JD.com ก่อตั้งโดย “ริชาร์ด หลิว” หรือหลิว เชียงตง ในปี 1988 เริ่มจากการเป็นร้านขายอุปกรณ์ไอทีในย่านจงกวานซุนของปักกิ่ง ก่อนที่จุดพลิกผันจะเกิดขึ้นในปี 2003 ที่เกิดเหตุโรคซาร์สระบาดในเอเชีย ทำให้หลิวตัดสินใจก่อตั้งร้านค้าออนไลน์ jdlaser.com ในปี 2004 และนี่คือจุดเริ่มต้นของอีคอมเมิร์ซจีนที่ได้ชื่อว่า “อเมซอนแห่งจีน” (ตัวจริง)
ริชาร์ด หลิว ล้มเหลวตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
หลิว เฉียงตง (Liu Qiangdong) หรือ ริชาร์ด หลิว (Richard Liu) ผู้ก่อตั้ง และ CEO ของบริษัท JingDong Mall (JD.com) (จิงตงมอล) ซึ่งเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน ริชาร์ด หลิว เกิดในปี ค.ศ. 1974 ในเมืองซู่เชียน มณฑลเจียงซู พ่อแม่ทำอาชีพขนส่งถ่านหิน ริชาร์ด หลิว สนใจในเรื่องการเมืองจึงเลือกเรียนคณะสังคมวิทยา และระหว่างนั้นก็ฝึกเรียนเขียนโปรแกรมไปด้วย ซึ่งในขณะนั้นเป็นเรื่องใหม่และมีคนเขียนโปรแกรมอยู่น้อยมาก ระหว่างที่เรียนอยู่ ริชาร์ดได้รับงานการเขียนโปรแกรมไปด้วย และนำรายได้เหล่านั้นบวกกับเงินที่กู้ยืมมาจากครอบครัวไปทำกิจการร้านอาหาร แต่เพราะความที่ไม่ได้บริหารอย่างใกล้ชิด ร้านอาหารได้ถูกพนักงานโกงเงินไปจนธุรกิจต้องล้มไม่เป็นท่า
“ผมรู้สึกผิดหวังมาก ทั้ง ๆ ที่ผมทำดีกับพนักงานทุกอย่าง แต่พวกเขากลับทำแบบนี้กับผมได้”
ริชาร์ดกล่าว
ริชาร์ดเรียนจบจากมหาวิทยาลัยในปี 1996 และได้เข้าทำงานในบริษัท Japan Life เป็นบริษัทด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากญี่ปุ่น ซึ่งเขาได้งานนี้มาจากการรับเขียนโปรแกรม จนได้ทำงานประจำในบริษัทแห่งนี้ และไต่เต้าจนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายคอมพิวเตอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ และผู้ดูแลด้านโลจิสติกส์ ซึ่งรายได้จากงานนี้สามารถทำให้ ริชาร์ดชำระหนี้จากร้านอาหารได้ทั้งหมด แม้จะใช้เวลาไปหลายปีก็ตาม
ความผิดพลาดเป็นบทเรียนที่สำคัญของริชาร์ด หลิว
หลังจากที่ทำงานในบริษัท Japan Life อยู่หลายปี เขาค่อย ๆ ตระหนักได้ว่า “ความล้มเหลวของร้านอาหารในวันนั้นเป็นความผิดของผมเอง ผมไม่ได้สร้างระบบการบริหารจัดการ การเงินให้ดี” นับเป็นสิ่งที่ดี ที่ริชาร์ดได้เรียนรู้ที่จะยอมรับในความิดพลาดของตัวเอง จากจุดนี้ริชาร์ดได้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น และเรียนรู้ที่จะบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ
ตอนนี้ริชาร์ดปิดร้านค้าทั้ง 12 สาขาลงแล้ว แต่สต็อกสินค้าที่ยังมีอยู่มากมายต้องการที่ระบายอออก ในขณะเดียวกันเขาก็ได้ปลดภาระค่าใช้จ่ายของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงานค่าเช่าสถานที่ต่าง ๆ ลงจนหมดสิ้น และเขากำลังหันหัวเรือเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
โรคซาร์ ทำให้ริชาร์ดได้รู้จักเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ด(กระดานข่าว) ริชาร์ดได้ขายสินค้าไปตามเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องคาดหน้ากากอนามัยไปส่งสินค้าที่ไปรษณีย์ด้วยตนเอง ต่อมาในปี 2004 ริชาร์ดก็เปิดตัว Jingdong Mall (JD.com) อย่างเป็นทางการ
D.com เข้า IPO ที่ Nasdaq ก่อน Alibaba
หลังจากการเข้าถือหุ้นของ Tencent ริชาร์ดก็ก้าวต่อไปอีกขั้น นำหน้า อาลีบาบา 1 ก้าว และเป็นการก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา Nasdaq โดยเปิดขายหุ้น IPO ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 และได้กล่าววลีที่สะท้านใจนักลงทุนทันทีว่า Growth First, Profits Second (เติบโตก่อน กำไรมาทีหลัง) ซึ่ง ณ วันที่เข้าตลาดหุ้นนั้น JD ยังคงไม่มีกำไร แต่มีการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับฐานผู้ใช้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย บวกกับได้พันธมิตรหนุนหลัง อย่าง Tencent จึงได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน และหุ้นวิ่งขึ้นทันที 15%
จากจุดนี้เองทำให้ชื่อของ ริชาร์ด หลิว เข้าไปอยู่ในทำเนียบ 100 คนที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศจีนทันที ด้วยทรัพย์สินราว 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ(ราว ๆ 280,000 ล้านบาท) และยังคงถือหุ้นใน JD 84% ทำให้ ริชาร์ดยังคงมีอำนาจในการบริหารอย่างเต็มเปี่ยม
โดย JD.com เพิ่งจะประกาศว่ามีกำไรแล้วในเดือน พฤษภาคม ปี 2017 นี้เอง ถือเป็นการประกาศกำไรครั้งแรกตั้งแต่ Tencent เข้าถือหุ้น
พันธมิตรที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
ต้องยอมรับว่าหาก JD.com เดินทางคนเดียวคงไม่สามารถไปได้ไกลถึงตลาดหุ้นอเมริกาอย่างแน่นอน แต่ด้วยการได้เป็นพันธมิตรกับ Tencent นั้นทำให้ JD ชิงความได้เปรียบมหาศาล เนื่องจาก Tencent คือเจ้าของ แอปพลิเคชั่น QQ และ Wechat ซึ่งคนจีนแทบทุกคนใช้ในการสื่อสาร JD จึงมียอดขายจากโปรแกรมทั้งสองนี้เยอะมาก รวมถึง Tencent ยังมีระบบชำระเงินของตัวเอง คือ Wechatpay อีกด้วย ยิ่งทำให้การช้อปสินค้ากับ JD มีความสะดวกสบายอย่างครบวงจรเลยทีเดียว
ลงทุนต่อเนื่อง เพื่อเติบโต
หลังจากเป็นบริษัทมหาชน ริชาร์ดได้ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า 640 ล้านคนในภูมภาคนี้ ซึ่ง JD คาดหวังกับตลาดในอินโดนีเซีย และไทยเป็นอย่างมาก หวังให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน เพราะมองเห็นโอกาสที่จะเติบโตได้มาก
นักวิเคราะห์หลายเสียงเปรียบ JD.com ว่าคือ Amazon.com เพราะ JD.com มีการลงทุนโครงข่ายโลจิสติกส์จำนวนมหาศาล ทั้งศูนย์กระจายสินค้าในจีนกว่า 6,900 แห่ง และพนักงานส่งสินค้ากว่า 7 หมื่นคน (จากพนักงานราว 120,000 คน) รวมถึงการจัดแพ็กเกจ ตลอดการสต๊อกสินค้าด้วยตัวเอง ทำให้สามารถส่งด่วนภายใน 1 วัน ได้เหมือนอเมซอนใน 43 เมืองใหญ่ของจีน ทั้งมั่นใจได้ว่าสามารถส่งมอบสินค้าคุณภาพและของแท้ให้แก่ลูกค้า ซึ่งแตกต่างจากอาลีบาบา ที่เป็นอีคอมเมิร์ซในลักษณะของมาร์เก็ตเพลซที่ให้ผู้ค้ารายย่อยเข้ามาใช้เป็นช่องทางขายสินค้า
JD.com พร้อมโอนธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเทนเซนต์ทั้งหมดให้ JD.com ดูแล ส่งผลให้จำนวนลูกค้าของ JD.com เพิ่มเป็น 90 ล้านคน จากก่อนหน้าที่มีเพียง 47.4 ล้านคน
นอกจากนี้ในปี 2016 ยังได้จับมือกับ “วอลมาร์ต” ห้างค้าปลีกยักษ์ของอเมริกา หลังจากวอลมาร์ตล้มเหลวกับการบุกตลาดจีน จนต้องขายกิจการให้ JD.com แลกกับการเข้าถือหุ้น 5.9% โดยที่ JD.com ได้ใช้ประโยชน์จากคลังสินค้าของวอลมาร์ตในหลายเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว เสิ่นเจิ้น นอกจากนี้ยังได้สินค้าจากวอลมาร์ตเข้ามาเติมบนหน้าเว็บ ทำให้สินค้าจากวอลมาร์ต โอกาสขายไปในเมืองเล็ก ๆ ซึ่ง JD.com เข้าถึงมากกว่าและเมื่อปี 2016 วอลมาร์ตก็ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 10.8%
นอกจากการรุกขยายอาณาจักรในประเทศจีน JD.com ยังเปิดเกมรุกธุรกิจนอกประเทศ โดยในปี 2015 มีการเปิดตัว “JD Worldwide” และเลือก “รัสเซีย” ในฐานะตลาดต่างประเทศแห่งแรก โดยทำเว็บไซต์ภาษารัสเซีย (www.jd.ru) เพื่อเตรียมก้าวขึ้นเป็นอีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งในรัสเซียภายใน 5 ปี จากนั้นในปีเดียวกัน ก็ได้จับมือกับเว็บไซต์ “Iknow” บุกตลาดสิงคโปร์ ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องรอส่งจากจีน
ในปี 2016 JD.com ได้ลงทุนในสตาร์ตอัพช็อปปิ้ง “Wish” ของสหรัฐอเมริการาว 50 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการลงทุนในอีคอมเมิร์ซอเมริกาครั้งแรก จากนั้นในปี 2017 ได้มีการเซ็นเอ็มโอยูกับบริษัทโลจิสติกส์ญี่ปุ่น “ยามาโตะ” ทำให้ชาวจีนสามารถเลือกซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะพืช ผัก และผลไม้
พร้อมกันนั้น ก็ได้ลงทุนราว 100 เหรียญสหรัฐ ในสตาร์ตอัพบริการรถจักรยานยนต์ร่วมเดินทาง (ride-hailing) ชื่อว่า “Go-Jek” ของอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นอีกก้าวในการบุกตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยังมีโอกาสทางด้านอีคอมเมิร์ซอีกมาก
ล่าสุด JD.com ประกาศจับมือกลุ่มเซ็นทรัล ลงทุนขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซและฟินเทคในประเทศไทย โดยลงทุนร่วมกัน เม็ดเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเล็งยกไทยเป็นฮับอีคอมเมิร์ซแห่งอาเซียน จากที่ตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียนกำลังโตอย่างรวดเร็ว และการขยายตัวของชนชั้นกลาง
การเปิดเกมรุกของอันดับ 2 อย่าง JD.com อาจทำให้อันดับหนึ่งอย่าง “อาลีบาบา” หนาว ๆ ร้อน ๆ ได้บ้าง แต่หากเทียบตัวเลขข้อมูลจากเว็บไซต์ “ไชน่า อินเทอร์เน็ต วอตช์” ในไตรมาส 2 ปี 2017 อาลีบาบายังครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกออนไลน์แบบ B2C ไปมากถึง 51.3% ขณะที่ JD.com ตามมาที่ 32.9%
-ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.ceochannels.com/richard-liu-story/