ณ ดินแดนแห่งหนึ่งของโลก พื้นที่ตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโกประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนของคนไอที หรือกล่าวได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คสำคัญด้านไอทีของโลก ด้วยเป็นพื้นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทและหน่วยงานสำคัญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก และแน่นอนที่ว่าที่นี่ยังเป็นแหล่งรวมตัวของบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านไอทีรวมตัวอยู่กันเป็นจำนวนมากด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านไอทีที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) , มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ (University of California – Berkeley) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ซานตาครูซ (University of California – Santa Cruz) ดินแดนแห่งนี้เรียกว่า ซิลิคอนวัลเล่ย์ (Silicon Valley)
หลังจากที่ Shockley Semiconductor Labs บริษัทแรกที่ผลิตชิพซีพียูของคอมพิวเตอร์จากแร่ซิลิคอน (แต่เดิมใช้แร่เจอเมเนียม) รับเด็กจบใหม่จาก สแตนฟอร์ด เข้ามาอย่างที่เราเล่าให้ฟังตอนต้นนั้น ไม่นานเด็กๆ ทั้ง 8 คนก็ลาออก เพราะเข้ากับ วิลเลียม ช็อกลีย์ ไม่ได้
เด็กทั้ง 8 คนจึงไปตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า Fairchild Semiconductor และยังได้รับบทบาทสำคัญในการเขียนโปรแกรมให้ยานอพอลโล่ 11 ของ NASA ด้วย จนต่อมาทั้ง 8 คนก็แยกย้ายไปตั้งบริษัทกันเองซึ่งก็คือบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ของโลกอย่าง Intel, AMD, KPCB, Teledyne และ Xicor เป็นต้น
จนต่อมา ก็มีบริษัทมากมายทั้ง Facebook, Google, Apple, Twitter, Microsoft, eBAY, LinkedIn, SanDisk, Yahoo, Adobe ฯลฯ นับร้อย จนกลายเป็นหัวใจของเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีของโลก มูลค่าทางการเงินของ ซิลิคอน วัลเลย์ คิดเป็นหนึ่งในสามของมูลค่าการร่วมลงทุนทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และสาเหตุที่เรียกว่าซิลิคอนนั้นก็เป็นชื่อของธาตุที่นำมาประยุกต์ใช้ในช่วงแรกๆ เลยนั่นเอง
ซิลิคอน วัลเลย์ ไม่ได้มีแค่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเท่านั้น เพราะยังล้อมไปด้วย University of California – Berkeley, University of California – Santa Cruz (วิทยาเขตส่วนขยาย ซิลิคอนวัลเลย์) เป็นต้น ด้วยการศึกษาที่เข้มแข็งจึงเป็นปัจจัยให้ย่านนี้สร้างบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกขึ้นมามากมาย เพราะความจริงแล้วไม่ได้มีแค่มหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วยโรงเรียนท้องถิ่นที่เข้มแข็งและเรียนฟรี
จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการสร้างซิลิคอน วัลเลย์ คือ โรงเรียนเทศบาล (Public Schools) ที่คุณภาพ จนสามารถผลิตเด็กเข้าสู่ประบบอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ Steve Jobs และ Steve Wozniak ก็เคยเรียนโรงเรียนเทศบาลซิลิคอน วัลเลย์ ที่ชื่อว่า Homestead High School ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนนี้ไม่ได้แช่แข็งหลักสูตรแต่ยังพัฒนาต่อไปโดยการเพิ่มสาขา Biotech และหุ่นยนต์เข้าไป เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกลงได้
ระบบการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก มหาวิทยาลัยย่านซิลิคอน วัลเลย์ มีทุนร่วมมือวิจัยกับสตาร์ทอัพรายใหม่ๆ ที่ป้อนคนเข้าสู่บริษัทต่างๆ ในย่านซิลิคอน วัลเลย์ ไม่เพียงเท่านั้นด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้อำนาจท้องถิ่นบริหารจัดการเองไม่ต้องคอยจากส่วนกลางเท่านั้น ทำให้การปรับปรุงระบบการศึกษาและภาษีทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โรงเรียนเทศบาลที่มีคุณภาพอย่าง Homestead High School ที่ศาสดาสมาร์ทโฟนก้องโลก Steve Jobs เคยเรียนถ้าพ่อแม่อยากให้เรียนก็จำเป็นต้องมาอยู่อาศัยย่านนี้เท่านั้น และยังเป็นการลดปัญหาจราจรระยะยาว เนื่องจากถ้าไม่อยู่ย่านนี้ก็เรียนไม่ได้ ต่อให้รวยก็ฝากไม่ได้ เนื่องจากโรงเรียนเรียนฟรีอยู่แล้ว จนทำให้หลายเมืองเองก็พยายามปรับปรุงโรงเรียนท้องถิ่นให้ดีเพื่อเป็นจุดขายให้คนย้ายมาทำงาน แม้จะต้องเสียภาษีบ้านและคอนโดทุกปี อัตราปีละประมาณ 1.1-1.6% (ขึ้นอยู่กับเมือง) และเงินนี้ไม่ได้เข้า “ส่วนกลาง” แต่เข้าไปที่เมืองนั้น เอาไว้ไปสร้างโรงเรียน พัฒนาต่างๆ เพื่อสร้างคนเก่งรุ่นต่อไป
การศึกษากลายเป็น ‘อาวุธที่รุนแรงที่สุดในการเปลี่ยนแปลงโลก’ ด้วยค่านิยมของเสรีภาพทางความคิดนี้ที่อยู่ในพื้นฐานของคนอเมริกัน และเหล่าต่างชาติที่เข้ามาเรียนที่นี่ ทำให้แม้แต่ Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba ก็เคยยอมรับว่าเขาเองได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดที่แปลกใหม่ของ Jerry Yang ผู้ก่อตั้ง Yahoo โรงเรียนในย่ายซิลิคอน วัลเลย์ มักชอบทำให้เด็กๆ กล้าคิดต่างและตั้งคำถามกับผู้ใหญ่ กล้าในการตั้งคำถามกับทฤษฎีเก่าๆ หรือการตั้งคำถามกับผู้มีอิทธิพล เป็นกระบวนการคิดที่ถูกสอนมากว่า 50 ปี ไม่มีการแบ่งสายวิทย์หรือศิลป์ แต่ให้เด็กผสานวิชาเรียนเอง
ความสำเร็จของเทคโนโลยีที่ทำให้ประเทศกลายเป็นมหาอำนาจ จึงมีพื้นฐานที่สำคัญมาจากระบบการศึกษาและวัฒนธรรมที่หนุนให้คนรุ่นใหม่กล้าคิดเพื่อเติบโต
เสรีภาพทางความคิดและวัฒนธรรมองค์กร กลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้คนอยากมาทำงานในบริษัทย่านซิลิคอน วัลเลย์ จนทุกวันนี้ ซิลิคอน วัลเลย์ ได้กลายเป็นโมเดลต้นแบบให้หลายประเทศพยายามปรับปรุงประเทศตนเองให้เป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีเหมือนอย่างที่แห่งนี้บ้าง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : https://www.digitalbusinessconsult.asia/
Thongchai Cholsiripong. (2561, 2 กุมภาพันธ์ 2561) . คนทำงานใน Silicon Valley มีรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท ยังรู้สึกว่าตัวเองเป็น “คนชั้นกลาง” . สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก
https://brandinside.asia/silicon-valley-middle-class/
นางสาวภาวินี จันทร์สำราญ. (2560, 23 พฤษภาคม) . มาทำความรู้จักกับซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) กันเถอะ. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก
http://www.mfa.go.th/aspa/th/articles/7128/77940-มาทำความรู้จักกับซิลิคอนวัลเลย์-(Silicon-Valley)-ก.html
รู้จัก “ซิลิคอน วัลเลย์” แหล่งรวมบริษัท IT หนึ่งในสถานที่ที่คนอยากทำงานมากที่สุดในโลก!!. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก
https://www.dek-d.com/studyabroad/37000/
Thasinakarn Chinsomboon. (2560, 2 มีนาคม) . Silicon Valley คืออะไรกันนะ?. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก
https://th.linkedin.com/pulse/silicon-valley-คออะไรกนนะ-thasinakarn-chinsomboon
https://www.scimath.org/