มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้นใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ
แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา คือ
1.) ฟิสิกส์ ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ
2.) เคมี ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ
การ ถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน คือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ ไปปรากฏบนฉากรองรับ และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร
อริสโตเติล นัก วิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีใจความว่า.. “ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ” ต่อมาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ “กล้องออบคิวรา” ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายถึง “ห้องมืด” หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า “กล้องรูเข็ม” นั่นเอง
วิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Photography” มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก โดย “Phos = แสงสว่าง” และ “Graphein = เขียน” เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง “เขียนด้วยแสงสว่าง แต่ในปัจจุบันนี้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิด ขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง และ ครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป การล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพ และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวโดยสรุป วิชาการถ่ายรูปก็คือ “ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย” นั่นเอง
สำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน นี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น และยังมีภาพถ่ายสถานที่ ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย
ตั้งแต่ที่มีการคิดค้นการถ่ายภาพ จนปรากฏภาพถ่ายแรกของโลกที่เรารู้จักและมีหลักฐานมาถึงวันนี้ในปี ค.ศ.1825 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาอย่างช้าๆ
เริ่มจากกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปตัวแรกของโลก คือ Daguerrotype ในปี ค.ศ. 1839 จำหน่ายในราคาประมาณ 50 ดอลล่าร์สหรัฐ กระทั่งปี 1900 หรือประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โกดักก็เปิดตัวกล้องถ่ายภาพรุ่น Brownie สามารถโหลดฟิล์มได้ และมีช่องมองภาพเป็นอุปกรณ์เสริม ใส่ไว้ทางด้านบน ราคากล้องรุ่นนี้เพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็เป็นกล้องที่หายากมากในปัจจุบัน การถ่ายภาพระบบดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นเมื่อมีการคิดค้น CCD สำหรับใช้บันทึกในกล้องวิดีโอเมื่อปี ค.ศ. 1970 ถัดมาอีกเพียงปีเดียว ก็มีการส่งข้อความทางอีเมล์เป็นครั้งแรกของโลก โดย Ray Tomlinsn
ในปี 1974 ก็มีการใช้เทคโนโลยี CCD ร่วมกับกล้องเทเลสโคบขนาด 8 นิ้ว บันทึกภาพดวงจันทร์ด้วยระบบดิจิตอลเป็นภาพแรกที่ความละเอียด 100 x 100 พิกเซล
ปี 1976 Canon ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ตัวแรกของโลกที่มีไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น AE-1 สำหรับการประมวลผลและควบคุมการทำงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบในวันนี้ อีกห้าปีต่อมา Pentax ก็ผลิตกล้องรุ่น ME-F ที่ใช้เลนส์ออโต้โฟกัสในกล้อง SLR เป็นตัวแรกของโลก
ปี 1981 Sony เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ถ่ายภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้ฟิล์ม แต่ยังไม่ใช่กล้องดิจิตอล เป็นเพียงกล้องโทรทัศน์หรือกล้องภาพนิ่งวิดีโอ จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 2 นิ้ว ใช้ชื่อว่า Sony Mavica (Megnetic Video Camera) บันทึกด้วย CCD ให้ภาพที่มีความละเอียด 570 x 490 พิกเซล (ขนาดของชิพคือ 10 x 12 มม.) ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200 ปี
ปี 1986 หรืออีกสองปีต่อมา Canon ก็ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอออกจำหน่ายให้กับนักถ่ายภาพมืออาชีพเป็นครั้งแรก ในรุ่น RC-701 โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ช่างภาพข่าวเป็นหลัก ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น โดยชื่อรุ่น RC มาจากคำว่า Realtime Camera หรือกล้องที่ได้ภาพทันทีนั่นเอง มีเลนส์ซูมขนาด 11-66 มม. f/1.2 ราคา 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ถ้ารวมอุปกรณ์รับส่งภาพทางสายโทรศัพท์ครบชุดจะมีราคา 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ขนาดของ CCD คือ 6.6 x 8.8 มม. ความละเอียด 187,200 พิกเซล ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 1-10 เฟรม/วินาที ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และกล้องรุ่นนี้ได้ถูกช่างภาพข่าว Tom Dillon ของหนังสือพิมพ์ USA Today ถ่ายภาพและตีพิมพ์เป็นภาพข่าวสีภาพแรกที่บันทึกด้วยกล้องภาพนิ่งวิดีโอ โดยบรรณาธิการภาพข่าวได้เห็นภาพดังกล่าวหลังจากที่ช่างภาพบันทึกไปแล้วในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น ทางสมาคมนักข่าวของอเมริกา เล็งเห็นประโยชน์ของภาพดิจิตอลกับงานข่าว จึงวางแผนที่จะเปลี่ยนการส่งภาพข่าวจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอลเพราะช่วยประหยัดเวลาในการส่งภาพได้ถึง 90% ทีเดียว
ปี 1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆ อีกมากมาย กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้านพิกเซล เช่น Olympus Camedia C-1400L ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L) คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210 ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล
ปี 1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520 ใช้บอดี้ Canon ES1N ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB
ปี 1999 ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นมาก ในแต่ละเดือนมีกล้องรุ่นใหม่ๆ หลายสิบรุ่น ส่วนใหญ่มีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล เพียงพอกับการนำไปอัดขยายภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว ให้คุณภาพดีพอสมควร แม้ว่าจะยังห่างไกลกับการใช้ฟิล์ม แต่ก็พอยอมรับได้ และ Olympus ก็เปิดตัวกล้องตระกูล C เป็นครั้งแรกในรุ่น C-2020
ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน กล้องดิจิตอลมีการพัฒนาอย่างมาก ในแต่ละปีมีกล้องรุ่นใหม่ๆ จากหลายสิบยี่ห้อนับร้อยรุ่น ตั้งแต่กล้องคอมแพคตัวเล็กๆ จนถึงกล้องรุ่นใหญ่สำหรับมืออาชีพ ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจาก 2, 3, 4 เป็น 5 ล้านพิกเซล กล้องคอมแพคบางรุ่นในวันนี้ เช่น Sony DSC-F828 มีความละเอียดสูงถึง 8 ล้านพิกเซล ส่วนดิจิตอล SLR ก็ขึ้นไปถึง 14 ล้านพิกเซลใน Kodak DSC-Pro14n กล้องรูปทรงแปลกๆ ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมามากมาย บางรุ่นบางเฉียบเหมือนบัตรเครดิต บางรุ่นหน้าตาแทบไม่ต่างกับกล้องใช้ฟิล์ม แต่ที่น่าสนใจมากคือในขณะที่คุณภาพดีมากขึ้น ราคากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกล้องดิจิตอล SLR ระดับ 6 ล้านพิกเซล จากราคานับล้านบาทเมื่อสี่ปีก่อน เหลือไม่ถึงห้าหมื่นบาทในปีนี้ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ์ด CF 128 MB ที่มีราคาประมาณ 20,000 บาทในปี 2000 ถึงปีนี้ลดเหลือเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น ส่งผลให้ตลาดกล้องดิจิตอลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเดิมในปี 1996 มียอดขายกล้องดิจิตอลทั่วโลกประมาณ 1 ล้านตัว แต่ในปี 2002 ที่ผ่านมา มียอดขายมากกว่า 30 ล้านตัว ส่วนในเมืองไทยของเราก็มียอดขายนับแสนตัวและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ความเป็นมาก็มีเท่านี้ การพัฒนาการของกล้องรวดเร็วจริงๆ เลย เห็นด้วยเหมือนกันไหมคะ แล้วอนาคตเราจะเห็นกล้องสิ่งที่เก็บบันทึกความทรงจำของเราถูกพัฒนาไปถึงไหนหน๋อ พอได้รู้ว่าถึงประวัติความเป็นมาของกล้อง อดคิดถึงเจ้ากล้องตัวแรกในชีวิตที่ซื้อด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง EOS 300 ตอนนี้นอนแน่นิ่งไม่ได้ทำงานเพราะเป็นกล้องซิงเกิลเลนส์
ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ
ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูปกล้องถ่ายรูปที่นิยมมากในปัจจุบัน แม้จะมีความสามารถ และคุณลักษณะแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบ คล้ายคลึงกันคือ
1. ตัวกล้อง (Body) ทำหน้าที่เป็นห้องมืด ป้องกันแสงภายนอกเข้าไปถูกฟิล์มที่บรรจุอยู่ภายในและเป็นที่ยึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการถ่ายรูป
2. เลนส์ (Lens) ทำหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุ ส่งไปยังฟิล์มที่บรรจุอยู่ในตัวกล้องฟิล์มจะบึนทึกภาพเอาไว้ กล้องบางชนิดสามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex)หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้อง ซึ่งมีขนาด ความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น50 มม . 35 มม . 105 มม . เป็นต้น
3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ด้านหลังของตัวกล้องเป็นจอมองภาพ เพื่อช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป
4. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง (Exposure Time) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไวของชัดเตอร์ (Shutter Speed)
5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphram) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนแผ่นฟิล์ม มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หลาย ๆ แผ่นซ้อนเหลี่ยมกันอยู่
6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการปริมาณแสงเข้าไปถูกฟิล์มน้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกันนี้มีตัวเลข
หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ ปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่างๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด-ปิด ม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม
ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ
ส่วนประกอบและการทำงานของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
1. ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่านชั้นของเยื่อที่เรียกว่าคอร์เนีย (Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีระบบกลไก เปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังแากหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตาหรือพิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่างๆ กันโดยอัตโนมัติ เช่น ในที่ๆ มีแสงสว่างมากรูม่านตามจะปรับให้มีขนาดเล้ก ส่วนในที่ๆ มีแสงสลัวๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น
2. ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสง ได้แก่ ฟิล์มส่วนในดวงตา ได้แก่ จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา (Retina) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานประสาท ประกอบด้วยเส้นประสาทไวต่อแสงและเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว