แม้ปัจจุบันจีนกำลังเผชิญกับปัญหาที่รุมเร้า ทั้งเรื่องโรคโควิด-19 ระบาด สงครามการค้ากับสหรัฐฯ กฎหมายความมั่นคงในฮ่องกง และปัญหาทางเศรษฐกิจอีกมากมาย แต่เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ กำลังเป็นประเด็นร้อนที่จุดชนวนความตึงเครียดขึ้นในภูมิภาคอีกครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า การอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของจีนเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
ในบทความนี้ นายอเล็กซานเดอร์ นีล ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากสิงคโปร์ จะวิเคราะห์ถึงแผนการขั้นต่อไปของจีนในการแผ่ขยายอำนาจเข้าไปในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นปมขัดแย้งกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมาอย่างยาวนาน
- ข้อพิพาททะเลจีนใต้: “ออกไปเดี๋ยวนี้ และอยู่ให้ห่าง”
- เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” จำนวนมาก
- จีนซ้อมรบทางอากาศตอบโต้ หลังเรือรบสหรัฐฯ เฉียดเกาะทะเลจีนใต้
ทะเลจีนใต้ ถือเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญในภูมิภาค และหลายประเทศต่างอ้างกร
รัฐบาลจีนมองว่าทะเลจีนใต้เป็นส่วนสำคัญในอาณาเขตทางทะเลของตน โดยไม่เพียงจะใช้เป็นปราการเพื่อยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางทะเล แต่ยังเป็นประตูสู่เส้นทางสายไหมทางทะเลในโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วย
นอกจากนี้ ทะเลจีนใต้ยังมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของแผนพัฒนาเศรษฐกิจโครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong -Hongkong-Macao Geater Bay Area)
แผนการของจีนในการอพยพประชากรเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลจีนใต้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012 หลังจากนครซานชา (Sansha City) ซึ่งเป็นศูนย์อำนวยการบริหารโครงการที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์บนเกาะวู้ดดี้ หรือเกาะหย่งซิง ในหมู่เกาะพาราเซล ได้รับการยกสถานะจากเขตการปกครองระดับอำเภอ ขึ้นเป็นระดับจังหวัด
รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนชุมชนชาวประมงที่เมืองแห่งนี้ให้เป็นแหล่งที่พักอาศัยอันทันสมัย มีการสร้างโรงเรียนประถม ธนาคาร โรงพยาบาล และมีการติดตั้งระบบสื่อสารโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งยังมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการขนานนามว่า “มัลดีฟส์แดนมังกร”โดยมีเรือสำราญพานักท่องเที่ยวไปเยือนอยู่เป็นประจำ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.bbc.com/