เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพียงเท่านั้น ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามหลักการของการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า “เซอร์รัส” (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่า จะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา โดยเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่เป็นดวงสะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อนมีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจาง ๆ
ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เกิดขึ้นได้อย่างไร
นักวิชาการด้านดาราศาสตร์ให้ข้อมูลกว่าวว่า ปรากฏการณ์ซันด็อกนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพียงเท่านั้น ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามหลักการของการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า “เซอร์รัส” (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่า จะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา โดยเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่เป็นดวงสะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อนมีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจาง ๆ
ภาพที่ 2 ภาพอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ sundog
ที่มา http://cliffmass.blogspot.com/2013/05/sundog.html
ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ‘ซันด็อก’ หรือพระอาทิตย์ 3 ดวงขึ้นพร้อมกันนั้น เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ ผ่านผลึกน้ำแข็งของเมฆระดับสูงที่เรียกว่า เมฆเซอร์รัส – Cirrus ที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปราว 10 กิโลเมตร เมื่ออากาศแจ่มใส แสงอาทิตย์ฉายแสงเต็มที่ จนเกิดการสะท้อน และเมื่อแสงอาทิตย์ทำมุมกับผลึกน้ำแข็งในเมฆเซอร์รัสที่ 22 องศา จะทำให้เกิดภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์ขึ้นข้างๆทั้ง 2 ฝั่งของดวงอาทิตย์ดวงจริง คล้ายมีดวงอาทิตย์ 3 ดวง แต่ดวงอาทิตย์ข้างๆจะปรากฏเป็นรูปทรงค่อนข้างบิดเบี้ยว
ขอบคุณแหล่งที่มา
สำรวจโลก (2561, 3 ธันวาคม). ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวงในสวีเดน. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
ซันด๊อก. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/252_61-80.pdf
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ . อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลม . สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/252_61-80.pdf
และ https://www.scimath.org/