกันออกไป
- เป็นภาษาแห่งอารมณ์ เป็นเหมือนการระบายอารมณ์ของศิลปินนั้นๆ ลงมาในงานศิลป์ เปรียบเสมือนวิถีแห่งการระบาย การปลดปล่อย หรือเปลี่ยนแรงกดดันให้กลายเป็นพลังในการสร้างงาน
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://artinteractivetokyo.com/