ของไหล ( Fluid)
ของเหลวเป็นสถานะหนึ่งของสสาร มีปริมาตรคงตัว และมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ ส่วนแก๊สซึ่งเป็นอีกสถานะหนึ่งของสสาร มีรูปร่างและปริมาตรไม่คงตัว ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ ทั้งของเหลวและแก๊สสามารถไหลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ จึงเรียกของเหลวและแก๊สว่า ของไหล (fluid)
ความหนาแน่น
ของไหล
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า มีการแบ่งประเภทของสสาร โดยพิจารณาจากสถานะของสสารได้ 3 ชนิด คือ ของแข็ง ของเหลวและแก๊สในการศึกษาสภาพของสสารพบว่า ที่อุณหภูมิคงตัว
ของแข็งจะมีรูปร่างและปริมาตรคงตัว เมื่อถูกแรงกระทำไม่มากนัก
ของเหลวจะมีปริมาตรคงตัวและมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุและจะมีปริมาตรลดลงเล็กน้อยเมื่อถูกแรงอัด
แก๊สมีรูปร่างและปริมาตรไม่คงตัว โดยปริมาตรมีขนาดเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ และเมื่อมีแรงอัดกระทำต่อแก๊ส ปริมาตรของแก๊สจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก นอกจากนี้ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ปริมาตรของแก๊สจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากปริมาตรของของเหลวและแก๊สไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับรูปร่างของภาชนะที่บรรจุและสามารถไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ จึงมีการเรียกของเหลวและแก๊สว่าของไหล (fluid) ในบทเรียนนี้จะเป็นการศึกษาสมบัติต่างๆ ของของไหล ได้แก่ ความหนาแน่น ความดัน แรงดัน ความตึงผิว ความหนืด เป็นต้น
ของเหลวแม้ว่าจะมีรูปร่างไม่แน่นอนตามภาชนะที่บรรจุ แต่จะมีปริมาตรคงที่ค่าหนึ่ง (ที่อาจขึ้นกับอุณหภูมิ) จึงจัดของเหลวเป็นของไหลที่อัดไม่ได้ (Incompressible fluid)
แก๊สหรืออากาศมีปริมาตรที่ไม่แน่นอน เมื่อเปลี่ยนไปสู่ภาชนะที่ใหญ่กว่า ก็สามารถกระจายไปเต็มภาชนะใหม่นั้นได้ จึงจัดแก๊สหรืออากาศเป็นของไหลที่อัดได้(Compressible fluid)
ความหนาแน่น
จากความรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ว่า ความหนาแน่นของสารเป็นสมบัติเฉพาะของสารแต่ละชนิดและเป็นปริมาณที่บอกค่ามวลของสารในหนึ่งหน่วยปริมาตร ถ้าให้ m เป็นมวลของสารที่มีปริมาตร V และ r เป็นความหนาแน่นของสารแล้วสามารถเขียนเป็นความสัมพันธ์ ได้ว่า
ความหนาแน่นเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3)
ตาราง 9.1 ความหนาแน่นของสารบางชนิดที่อุณหภูมิ 0 ℃ และความดัน 1 บรรยากาศ
สาร |
ความหนาแน่น (kgm–3) |
สาร |
ความหนาแน่น (kgm–3) |
ของแข็ง |
ของเหลว |
||
ออสเมียม | 22.5 x 103 | ปรอท | 13.6 x 103 |
ทอง | 19.3 x 103 | น้ำทะเล | 1.024 x 103 |
ยูเรเนียม | 18.7 x 103 | น้ำ (4 °C) | 1.00 x 103 |
ตะกั่ว | 11.3 x 103 | เอทิลแอลกอฮอร์ | 0.79 x 103 |
เงิน | 10.5 x 103 | น้ำมันเบนซิน | 0.68 x 103 |
ทองแดง | 8.9 x 103 |
แก๊ส |
|
ทองเหลือง | 8.6 x 103 | ออกซิเจน | 1.429 |
เหล็ก | 7.86 x 103 | อากาศ | 1.292 |
อลูมิเนียม | 2.70 x 103 | ไนโตรเจน | 1.251 |
แมกนีเซียม | 1.74 x 103 | ฮีเลียม | 0.179 |
แก้ว | (2.4 – 2.8) x 103 | ไฮโดรเจน | 0.090 |
น้ำแข็ง | 0.917 x 103 | ||
โฟม | 0.1 x 103 |
จากการศึกษาสมบัติของของเหลวพบว่า เมื่ออุณหภูมิคงตัวหรือเปลี่ยนแปลงไม่มาก ถือได้ว่าปริมาตรคงตัว ดังนั้นความหนาแน่นของของเหลวจึงมีค่าคงตัว
ค่าความถ่วงจำเพาะของสาร (Specific gravity)
ค่าความถ่วงจำเพาะของสารหรือเรียกว่า ถ.พ. เป็นปริมาณที่บอกค่าเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นของสารใด ๆ กับค่าความหนาแน่นของน้ำหรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่า ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ซึ่งเขียนเป็นความสัมพัทธ์ได้ว่า
การหาค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสาร เช่น ความความหนาแน่นสัมพัทธ์ของทอง โดยพิจารณาจากตาราง 9.1 ทองมีความหนาแน่น 19.3 x 103 kg/m3 ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของทองหรือ ถ.พ. มีค่าเท่ากับ
ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 19.3 แสดงว่า ทองมีความหนาแน่นเป็น 19.3 เท่าของความหนาแน่นของน้ำ
ความดันในของเหลว
ความดัน คือ ขนาดของแรงดันที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เป็นปริมาณสเกล่าร์ มีหน่วยเป็น N/m2 หรือ Pa
ความดันในของเหลว
P = Pเกจ ซึ่งเป็นความดันเนื่องจากน้ำหนักของเหลว และเป็นค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัด มีหน่วยเป็น N/m2 หรือ Pa
Ρ = ความหนาแน่นของของเหลว มีหน่วยเป็น kg/m3
h = ความลึกของของเหลว มีหน่วยเป็น m
* ณ จุดใดๆในของเหลว จะมีแรงเนื่องจากของเหลวไปในทุกทิศทาง
* แรงที่ของเหลวกระทำที่ผิวภาชนะจะตั้งฉากกับผิวภาชนะเสมอ
* ความดันในของเหลวชนิดหนึ่งๆไม่ขึ้นกับปริมาตรและรูปร่างของภาชนะ
* ความดัน ณ จุดใดๆในของเหลว จะแปรผันตรงกับความลึก และ ความหนาแน่นของของเหลว เมื่อของเหลวอยู่นิ่งและอุณหภูมิคงที่
* ถ้าพิจารณาความดันบรรยากาศด้วย จะเรียกว่า ความดันสัมบูรณ์