Pronoun (คำสรรพนาม) คือคำที่มีไว้สำหรับ(พูด,เขียน)แทนชื่อของคน,สัตว์,สิ่งของ,และสถานที่เพื่อป้องกันมิให้กล่าวชื่อนั้นซ้ำๆ
Pronoun มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกันคือ
1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม
2. Possessive Pronoun สามีสรรพนาม
3. Definite Pronoun นิยมสรรพนาม
4. Indefinite Pronoun อนิยมสรรพนาม
5. Interrogative Pronoun ปฤจฉาสรรพนาม
6. Relative Pronoun ประพันธ์สรรพนาม
7. Reflexive Pronoun สรรพนามสะท้อนหรือเน้น
8. Distributive Pronoun วิภาคสรรพนาม
1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของผู้พูด, ผู้ฟัง, และผู้ที่ถูกกล่าวถึง ซึ่งมีอยู่ 2 พจน์ 3 บุรุษ คือ
|
เอกพจน์ |
พหูพจน์ |
บุรุษที่ 1 |
I |
we |
บุรุษที่ 2 |
you |
you |
บุรุษที่ 3 |
he, she, it |
the |
Personal Pronoun แบ่งได้ 5 รูป คือ
รูปที่ 1 |
รูปที่ 2 |
รูปที่ 3 |
รูปที่ 4 |
รูปที่ 5 |
I |
Me |
My |
mine |
myself |
We |
us |
Our |
ours |
ourselves |
You |
you |
Your |
yours |
yourself |
He |
him |
his |
his |
himself |
she |
her |
Her |
hers |
herself |
It |
It |
its |
its |
itself |
they |
them |
there |
theirs |
themselves |
2. Possessive Pronoun สามีสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือบุรุษสรรพนามรูปที่ 4 นั่นเอง เวลาใช้ไม่ต้องมีนามตามหลัง มีหน้าที่ 3 อย่างคือ
2.1 เป็นประธานของกิริยาในประโยค เช่น Your book is green, mine is red.
2.2 เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา เช่น this pencil is mine, that one is your.
2.3 ใช้เรียงตามหลังบุรพบท(คำเชื่อมคำ) เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนขึ้นได้เช่น A friend of yours was killed last night.
3. Definite Pronoun นิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ชี้เฉพาะและใช้แทนนามได้ ที่นิยมใช้แพร่หลายมีอยู่ 6 ตัวคือ (รวมทั้ง which ด้วย)
this, that, one 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์.
These, those, ones 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์.
*นิยมสรรพนามนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกิริยาในประโยคได้ตามแต่ จะ ใช้งาน.
4. Indefinite pronoun อนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้นคนนี้โดยตรง (ตรงข้ามกับ Definite Pronoun) ได้แก่คำว่า some, any, all, someone, somebody, anybody, few, everyone, many, nobody, everybody, other……etc.
*ข้อสังเกต ทั้งนิยมสรรพนามและอนิยมสรรพนาม ถ้าใช้โดยมีคำนามอื่นตามหลังจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ไป แต่ถ้าใช้โดยไม่มีคำนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นนิยมสรรพนามหรืออนิยมสรรพนาม.
5. Interrogative pronoun ปฤจฉาสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม และต้องไม่มีนามตามหลังด้วยจึงจะเรียกว่าเป็นปฤจฉาสรรพนาม ได้แก่ Who , whom, whose , what, which ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.
· Who (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกิริยาในประโยคได้ บางครั้งก็เป็นกรรมได้ เช่น. Who is standing there ? ใครกำลังยืนอยู่ที่นั่น?.
· Whom (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นกรรมของกิริยาหรือบุรพบท (บางครั้งใช้ Who แทน).เช่น Whom do you love ? คุณรักใคร ?.
· Whose (ของใคร) ใช้ถามถึงเจ้าของ และต้องเป็นบุคคลเท่านั้น เช่น. Whose is the car ? รถคันนี้เป็นของใคร
· What (อะไร) ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น:-
– ถ้าเป็นประธานต้องไม่ใช้กริยาอะไรมาช่วยทั้งสิ้น เช่น What delayed you ?
อะไรทำให้คุณล่าช้า.
– ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย และวางไว้หลัง What เช่น What
do you want ?
· Which (สิ่งไหน อันไหน) ใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น ถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วย Which is the best? อันไหนดีที่สุด ?.(อนึ่งปฤจฉาสรรพนาม Whose ,which, what นี้ ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็เป็นคุณศัพท์ไป ถ้าไม่มีนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม)
6. Relative Pronoun ประพันธ์สรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคหลังได้ด้วย ได้แก่ Who, Whom, Whose, Which, Where, what, when, why, that .
· Who (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น The man who came here last week is my cousin. ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.
· Whom (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The boy whom you saw yesterday is my brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.
· Whose (ผู้ซึ่ง…..ของเขา) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอ เช่น The girl whose father is a teacher goes to school every day. เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไปโรงเรียนทุกวัน.(เป็นคำแสดง ความ เป็นเจ้าของ Father).
· Which (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม The animal which has wing is a bird. สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค has wings) The kitten which I gave to my aunt is very naughty. ลูกแมวซึ่งฉันให้แก่คุณป้าของฉันไปนั้นซุกซนมาก.(เป็นกรรมของกริยา gave ในอนุประโยค I gave to my aunt).
· Where (อันเป็นที่) ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น The night club is the place where is not suitable for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is not suitable for children ) The hotel is the place where I like best . โรงแรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุด.(เป็นกรรมของ like).
· What (อะไร,สิ่งที่) ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I know what is in the box. ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องใบนี้.
· When (เมื่อ,ที่) ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วัน, เดือน,ปี เช่น Sunday is the day when we don’t work. วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน.
· Why (ทำไม) ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This is the reason why I go to Hong Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง.
· That (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันได้แก่ :-
1. เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น He is the tallest man that I have ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.
2. เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น China is the first country that I am going to visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.
3. เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money that she give me. หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม.
4. เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือ someone, somebody, something, anyone, anything, anybody, anyone, everything, no one, nothing, etc. เช่น There is nothing that I can do for you. ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้.
7. Reflexive Pronoun สรรพนามสะท้อนหรือเน้น ได้แก่บุรุษสรรพนามที่ 5 นั่นเอง อันได้แก่ myself, yourself, ……. Themselves. เวลาใช้มีวิธีใช้ 4 อย่างคือ :-
1. เรียงไว้หลังประธาน เมื่อต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นด้วยตนเอง เช่น I myself study English. ผมเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง.
2. เรียงไว้หลังกริยา เมื่อบอกว่าผลการกระทำนั้นเกิดจากผู้กระทำเองเช่น I will punish myself if I do mistakes ผมจะลงโทษตัวเอง หากผมทำผิด.
3. เรียงไว้หลังกรรม เมื่อต้องการเน้นกรรมนั้นเช่น I spoke to the President himself . ผมได้พูดกับตัวท่านประธานาธิบดีเอง.
4. เรียงไว้หลังบุรพบท by วางไว้สุดประโยคทุกครั้งไป เมื่อต้องการแสดงว่าประธานผู้นั้นกระทำกิจนั้นโดยลำพังคนเดียว เช่น Pranee makes her dress by herself.
8. Distributive Pronoun วิภาคสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการแบ่งหรือจำแนกออกเป็นครึ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง, หรือตัวหนึ่ง วิภาคสรรพนามที่นิยมใช้กันมากคือ
each แต่ละ, either คนใดคนหนึ่ง, neither ไม่ใช่ทั้งสอง หรือไม่ใช่ทั้งสอง เช่น
There are ten boy each has one hundred bath. มีเด็กอยู่ 10 คน แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ 100 บาท.
* ข้อสังเกต วิภาคสรรพนามถ้าใช้ลอยๆเป็นสรรพนาม แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังจะเป็นคุณศัพท์
Article
Article คือ คำที่ใช้นำหน้านาม คือคำนามในภาษาอังกฤษทุกตัว เวลาพูด–เขียนจะต้องมี Article นำหน้าทั้งสิ้น(ยกเว้นบางตัวที่จะกล่าวต่อไป)
Article มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. Indefinite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายทั่วไป อันได้แก่ A , An.
2. Definite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายชี้เฉพาะ ได้แก่ The .
หลักทั่วไปของการใช้ A
คือเมื่อ A นำหน้านามใดนามนั้นต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ อันได้แก่
1. เป็นนามเอกพจน์
2. เป็นนามนับได้
3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ
4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป เช่น a book, a man, a bus, a pen
* ข้อยกเว้น ห้ามใช้ A นำหน้า คือนามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แต่อ่านออกเสียงสระที่อยู่ถัดไป นามตัวนั้นให้ใช้ AN นำหน้าแทน (มี H เท่านั้น)
หลักทั่วไปของการใช้ AN
คือเมื่อ AN นำหน้านามใด นามนั้นจะต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ คือ
1. เป็นนามเอกพจน์
2. เป็นนามนับได้
3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ A , E , I , O , U.
4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป
* ข้อยกเว้น ห้ามใช้ AN นำหน้าคือ นามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยสระ แต่อ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะ”ย” นามตัวนั้นให้ใช้ A นำหน้าแทน (มี U และ E เท่านั้น).
นามต่อไปนี้ห้ามใช้ทั้ง A และ AN นำหน้าเด็ดขาด
1. นามที่นับไม่ได้ทุกชนิด
2. นามพหูพจน์ทุกชนิด
หลักทั่วไปของการใช้ THE
คำว่า The แปลว่า นั้น,นี้ คือเป็นการชี้เฉพาะถึงสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่ง The ใช้นำหน้านามได้ทุกชนิด ทุกประเภท นั่นคือ
1. เป็นนามเอกพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้
2. เป็นนามพหูพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้
3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็ใช้ The นำหน้าได้
4. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ ก็ใช้ The นำหน้าได้ (แต่ให้อ่านว่า ดิ )
5. เป็นนามที่นับได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้
6. เป็นนามที่นับไม่ได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้
7. แต่นามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะต้องมีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่น.
The water in the bottle is very poor. น้ำที่อยู่ในขวดนี้เย็นมาก.
นามต่อไปนี้ห้ามใช้ the นำหน้า
1. นามที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ
2. นามที่ระบุไว้ในหัวข้อว่าห้ามใช้ the นำหน้า (ซึ่งมีข้อห้ามมากมายแต่จะไม่กล่าวถึง เช่น อาการนาม,ชื่อเฉพาะของคน,ชื่อถนน ,ชื่อวัน, เดือน, ปี, ลัทธิ,ศาสนา เป็นต้นซึ่ง ห้ามใช้ ทั้ง a, an,และthe นำหน้า)
* อนึ่งแม้ลักษณะของประโยคจะไม่มีคำบ่งชี้เฉพาะเอาไว้ แต่ถ้านามนั้นเป็นที่รู้จักกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ก็ให้ใช้ the นำหน้าได้ เช่น
When you go out, don’t forget to close a door. เมื่อคุณออกไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานไหนก็ได้)นะ.
When you go out, don’t forget to close the door. เมื่อคุณไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานนั้น)นะ.
การใช้ a, an, the แบบระคน
– ถ้านามนั้นไม่มีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมาขยายอยู่ข้างหลังให้ใช้ a, an ทันที เช่น
A boy like to see monkey. เด็กชอบดูลิง.
– ถ้านามนั้นมีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมา ขยายอยู่ข้างหลัง ให้ใช้ the ทันที เช่น
The man in this room is our teacher. ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้เป็นครูของเรา.
* มีหลักพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ นามใดก็ตามที่เป็นเอกพจน์นับได้ ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เติม a , an ทันที แต่ถ้านามนั้นถูกยกขึ้นมากล่าวอีกเป็นครั้งที่ 2 ให้เติม the ทันทีเช่น
A black cat, the cat is fat. แมวตัวหนึ่งสีดำ แมวตัวนั้นอ้วน
* อนึ่งยังมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับคำนามบางตัวว่านามตัวใดใช้เฉพาะ a, an และนามตัวใดใช้เฉพาะ the ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง.