หน้าที่ของสมอง
Daniel Wolpert นักประสาทวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนไหว พูดไว้ใน TED Talks: The real reason for brains ว่าในชีวิตนี้ มีคำถามสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรถามตัวเอง ก่อนที่เราจะเรียนรู้และเข้าใจการทำงานของสมอง ถามว่าทำไมสัตว์บางชนิดถึงมีสมอง ทำไมมนุษย์เราถึงวิวัฒนาการสมองขึ้นมา
เค้าเชื่อว่าหน้าที่สำคัญของสมอง คือควบคุมการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน เช่น การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น การพูด การเขียน การใช้ภาษามือ ล้วนต้องใช้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ระบบประสาทสัมผัส การจดจำ การคิด ต่างมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อมันใช้เป็นแรงขับดันให้เกิดการเคลื่อนที่ หรือหยุดการเคลื่อนที่
สมองที่เราได้รับมา
สมองของเราแต่ละคนได้รับมาและเติบโตไม่เหมือนกัน ก็คงเหมือนกับลายนิ้วมือของเราที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของสมองทำให้เราแต่ละคนคิดและประมวลผลข้อมูลแตกต่างกันออกไป ทำให้เราแสดงออกแตกต่างกัน บางคนถนัดใช้อารมณ์ บางคนถนัดใช้เหตุผล มันทำให้สมองเราพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน มีผลต่อการคิด การเรียนรู้ และความสามารถด้านภาษา
นอกจากนั้น เราแต่ละคนยังมี หูและตา ที่แตกต่างกัน ทำให้มีผลต่อการประมวลผลข้อมูลในขณะที่เราเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน และการลงมือทำ มีผลต่อการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
ความแตกต่างของสมองที่เราได้รับมา ทำให้เราเรียนรู้ คิดและทำแตกต่างกัน ทุกคนมีความฉลาดในแบบของตัวเอง Einstein ฉลาดด้านวิทยาศาสตร์ Mozart ฉลาดด้านดนตรี Mandela ฉลาดด้านการสื่อสาร คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่าเราฉลาดหรือไม่ แต่ต้องถามว่า เราฉลาดด้านไหน
ถ้าเราเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมองของเรา เราก็จะค้นหาความสามารถของเราได้ง่ายขึ้น ค้นพบความฉลาดในแบบของเรา ศักยภาพของเรา เราจะใช้สมองได้เต็มศักยภาพเมื่อเราเรียนรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับศักยภาพของเรา
ถ้าเราเรียนรู้ความสามารถ ทักษะที่เราสามารถทำได้โดยธรรมชาติ เราก็จะทำได้ดี และทำให้เรารักสิ่งนั้น ทำให้เราใส่ใจ แต่ถ้าเราไม่เคยได้ใช้ความสามารถที่เหมาะกับศักยภาพของเรา เราก็จะไม่มีใจรักในงานที่ทำ ทำให้เราไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจในงานที่ทำ
- ศักยภาพ แต่ไม่มีทักษะอะไรเลย ก็เท่ากับว่างเปล่า ความเป็นไปได้ที่ไปไม่ถึง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
- ศักยภาพ และความสามารถทั่วไป ทำให้เราเป็นคนมีความสามารถ ทำงานได้ตามปกติ
- ศักยภาพ และความสามารถพิเศษ ถ้าเราเรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้อง ที่มันตรงกับศักยภาพของเรา มันจะทำให้เราทำงานได้ดีเยี่ยม
ดังนั้นเส้นทางสู่ความเชี่ยวชาญจึงเริ่มต้นจากการเข้าใจศักยภาพของเรา สมองที่เราได้รับมา จากนั้นจึงพัฒนาความสามารถ เรียนรู้ทักษะที่จำเป็น ที่มันเกี่ยวข้องและเหมาะกับศักยภาพของเรา
อารมณ์และความคิด
เราสามารถแยกอารมณ์ออกจากความคิดได้ โดยมองว่าอารมณ์คือผลลัพธ์ คือการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนความคิดเป็นเหมือนข้อมูลที่มันเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เปลี่ยนไปตามมุมมองความเชื่อ ความลำเอียงหรือคุณค่าของเรา เปลี่ยนไปตามความคิดหรือความรู้สึกของเราในขณะนั้น
ความรู้สึกหรืออารมณ์คือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกถึงการมีชีวิต บางคนอาจจะไม่ได้ควบคุมหรือจัดการอารมณ์ให้ดี ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล หรือไม่ปล่อยให้มีช่องว่างระหว่าง การกระตุ้นและการตอบสนอง ไม่ได้คิดก่อนทำ
ลบล้างความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับสมอง
หลายคนคงเคยเห็นคำแนะนำ “วิธีฝึกสมองซีกซ้าย สมองซีกขวา” หรือ “วัดการทำงานของสมอง คุณถนัดใช้สมองซีกไหนมากกว่ากัน” หรือบางคนคงเคยเล่นเกม “ฝึกสมองซีกซ้าย สมองซีกขวา” แนวคิดของคำแนะนำหรือเกมเหล่านี้ มันอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า
- สมองซีกขวา คือ ส่วนของการสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ ดนตรี เพลง การใช้จินตนาการ การเป็นคนเจ้าอารมณ์ อารมณ์ศิลปิน
- สมองซีกซ้าย คือ ส่วนของการตัดสิน การเคลื่อนไหว การใช้เหตุผล ตัวเลขและการคำนวณ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา การเขียน การอ่าน การเป็นคนเย็นชา ไม่ค่อยแสดงความรู้สึกออกมา
IQ, Knowledge และ Perspective
IQ คือความฉลาด ระดับสติปัญญา Knowledge คือความรู้ สิ่งที่เราหรือคนอื่นๆ รู้ ส่วน Perspective หรือ Point of view คือมุมมอง มองในภาพรวม มองลึกลงไป
หลายคนอาจจะสนใจที่ IQ มากกว่า ขอฉลาดไว้ก่อน ถ้ามี IQ แต่ไม่มีความรู้ ถ้ามีศักยภาพแต่ขาดทักษะ เราก็พลาดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้
สิ่งที่เรามองไม่เห็น
คนเราต่างก็มี จุดบอดในตา และสมองของเราก็ทำหน้าที่เติมสิ่งที่ขาดหายไป เราจะไม่เห็นมัน จนกว่าเราจะยอมรับว่า เรามองไม่เห็น และสิ่งที่เรามองเห็น ลึกๆ ภายในมันก็ยังมีหลายสิ่งแอบซ่อนอยู่
ไอน์สไตน์ในตอนเด็กๆ เคยได้รับเข็มทิศจากพ่อ มันเป็นอุปกรณ์ที่จุดประกายความคิด จินตนาการและความอัจฉริยะ พยายามเปลี่ยนให้เข็มชี้ไปทางอื่น สุดท้ายมันก็จะชี้ไปทางทิศเหนือ มันทำให้ไอน์สไตน์เข้าใจว่า มันมีแรงบางอย่างซ่อนอยู่ที่ผลักดันทำให้เข็มชี้ไปทางทิศเหนือ มันมีอะไรมากกว่าสิ่งที่ตาเราเห็น
พรสวรรค์
งานวิจับพบว่าสมองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ Neural Pathway สามารถสร้างใหม่ได้ และ IQ ก็ไม่ได้ถูกจำกัดตายตัว ในชั้นประถมเราอาจจะเรียนเก่ง เรียนรู้เร็วกว่าเพื่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าจบมัธยมเราจะยังเป็นที่หนึ่งเสมอไป
ศาตราจารย์ Deborah Eyre ผู้เขียนหนังสือ Great Minds and How to Grow Them นำเสนองานวิจัยทางประสาทวิทยาและจิตวิทยา เค้าแนะนำว่า คนทั่วไปสามารถพัฒนาตนเองได้ถึงระดับเดียวกับคนที่มีพรสวรรค์ แต่ต้องเรียนรู้ทัศนคติที่ถูกต้อง และเรียนรู้ด้วยแนวทางที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาความสามารถให้ดีที่สุด จะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความพยายาม ไม่ท้อแท้ และจะต้องได้รับการสนับสนุนทั้งจากที่บ้านและโรงเรียน
ขอบคุณแหล้งข้อมูล https://www.nicetofit.com/