การให้ความสำคัญกับชีวิตด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงานหนักเกินไป สุขภาพที่ถดถอย
วันนี้เรามีวิธีสร้างความสมดุลของชีวิตและการทำงานมาฝากกันครับ
1. รู้ลำดับความสำคัญในชีวิต
เพื่อที่จะใช้เป็นหลักเมื่อต้องตัดสินใจว่าควรจะทำอะไรก่อนหลัง เช่น บางคนอาจให้ความสำคัญกับงานมากกว่าครอบครัว ในขณะที่บางคนให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่างาน
2. กำหนดเป้าหมายในชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน หรือด้านชีวิตส่วนตัวเพื่อไม่ให้เราเผลอใช้ชีวิตอย่างเลื่อนลอยจนเกินไป รวมทั้งวางแผนดูว่า เรามีขั้นตอนอย่างไรที่จะทำให้ถึงเป้าหมาย เช่น ตั้งใจทำธุรกิจขายของเล่นออนไลน์ โดยจะทำเว็บไซต์ และมีสินค้าลงขายชิ้นแรกให้ได้ภายใน 3 เดือน หรือตั้งใจว่าจะลดน้ำหนักให้ได้เดือนละ 1 กิโลกรัมเป็นระยะเวลา 6 เดือนเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ลองอ่านบทความ การสร้างรายได้ทางอ้อมในยุคดิจิทัล เพิ่มเติมได้ครับ
3. ในด้านชีวิตการทำงาน ควรพูดคุยเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบกับเจ้านาย
รวมถึงเป้าหมายที่ต้องการจะทำให้สำเร็จในระหว่างปี ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจนของการประเมินผลงาน หากมีความจำเป็นทางด้านครอบครัวที่อาจมีผลต่อการทำงาน ก็ควรชี้แจงล่วงหน้าและหาข้อตกลงร่วมกัน เช่น หากงานที่ทำมีความยืดหยุ่นในเวลาทำงาน เราอาจเสนอขอ work from home สำหรับบางวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้น
4. กำหนดเวลาสำหรับชีวิตส่วนตัวลงในตารางประจำวันด้วย
หลาย ๆ คนเห็นว่ากิจกรรมในครอบครัวเป็นสิ่งที่ “ไว้ค่อยทำวันหลังก็ได้” หลายครั้งจึงตัดสินใจผิดนัดการรับประทานอาหารกับที่บ้าน เพราะมีงานเร่งด่วนเข้ามา หรือแม้แต่เลื่อนทริปกับครอบครัวออกไป เพราะมีเจ้านายมาเยี่ยมจากต่างประเทศโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า การผิดนัดนอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับคนในครอบครัวแล้ว เราเองก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะรู้สึกกังวลตลอดเวลา สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีสักอย่าง ดังนั้นในกรณีนอกเวลางาน หรือได้มีการขอลางานล่วงหน้าไว้แล้ว หากมีงานเข้ามากะทันหัน อย่ารู้สึกผิดที่จะปฏิเสธ และอย่ากลัวที่จะถูกมองว่าไม่ทุ่มเทให้กับงาน เพราะทุกคนต่างต้องมีชีวิตส่วนตัวกันทั้งนั้น หากเราไม่ได้เบียดบังเวลางาน เราก็ไม่ควรให้งานมาเบียดบังเวลาส่วนตัวของเรา และเช่นเดียวกัน หากเราที่เป็นเจ้านายมีงานเร่งด่วนให้ลูกน้องที่อยู่ในช่วงวันลาทำ เราก็ควรให้ความเคารพกับเวลาส่วนตัวของเขาเหมือนกัน
5. เลิกงานแล้วก็ควรปล่อยวางจากงาน
บางคนนั่งเช็คอีเมลบริษัทตลอดเวลาแม้แต่นอกเวลางาน จนเลิกงานก็เอางานกลับไปที่บ้าน หลายครั้งที่เราต้องการแค่เปิดอีเมลมาดูเล่น ๆ แต่เนื้อหาในอีเมล กลับทำให้เราต้องมานอนคิดงานต่อ หรือแม้แต่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์มานั่งทำงานกะดึก อย่างนี้เรียกว่าเแยกตัวเองออกจากงานไม่ได้ ลองฝึกดูนะครับ จบเวลางาน คือ จบ
ในตอนต่อไป ผมจะขอพูดถึงแนวคิดอีก 5 ข้อ ซึ่งผมอยากให้ผู้อ่านนำมาปรับใช้เพื่อชั่งน้ำหนักความสมดุลของการทำงาน และการใช้ชีวิต
Work Life Balance หรือ การสร้างความสมดุลชีวิตกับการทำงาน คืออะไร
การสร้างความสมดุลกับชีวิตทำงาน คือ ความสามารถของการบริหารทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะมากได้ โดยการจัดสรรเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ครอบครัวอบอุ่น และมีสังคมที่น่าอยู่
งานที่ต้องทำ เมื่อทำงานแล้วไม่สามารถสร้างความสมดุลกับการใช้ชีวิตแล้ว ฉะนั้นเราต้องค้นหางานที่สามารถสร้างความสมดุลชีวิตได้ ต้องกล้าเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น โดยการเริ่มค้นหาที่ใช่ และงานที่ทำให้เราได้ชีวิต ไม่ได้แค่เพียงเงิน คือ ต้องได้ทั้งเวลาและเงิน นั่นเอง
ความยุติธรรม ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ การแบ่งปัน เสียสละ หลังจากประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว เรายังคงต้องรู้จักคำว่า “การให้และเสียสละ” ควรหมั่นระลึกว่า สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเรา ที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือ และก่อนการลงมือ ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เราตรึกตรองนั้น ได้ให้ความยุติธรรมดีแล้ว กับเราที่เรารัก และครอบครัว
การสร้างความสมดุลด้านการเงิน เรื่องเงิน ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากว่าขาดเงิน ก็จะส่งผลกระทบด้านอื่นๆ และความสมดุลชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เราควรนำเงินแบ่งออกเป็นก้อนๆ เช่น เงินสำหรับการลงทุน เงินค่าใช้จ่ายประจำวัน เงินค่าน้ำ ค่าไฟ เงินสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน กรณีที่เจ็บป่วย
ขอบคุณข้อมูล https://www.krungsri.com และ https://news.jobcute.com