การใช้ฟังก์ชันในคอมพิวเตอร์
ฟังก์ชั่น คือ สูตรการคำนวณที่ถูกสร้างไว้ล่วงหน้าเพื่อสนับสนุนการทำงานประเภทต่างๆทั้งเรื่องการบวกลบคูณหารและการจัดการข้อมูลอื่นๆเช่น การเปรียบเทียบข้อมูล การนับจำนวนข้อมูล การแสดงตัวเลข หรือการปัดเศษ เป็นต้น ซึ่งแต่ละฟังก์ชันจะมีรูปแบบมาตรฐานดังนี้
=ชื่อฟังก์ชัน (อาร์กิวเมนต์1,อาร์กิวเมนต์2, อาร์กิวเมนต์3,……,อาร์กิวเมนต์สุดท้าย)
เครื่องหมาย = เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงการคำนวณ ไม่ใช่ข้อมูลหรือตัวเลข
ชื่อฟังก์ชัน เป็นชื่อที่ใช้เรียกฟังก์ชัน ที่แสดงลักษณะการทำงานของฟังก์ชัน
อาร์กิวเมนต์ เป็นส่วนที่ฟังก์ชันจะนำไปใช้คำนวณหรือประมวลผล อาร์กิวเมนต์จะอยู่ภายในวงเล็บ และถูกแยกกันด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่น =MAX(F2:F8) เป็น
ฟังก์ชันสำหรับหาค่าสูงสุดของข้อมูลที่อยู่ในเซลล์ F2 ถึง F8 หรือ=SUM( C2:E2,H2:J2) เป็นฟังก์ชันสำหรับหาผลรวมของข้อมูลในเซลล์ C2 ถึง E2 และ
ข้อมูลในเซลล์ H2 ถึง J2
การใช้งานฟังก์ชั่น
การเรียกใช้งานฟังก์ชันโดยเลือกฟังก์ชันจาก Ribbon ในแท็บ Home กลุ่มคำสั่ง editing คลิกลูกศรลงของคำสั่ง Autosum จะปรากฏฟังก์ชันย่อยลงมาให้เลือก หรือเรียกใช้ฟังก์ชันจากแท็บ Formulas แล้วคลิกลูกศรลงของคำสั่ง AutoSum จะปรากฏฟังก์ชันพื้นฐานมาให้เลือกใช้ได้เช่นกัน
นอกจากนั้นสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่ใช้ไปล่าสุดจาก Formula Bar โดยพิมพ์เครื่องหมาย = แล้วตำแหน่งการอ้างอิงเซลล์ทางด้านหน้าจะเปลี่ยนเป็นชื่อฟังก์ชันขึ้นมาให้คิดหัวลูกศรลงเพื่อดูรายการฟังก์ชันที่เคยใช้ไปล่าสุด
และสามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่น อื่นๆได้อีกโดยคลิกคำสั่ง More functions…. ซึ่งอยู่ด้านล่างของรายการฟังก์ชันที่ปรากฏของทุกวิธี จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Insert function
ฟังก์ชันพื้นฐาน
ฟังก์ชันพื้นฐาน เพื่อการเรียกใช้งานที่ถูกต้องและรวดเร็วมีดังนี้
ฟังก์ชั่น SUM เป็นฟังก์ชันสำหรับหาผลรวม เช่น=SUM(C2:C8)
ฟังก์ชั่น AVERAGE เป็นฟังก์ชันสำหรับหาค่าเฉลี่ย เช่น=AVERAGE(B2,D2,F2)
ฟังก์ชั่น COUNT เป็นฟังก์ชันสำหรับนับจำนวนข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น=COUNT (F4,J4)
ฟังก์ชั่น MAX เป็นฟังก์ชันสำหรับหาค่าสูงสุด เช่น=MAX(D5:D15)
ฟังก์ชั่น MIN เป็นฟังก์ชันสำหรับหาค่าต่ำสุด เช่น=MIN(D5:D15)
นอกจากนี้ฟังก์ชันยังจัดกลุ่มออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
Financail เป็นฟังก์ชันเกี่ยวกับการเงิน
Logical เป็นฟังก์ชันการคำนวณแบบมีเงื่อนไขตรรกะทางคณิตศาสตร์
Text เป็นฟังก์ชันเกี่ยวกับข้อมูลประเภทตัวอักษร
Date & Time เป็นฟังก์ชันเกี่ยวกับวันและเวลา
Lookup & Referenceเป็นฟังก์ชันเกี่ยวกับการค้นหาและอ้างอิงข้อมูลภายในตารางตามเงื่อนไขที่กำหนด
Math and Trig เป็นฟังก์ชันเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์
More function เป็นฟังก์ชันเกี่ยวกับสูตรในสาขาอื่นๆ เช่น ทางสถิติ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
ฟังก์ชันที่ถูกนิยามไว้ดีแล้ว
สำหรับฟังก์ชันที่ได้ตรวจสอบโดเมน เรนจ์ และความเป็นฟังก์ชันอย่างรัดกุม จนสามารถทำงานได้แบบไม่มีข้อผิดพลาดสิ่งที่ต้องตรวจสอบมีดังนี้
- โดเมนของฟังก์ชันที่ซึ่งทุกสมาชิกในโดเมนจะต้องสามารถหาค่าฟังก์ชันได้
- เรนจ์ของฟังก์ชันจะต้องครอบคลุมเอาต์พุตจากการทำงาน
- การทำงานเป็นฟังก์ชัน
โดเมนและเรนจ์
โดเมนคือเซตของอินพุตที่ป้อนเข้าสู่ระบบการทำงาน กำหนดโดเมน D1 และ D2 ดังนี้
D1 = { -2, -1, 0, 1, 2 } และ D2 = (-2,2) := เซตของจำนวนจริงระหว่าง -2 และ 2
ถ้าเรากำหนด input —–> f —–> output โดยที่ f(input) = 3 x input – 1
พิจารณา D1 จะเห็นว่า
(-2) —–> f(-2) = 3 x (-2) – 1 —–> -7
(-1) —–> f(-1) = 3 x (-1) – 1 —–> -4
0 —–> f(0) = 3 x (0) – 1 —–> -1
1 —–> f(1) = 3 x (1) – 1 —–> 2
2 —–> f(2) = 3 x (2) – 1 —–> 5
เราจะได้เซตของเอาท์พุตเรียกว่า เรนจ์ R1 = { -7, -4, -1, 2, 5 }
พิจารณา D2 จะเห็นว่า input สมมติแทนด้วยตัวแปร a จะได้ว่า -2 < a < 2
a —–> f(a) = 3 x (a) – 1 —–> 3a – 1
จะเห็นได้ว่า 3(-2) – 1< 3a – 1 < 3(2) – 1 พบว่าเรนจ์ของฟังก์ชันคือ R2 = ( -7,5 )
เราเขียนฟังก์ชันการทำงานได้ดังนี้ f : D1 —–> R1 และ f : D2 —–> R2 ตามลำดับ จากตัวอย่างข้างต้นหากเรากำหนดอินพุตเป็น (D1) แต่ต้องการคำนวณ f(3) เมื่อพิจารณาการทำงานฟังก์ชันเขียนแบบแจงสมาชิกได้ดังนี้ f = { (-2,-7), (-1,-4), (0,-1), (1,2), (2,5) } จะเห็นว่าอินพุต 3 ไม่อยู่ในระบบการทำงานทำให้ฟังก์ชันไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนี้ถ้าเรากำหนด g (x) = 1/x โดยที่โดเมนของ g แทนด้วย Dg = { -1, 0, 1 } จะเห็นว่าฟังก์ชันคำนวณค่า -1 ได้ แต่เมื่อ input = 0 ฟังก์ชัน g(0) = 1/0 ไม่นิยามหากเราทำการโปรแกรมเมื่อถึงค่า 0 โปรแกรมจะเกิด error และหยุดการทำงานได้ ดังนั้นการสร้างหรือกำหนดฟังก์ชันให้ทำงานได้มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ โดเมน เรนจ์ และความเป็นฟังก์ชัน
ขอบคุณข้อมูล https://www.scimath.org