ขรัวอินโข่ง (หาภาพไม่ได้จริงๆ) จิตรกรผู้นำเอาเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในงานจิตรกรรมไทยเป็นคนแรกของเมืองไทยก็ว่าได้
ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด) ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ
ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล
นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า
ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนี้
อ.ศิลป์ พีระศรี คนนี้เป็นคนวางรากฐานการเรียนสาขาศิลปะในไทย เป็นบิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยก็ว่าได้ ท่านทุ่มเททั้งชีวิตให้กับวงการศิลปะของเมืองไทย
ท่านเคยกล่าวว่าท่านเป็นคนไทยแต่ท่านเกิดผิดที่
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี – Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากรจนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินไทยที่น่าจะบอกนิยามของคำว่าบ้ากับอัจฉริยะบางทีก็มีแค่เส้นบางๆ กั้นไว้ได้ดีที่สุด ถือเป็นศิลปินเอกของเมืองไทยในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงาน
สถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องขึ้นเป็น
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554
ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินนักปรัชญา
ที่มีภาษาปรัชญาสูงเกินกว่าที่ประชาชนคนธรรมดาจะเข้าใจ เรียกว่าท่านพูดอะไรออกมาต้องกลับไปคิดอีกรอบว่าท่านพูดว่าอะไร55
(27 กันยายน พ.ศ. 2482 — 3 กันยายน พ.ศ. 2557) เป็นจิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544
อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี จิตกรที่ทรงคุณค่าของประเทศไทย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ท่านได้สร้างผลงานที่ประเมินค่าไม่ได้กว่าหลายร้อยชิ้น โดยผลงานเหล่านี้ได้นำมาจัดแสดงตามงานต่าง ๆ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว รวมถึงเยาวชน์ไทยมากมาย งานที่อาจารย์ถวัลย์สร้างมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร แถมยังเป็นแรงบันดาลใจของหลาย ๆ คน มีคำลือว่าอาจารย์เฉลิมชัย ก็ได้ท่านเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจคนหนึ่ง น่าเสียดายที่อาจารย์ถวัยล์ได้ลาจากพวกเราไปอย่างสงบเมื่อไม่นานมานี้ เหลือเพียงแต่ผลงานที่ฝากชื่อไว้กับลูกหลานไปอีกหลายร้อย หลายพันปี วันนี้ราจะพาไปทำความรู้จักกับอาจารย์ให้มากขึ้น รวมถึงพาไปดูผลงานที่ราคาแพงที่สุดของอาจารย์กัน
ผลงานของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ไม่สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้ ภาพของท่านและรูปทรงคุณค่าอย่างมาก ส่วนใหญ่คนที่ได้ครอบครองผลงานของท่านมักจะไม่ขายต่อให้ใคร ไม่ว่าจะให้ราคาสูงเท่าไหร่ก็ตาม ถึงอย่างไรเราก็อาจเคยได้ยินข่าวว่ามันถูกขายตามตลาดมืดมาแล้ว ภาพวาดบางรูปเคยถูกซื้อขายที่ราคาสูงสุด 50 – 100 ล้านบาท ผลงานของอาจารย์เป็นที่ชื่นชมไปทั่ว ทำให้มีต่างชาติจ้างไปเขียนภาพบนปราสาท Gottorf Castle ในประเทศเยอรมนี มีเรื่องเล่ากันว่าท่านอาจารย์ได้เช็คเปล่า ๆ มา 1 ใบ โดยบนเช็คไม่ได้ระบุตัวเลขเอาไว้ หมายความว่าจะใส่จำนวนเงินเท่าไหร่ก็ได้ แต่เสียดายที่ไม่มีใครรู้ว่าจริง หรือไม่ ถ้าจริงอาจารย์ใส่ตัวเลขเท่าใดลงไปกันแน่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ
ใครไปวัดหลวงพ่อโสธรลองเดินดูภาพบนพื้นวิหาร กับจักรวาลบนเพดานนะ ฝีมืออาจารย์ท่านนี้เลย (28 ตุลาคม พ.ศ. 2477 – 19 กันยายน พ.ศ. 2557) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ. 2541, อดีคคณบดี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ศิลปินชั้นเยี่ยมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ
อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤษ
ว่ากันว่าไม่มีใครวาดภาพนางละครได้หวานละมุนเท่าท่านอีกแล้ว
อ.เฉลิม นาคีรักษ์
ลูกศิษย์คนเก่งของ อ.ศิลป์ พีระศรี ที่สืบทอดวิชาความรู้ถ่ายทอดให้ศิษย์รุ่นหลัง
ศาสตราจารย์กมล ทัศนาญชลี
ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) เกิดเมื่อ 17 มกราคม 2487 ถือเป็นศิลปินดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต
อ.ชลูด นิ่มเสมอ
ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างงานหลายประเภท จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ประกาศนียบัตร Diploma of Fine Arts จากสถาบันศิลปะ Accademia di Belle Arti แห่งกรุงโรม อิตาลี โดยในสมัยเรียนที่ศิลปากรนับได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี
ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ ประติมากรรม “โลกุตระ” ด้านหน้าทางเข้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ประเทือง เอมเจริญ
“ประเทือง เอมเจริญ” ศิลปินแห่งชาติ สาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบของตนเอง จนเกิดงานศิลปะอันล้ำค่าที่มีคุณค่ายิ่ง
นายประเทือง เอมเจริญ ปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินที่ศึกษาศิลปะด้วยตนเองอย่างมุ่งมั่น อดทน ด้วยการศึกษาค้นคว้างานทางศิลปะอย่างหนัก ศึกษาปรัชญาชีวิตทั้งศิลปะของอินเดีย จีนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บรรลุศิลปะด้วยตนเอง ท่านได้รับปริญญากิตติมศักดิ์มากมายเลยทีเดียว
CR : http://wikipedia.org/wiki
www.cameraeyes.net
www.chiangrai-tour.com
m.touronthai.com
www.clipmass.com
และ https://blog.somjai.co.th/