เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา ต้องถือเป็นวันที่ บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่องค์การอวกาศยุโรป ( European Space Agency ) หรือ ESA (อีซา) ส่งเสียงเฮดังลั่น ด้วยความปลาบปลื้มดีใจกันอย่างที่สุด เมื่อยานสำรวจฟีเล ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ในการลงจอดบนดาวหาง 67 พี/เซอร์ยูมอฟ เจราซีเมนโก เมื่อเวลา 16.03 น. ของวันที่ 12 พ.ย. ตามเวลามาตรฐานสากล หรือตรงกับ 23.03 น. ของวันเดียวกัน ตามเวลาในประเทศไทย
นายอาเธอร์ ซี.คลาค ( Arthur C.Ciarke ) เมื่อปี พ.ศ. 2488 ได้เสนอความคิดที่จะใช้สถานีดาวเทียมซึ่งลอยอยู่กับที่ในอวกาศ เหนือตำแหน่งเส้น
ใน ปี พ.ศ. 2505 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมชื่อว่า เทลสตาร์ 1 (Telstar 1) ดาวเทียมดวงนี้ถือว่าเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้ในการสื่อสารอย่างแท้จริง และต่อมา ปี 2508 ได้มีการส่งดาวเทียมมีชื่อว่า เออลี่เบิร์ด (Early Bird) เป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ดวงแรก มีช่องสัญญาณเกี่ยวกับโทรทัศน์, เทเล็กซ์, ข่าวสารต่างๆ, รวมทั้งรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดข้ามทวีป
เหตุการณ์นี้ ต้องถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ที่นักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ สามารถส่งยานสำรวจไปลงบนดาวหางได้สำเร็จ หลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ในโครงการนี้ ที่ อีซา ได้เฝ้ารอคอยและติดตาม ด้วยความใจจดใจจ่อ นับตั้งแต่มีการส่งยานสำรวจอวกาศฟีเล ขึ้นไปกับ ‘ยานแม่’ โรเซ็ตต้าเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ มายาวนานนับ 10 ปี
ลองจินตนาการ นึกภาพความสำเร็จที่แสนจะยิ่งใหญ่ครั้งนี้ดูว่า ยานอวกาศโรเซ็ตต้าลำนี้ ต้องเดินทางรอนแรมอันยาวไกลไปในห้วงอวกาศที่เวิ้งว้าง ว่างเปล่า และแสนจะมืดมิด เพื่อติดตามไล่ล่าดาวหาง 67 พี เป็นระยะทางไกลถึง 6,400 ล้านไมล์ ก่อนจะสามารถเข้าสู่วงโคจรของดาวหางนี้เมื่อช่วงต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
ยานอวกาศโรเซ็ตตาปล่อยยานสำรวจ ฟีเล
‘ลอแรงซ์ โอรูค’ วิศวกรด้านระบบการลงจอดของยานฟีเล ประจำอีซา กล่าวกับผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นถึงความสำเร็จในการที่ยานฟีเลสามารถลงจอดบนดาวหาง 67 พีได้อย่างนุ่มนวล ไม่ได้กระแทกรุนแรงจนทำให้ตัวยานและอุปกรณ์ได้รับความเสียหาย ว่า เป็นเพราะ ยานแม่ โรเซ็ตต้าได้เข้าสู่วงโคจรของดาวหาง 67 พี ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จนทำให้ยานสำรวจ ฟีเล ไม่มีการพุ่งเข้าใส่ดาวหาง จึงสามารถลงจอดบนดาวหางได้อย่างอิสระ ในวิถีโคจรที่ถูกต้อง
ที่น่าทึ่งคือ ยานสำรวจฟีเล นั้น มีขนาดพอๆ กับเครื่องซักผ้าเครื่องหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้ใหญ่โตอะไรเลย โดยมีน้ำหนักเพียงแค่ราว 220 ปอนด์ ส่วนดาวหาง 67 พี ก็มีเส้นผ่าศูนย์กลาง เพียงแค่ 4 กิโลเมตรเท่านั้น
‘ ลงจอดแล้ว ที่อยู่ใหม่ของฉัน คือ ดาวหาง 67P !’ ทวีตข้อความแรกที่ส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการของอีซา หลังจากมีการ
ยืนยัน ว่า ยานสำรวจฟีเล ลงจอดบนดาวหาง 67 พี จากนั้นได้มีการทวีตข้อความตามมาครั้งที่สอง ‘ฉันอยู่บนพื้นผิวของดาวหาง แต่ฉมวกของฉัน ไม่ถูกยิงออกไป’ ก่อนต่อมา ทางอีซาจะทราบว่า ยานฟีเล ต้องมีการยิงฉมวกขันสกรู ยึดพื้นผิวดาวหางเป็นครั้งที่ 3 จึงจะสำเร็จ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงบนดาวหาง 67 พีน้อยมาก
จากนั้น ยานสำรวจฟีเล ได้มีการส่งสัญญาณกลับมายังศูนย์ปฏิบัติการบนโลก พร้อมกับส่งภาพถ่ายแรกเพื่อเป็นการยืนยันว่ายานฟีเล ลงจอดบนดาวหาง 67 พีได้อย่างปลอดภัย
ฌอง ฌาคส์ ดอร์แดง ผู้อำนวยการใหญ่ของอีซาแสดงความดีใจ ผ่านเว็บไซต์ของอีซาว่าความใฝ่ฝันในภารกิจโรเซ็ตตา ได้ถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์แล้ว ไม่ใช่เพียงแต่ในฐานะเป็นการส่งยานเข้าสู่วงโคจรของดาวหางเท่านั้น แต่ยังเป็นครั้งแรกที่สามารถส่งยานสำรวจลงไปบนพื้นผิวของดาวหางได้ด้วย
ที่สำคัญ ตอนนี้ ไม่ใช่เพียงแต่บรรดาทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานอยู่ที่อีซาเท่านั้น ที่กำลังรอคอยด้วยความตื่นเต้น แต่ชาวโลกทั้งหลายก็อยากจะรู้ว่า ยานสำรวจฟีเล จะส่งข้อมูลอะไรบ้างที่พบบนดาวหาง 67 พี กลับมายังโลก!
‘โรเซ็ตต้ากำลังพยายามหาคำตอบของคำถามใหญ่มากๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของระบบสุริยจักรวาลของเรา’ แมตต์ เทย์เลอร์ นักวิทยาศาสตร์ โครงการโรเซ็ตต้า ของอีซา เขียนบทความลงในเว็บไซต์ ‘สภาพแวดล้อมของดาวหาง 67 พี ที่ยังบริสุทธิ์เหมือนกับทารก วัยเยาว์ ของดาวหางดวงนี้คืออะไร?’ หรือ คำถามที่ว่า ดาวหางทั้งหลายมีบทบาทอย่างไรบ้างในวิวัฒนาการนี้? หรือ ดาวหางที่มีมากมายทำงานกันอย่างไร?
ยานสำรวจฟีเล ลอยอยู่ในห้วงอวกาศก่อนลงจอดบนดาวหาง 67 พี
ด้าน อแลสแตร์ เรย์โนลด์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ แนวไซไฟ กล่าวถึงความสำเร็จของการส่งยานฟีเลไปลงจอดบนดาวหาง 67 พี ว่า นี่คือนิยายวิทยาศาสตร์ที่กลายเป็นเรื่องจริง.. เพียงแต่ขณะนี้ โครงการโรเซ็ตต้าก็ยังกำลังขยับเข้าใกล้คำตอบของคำถามในนิยายวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ‘พวกเราอยู่กันเพียงลำพังในห้วงจักรวาลนี้หรือไม่’
สำหรับวัตถุประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์อีซา ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์จากหลายหน่วยงาน รวมทั้งจากองค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐฯ(นาซา)มาร่วมมือด้วยนั้น ก็คือ ความมุ่งหวังที่ต้องการจะรู้มากขึ้นเกี่ยวกับองค์ประกอบของดาวหางทั้งหลาย รวมทั้งดาวหางเหล่านี้ มีปฏิกริยาตอบสนองต่อพายุสุริยะ รวมทั้งอนุภาคพลังงานสูงที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์สู่ห้วงอวกาศ ได้อย่างไร?
เส้นทางโคจรของยานโรเซ็ตตาในการไล่ล่าติดตามดาวหาง 67 พี
โดยขณะนี้ ดาวหาง 67 พี อยู่ห่างจากโลกของเรา 500 ล้านกิโลเมตร และจากภาพถ่ายที่ ยานโรเซ็ตต้าส่งกลับมายังโลกในภารกิจตามไล่ล่าดาวหางดวงนี้ ซึ่ง มีการโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่นักวิทยาศาสตร์มาก
ส่วนยานสำรวจฟีเลนั้น ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆในการถ่ายภาพ และเก็บตัวอย่างของดินหรือหินบนพื้นผิวดาวหาง 67 พี ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อปี 2512 และคาดว่ามันก่อกำเนิดขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกับระบบสุริยะของเรา
‘เท่าที่เคยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์กันมา ยังไม่มียานอวกาศลำไหนให้ข้อมูลได้มากเท่ากับยานโรเซ็ตต้าเลย อีกทั้ง ยังไม่มียานสำรวจลำใด สามารถลงจอดบนดาวหางได้อย่างที่ยานฟีเลเพิ่งจะทำสำเร็จเช่นกัน’ เอลเลน สโตฟาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์นาซา กล่าวด้วยความประทับใจกับความสำเร็จที่แสนจะยิ่งใหญ่ในภารกิจครั้งนี้ของยานฟีเล.
ดาวเทียมสามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ เช่น
- ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารแบบจุดต่อจุด เช่น palapa thaicom
- ดาวเทียมสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น tdrs
- ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ เช่น inmasat
- ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรศัพท์ เช่น astra
- ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพย์ยากรธรรมชาติ เช่น landsat
- ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่น meteor explorer
- ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น gms noaa 6-9
- ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น spas skylab
- ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น jas-1 jas-2 ao-40
- ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น navstar
- ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และ อากาศยาน เช่น transit cosmos
ขอบคุณข้อมูล https://sites.google.com/site/dawtheiympheuxkarsuxsar/home