มาสนุกกันต่อกับบทความซีรี่ส์ รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ครั้งนี้มาถึงตอนที่ 14 กันแล้ว เรากำลังจะกล่าวถึงนักคณิตศาสตร์ที่บทบาทสำคัญเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ จะเป็นใครนั้นมาติดตามกันได้เลย
เหล่านักคณิตศาสตร์ทั้งหลายล้วนตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนักคณิตศาสตร์เหล่านี้ยังอุทิศตนค้นคว้าและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ เพื่อลดภาระการคำนวณของผู้ที่ปฏิบัติงานให้ได้มีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อให้ใช้มากยิ่งขึ้น
การศึกษาของจอห์น เนเปียร์
ในปี ค.ศ. 1563 จอห์น เนเปียร์ได้เข้าเรียนที่เซนต์ซัลเวเตอร์คอลเลจ, มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเป็นข้อมูลประวัติการศึกษาในช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นเนเปียร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อในโซนประเทศยุโรป แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงที่เนเปียร์เข้ารับการศึกษาต่อที่แห่งนี้ แต่มีข้อมูลปรากฏแจ้งว่าเขาอาจจะเรียนอยู่ที่แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศอิตาลี
เนเปียร์มีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินของตนเอง และในขณะเดียวกันเขาก็ยังมีความศรัทธาในศาสนา ไสยศาสตร์และการเล่นแร่แปรธาตุ แม้ว่าการศึกษาด้านคณิตศาสตร์จะเป็นเพียงงานอดิเรกของเนเปียร์ และด้วยความรู้ความสามารถที่เขามีจึงทำให้เขากลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และมีผลงานอาทิ เช่น ลอการิทึม, Napier’s analogies, Napier’s bones
จอห์น เนเปียร์ได้สร้างตารางการคูณบนชุดแท่งต่าง ๆ และในแต่ละด้านได้บรรจุตัวเลขที่มีสัมพันธ์กันในลักษณะความก้าวหน้าเชิงคณิตศาสตร์ ความสามารถของตารางการคูณนี้คือการหาค่ารากที่สอง รากที่สาม และยังสามารถคูณหรือหารตัวเลขจำนวนมาก ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและยังใช้เวลารวดเร็วในการคำนวณอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถแปลงปัญหาของการคูณที่สลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เครื่องมือนี้มีชื่อเรียกว่า สไลด์รูล (Slide rule) เครื่องมือนี้มีหน้าที่หาค่าการคูณตัวเลข และสไลด์รูลยังเป้นต้นกำเนิดของ แอนาล็อกคอมพิวเตอร์ด้วย ตารางการคูณบนชุดแท่งของเนเปียร์เป็นที่นิยมและแพร่หลายทั่วยุโรป ทำให้ทุกคนรู้จักจอห์น เนเปียร์ในฐานะผู้ประดิษฐ์ลอการิทึม
ผลงานสำคัญของจอห์น เนเปียร์
ลอการิทึม จอห์น เนเปียร์ได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้นโดยเฉพาะการคูณสิ่งที่ต้องการ ลอการิทึมทำหน้าที่การแปลงค่าการคูณของตัวเลขให้เป็นผลรวม และการหาค่าการหารของตัวเลขให้เป็นผลการลบเพื่อให้การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์นั้นง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
Napier’s Bones คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณตัวเลขการคูณและการหารให้ง่ายราวกับการบวกหรือการลบเลขและอีกทั้งยังคำนวณได้อย่างรวดเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยเนเปียร์ได้ประดิษฐ์บรรทัดคำนวณนี้ขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ของลอการึทึม
กระดูกของเนเปียร์ หรือ ลูกคิดชาวเนปาล คือเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์นี้ประกอบไปด้วยตารางการคูณที่ถูกฝังอยู่ในบาร์เพื่อให้การหาค่าของการคูณหรือการหารนั้นทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น วัตถุเนเปียร์จะมีแผ่นที่มีขอบซึ่งคนที่วางแท่งเนเปียร์ภายในขอบเพื่อทำการคูณหรือหาร โดยขอบซ้ายของกระดานจะแบ่งออกเป็นช่องจำนวน 9 ช่อง โดยมีตัวเลขตั้งแต่เลข 1 ไปจนถึงเลข 9
หลังจากที่เขาได้ประดิษฐ์และคิดค้นเครื่องมือในการคำนวณคณิตศาสตร์ต่าง ๆ จนทำให้ผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จอห์น เนเปียร์ ก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายจนเสียชีวิตที่เมือง Edinburgh, Scotland เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1617 ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุได้ 67 ปี
แหล่งที่มา
จอห์น เนเปียร์ (John Napier of Merchiston) . สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จากhttps://www.hoboctn.ru/2018/01/24/john-napier/
บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ประวัติโดยย่อจอห์น เนเปียร์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จากhttp://netchanoklove1.blogspot.com/2012/02/blog-post_8126.html
จอห์น เนเปียร์ (NEPER JOHN NAPIER ). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จาก . http://www.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=5832&Itemid=13