นดับ 1 นอร์เวย์ 49% ของรถในประเทศ
รัฐบาลของนอร์เวย์มีเป้าหมายและนโยบายชัดเจนคือต้องการเปลี่ยนแปลงให้รถที่ใช้ภายในประเทศมาเป็นรถพลังงานไฟฟ้า (นับรวมทั้งรถ EV และรถ Plug-in Hybrid) ให้ได้ทั้งหมดภายในปี 2025 ซึ่งตัวเลขจากเว็บไซต์ statista.com ระบุชัดเจนว่าในปี 2018 ที่ผ่านมา มีรถยนต์พลังไฟฟ้าวิ่งบนท้องถนนถึง 49 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 10 เปอร์เซ็นต์ โดยประเด็นสำคัญคือรัฐบาลนอร์เวย์ขึ้นภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราสูงสุด ส่งผลให้แนวโน้มการใช้รถ EV เพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว
อันดับ 2 ไอซ์แลนด์ 19% ของรถในประเทศ
ประเทศที่มีประชากรไม่ถึง 4 แสนคนอย่างไอซ์แลนด์ มีตัวเลขขายรถยนต์พลังไฟฟ้าในถึง 19 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นรถประเภท Plug-in Hybrid (รถที่ขับเคลื่อนได้ทั้งพลังไฟฟ้า และพลังเชื้อเพลิง) โดยในรอบปีที่ผ่านมารถพลังงานทางเลือกทำยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 157 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการขึ้นภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและเบนซิน
อันดับ 3 สวีเดน 8.2% ของรถในประเทศ
สวีเดน อีกหนึ่งประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เป็นประเทศที่ผู้คนสนใจและซื้อรถพลังไฟฟ้ามาใช้งานคิดเป็นสัดส่วนมากเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยในปีที่ผ่านมารถพลังงานไฟฟ้าทำยอดขายได้ถึง 50,304 คัน และมีถึง 12,223 คัน ที่เป็นรถไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ (รถ EV) ซึ่งคิดเป็น 8.2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนรถยนต์ในประเทศของพวกเขา
อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ 6.5% ของรถในประเทศ
นอกเหนือจาก 3 ประเทศจากกลุ่มนอร์ดิก เนเธอร์แลนด์ มีตัวเลขการขายรถพลังไฟฟ้าดีขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ปี 2016 โดยในปีที่ผ่านมา มียอดขายรถพลังงานไฟฟ้า สูงถึง 121,542 คัน คิดเป็น 6 เปอร์เซ็นต์ของรถในประเทศ โดยรถประเภท EV ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในแก่ เทสล่า Model X และ นิสสัน Leaf นอกจากนี้ยังมีสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศมากถึง 7,783 แห่ง และคาดกันว่าเมื่อสิ้นสุดเดือนธันวาคมปี 2019 ประเทศแห่งกังหันลม จะมีรถพลังไฟฟ้าวิ่งในประเทศเกิน 7 เปอร์เซ็นต์ของรถทั้งหมด
อันดับ 5 อันดอร์ร่า 5.6% ของรถในประเทศ
ประเทศเล็กๆ ในยุโรปอย่างอันดอร์ร่า ที่มีประชากรไม่ถึง 8 หมื่นคน ทว่าผู้คนกลับให้ความสนใจและหันมาซื้อรถพลังไฟฟ้าสูงถึง 5.6 เปอร์เซ็นต์ ของรถทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากที่สุดอันดับ 5 ของโลก โดยกุญแจสำคัญที่ทำให้คนในอันดอร์ร่าหันมาใช้รถพลังไฟฟ้าโดยเฉพาะรถ EV คือการที่รัฐบาลให้สิทธิ์พิเศษของคนที่เปลี่ยนมาใช้รถ EV อาทิ ส่วนลดพิเศษเมื่อซื้อรถ สิทธิ์การขับในช่องเดินรถสาธารณะ (Bus Lane) สิทธิ์ขับผ่านอุโมงค์ d-Envalira ซึ่งเป็นทางเชื่อมสู่ประเทศฝรั่งเศสฟรี รวมถึงส่วนลดพิเศษค่าไฟในการชาร์จแบตเตอรี่
ปัจจุบันทั่วโลกมีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพียงไม่ถึง 2% แต่มีการเติบโตที่สูงโดยคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนสูงถึง 30-50% โดยเราได้วิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการผลิตรถ EV โดยหากมาดู Supply chain หลักที่สำคัญมีทั้งหมด 5 ส่วน ดังนี้
1. Raw Materials – วัตถุดิบที่สำคัญในการอุตสาหกรรม EV คือ แร่ลิเธียม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของแบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยคาดว่าในปี 2025 ปริมาณกว่า 80% ของแร่ลิเธียม จะถูกใช้ในอุตสาหกรรม EV อย่างไรก็ตามแร่ลิเธียมยังมีอยู่จำนวนมากในโลก จึงทำให้ราคาของแร่นี้เพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
2. Battery Lithium – แบตเตอร์รี่รถ EV นั้นราคาลดลงจาก 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดลงมาเหลือ 170 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และมีแนวโน้มลดลงอีกในอนาคตจากการที่เทคโนโลยีในการผลิตที่ดีขึ้นและราคาแร่ลิเธียมลดลง แต่ความต้องการใช้แบตเตอร์รี่นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเป็นจุดที่ได้เปรียบในตลาด ทำให้ Market size มีขนาดเติบโตขึ้น อีกทั้งผู้ผลิตมีสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ ทำให้ธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตได้สูงในอนาคต
3. EV Car Manufacturers – การผลิตรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีนำชิ้นส่วนหรืออะไหล่จากโรงงานผลิตรถยนต์แบบเดิมมาใช้ได้เพียง 23% เท่านั้น เพราะการขับเคลื่อนด้วยน้ำมันและไฟฟ้านั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นจึงอาจเห็นการเข้ามาแข่งขันของผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาได้ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ Know how เดิมเหมือนแต่ก่อน แต่สำหรับผู้ผลิตเดิมก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของ Brands และช่องทางการขายและ Services ที่สั่งสมมานานและเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้าเดิม
4. EV Charging Station – หากเป็นรถยนต์ใช้น้ำมันก็ต้องเข้าปั๊มน้ำมัน แต่สำหรับรถไฟฟ้านั้นสามารถเติมพลังงานได้ทั้งสถานีชารจ์รถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะหรือในบ้านและที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รถสะดวกมากขึ้น โดยปัจจุบันทั่วโลกมีจำนวนของสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ถึง 600,000 จุด และยังไม่ใช่สถานีแบบ Fast Charge ทำให้ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการชาร์จนานถึง 5 ชั่วโมง ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะมี Demand รองรับ
5. Battery Recycling – สำหรับแบตเตอร์รี่ที่ใช้แล้วนั้นยังคงมีกำลังไฟมากถึง 70% ซึ่งเราสามารถนำไปรีไซเคิลใช้ได้อีกครั้ง เช่น ในประเทศญี่ปุ่น Toyota จะนำแบตเตอร์รี่ของ Prius Hybrid ที่หมดอายุแล้วมาใช้เก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ของร้าน 7-11 เป็นต้น โดยปัจจุบันประเทศจีนสามารถครองตลาดการรีไซเคิลแบตเตอร์รี่มาใช้ใหม่มากที่สุดในโลก
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.sanook.com/auto/72805/ และ http://aec10news.com