ม.6 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (อังกฤษ: Nuclear reaction) ในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ หมายถึงกระบวนการที่นิวเคลียส 2 ตัวของอะตอมเดียวกัน หรือนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งและอนุภาคย่อย ของอีกอะตอมหนึ่งจากภายนอกอะตอมนั้น ชนกัน ทำให้เกิดนิวเคลียสใหม่หนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่งตัวที่มีจำนวนอนุภาคย่อยแตกต่างจากนิวเคลียสที่เริ่มต้นกระบวนการ ดังนั้นปฏิกิริยานิวเคลียร์จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอย่างน้อยหนึ่งนิวไคลด์ ไปเป็นอย่างอื่น หากนิวเคลียสหนึ่งมีปฏิกิริยากับอีกนิวเคลียสหนึ่งหรืออนุภาคอื่นและพวกมันก็แยกออกจากกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของนิวไคลด์ใด ๆ กระบวนการนี้เป็นแต่เพียงประเภทหนึ่งของการกระเจิงของนิวเคลียสเท่านั้น ไม่ใช่ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ในหลักการ ปฏิกิริยาสามารถเกิดขึ้นจากการชนกันของอนุภาคมากกว่าสองอนุภาค แต่เป็นไปได้น้อยมากที่นิวเคลียสมากกว่าสองตัวจะมาชนกันในเวลาเดียวกันและสถานที่เดียวกัน เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นของหายากเป็นพิเศษ (ดูกระบวนการสามอัลฟา ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกับการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์สามเส้า) “ปฏิกิริยานิวเคลียร์” เป็นคำที่หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงที่”ถูกเหนี่ยวนำให้เกิด”ในนิวไคลด์ ดังนั้นมันจึงไม่สามารถนำไปใช้กับการสลายกัมมันตรังสีชนิดใด ๆ ได้ (เพราะโดยคำจำกัดความแล้ว การสลายกัมมันตรังสีเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเอง)
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ในธรรมชาติจะเกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างรังสีคอสมิกและสสาร และปฏิกิริยานิวเคลียร์สามารถถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ได้พลังงานนิวเคลียร์ในอัตราที่ปรับได้ตามความต้องการ บางทีปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่โดดเด่นมากที่สุดจะเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ในวัสดุที่แตกตัวได้ (อังกฤษ: fissionable material) เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นและปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันต่างๆขององค์ประกอบเบาที่ผลิตพลังงานให้กับดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลาย ทั้งสองประเภทในการเกิดปฏิกิริยานี้ถูกใช้ในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์.
สัญลักษณ์
-
6
3Li+ 2
1H→ 4
2He+ ?
เพื่อความสมดุลของสมการข้างต้นสำหรับมวล ประจุและเลขมวล นิวเคลียสตัวที่สองด้านขวาจะต้องมีเลขอะตอมเป็น 2 และเลขมวลเป็น 4; ดังนั้น มันจึงยังคงเป็นฮีเลียม-4 ดังนั้นสมการที่สมบูรณ์จึงเป็น:
-
6
3Li+ 2
1H→ 4
2He+ 4
2He
หรือเพียงแค่:
-
6
3Li+ 2
1H→ 2 4
2He
Pulse (wulf) electroscope
อิเล็กโทรสโคปแบบพัลส์
อิเล็กโทรสโคปชนิดแผ่นทองคำ ผนังของห้องอากาศรอบๆ ฝาปิดทำหน้าที่เป็นขั้วบลบ และขั้วบวก ด้านข้างอยู่ใกล้แผ่นทอง ซึ่งจะดึงดูดอิเล็กตรอน จากฝาปิดด้านบน ทำให้ฝาปิดมีประจุบวก (แผ่นทองจะเคลื่อนที่ออกจากแท่งโลหะ เนื่องจากทั้งสองต่างมีประจุลบแต่ไม่แยกกันมากจนแตะกับขั้วบวก ก่อนที่จะนำต้นกำเนิดกัมมันตรังสีเข้ามา) แผ่นทองคำจะแสดงว่า มีการแผ่รังสีโดยเคลื่อนที่กลับไปกลับมา เมื่อมีการแตกตัวเป็นไอออน แต่ละครั้ง
Geiger counter เครื่องนับไกเกอร์
เป็นเครื่องมือที่ประกอบด้วยหลอดไกเกอร์มูเลอร์ สเกลและเรตมิเตอร์ และมักมีลำโพงด้วย หลอดไกเกอร์เป็นหลอดรูปทรงกระบอกมีขั้วสองขั้ว ภายในบรรจุแก๊ส ผนังหลอดทำหน้าที่เป็นขั้วลบ มีลวดแกนกลางทำหน้าที่เป็นขั้วบวก อุปกรณ์จะตรวจการแผ่รังสีได้โดยบันทึกพัลส์ของกระแสระหว่างขั้ว พัลส์เกิดจากการแตกตัวเป็นไอออนของแก๊ส (ปกติเป็นแ
ระเบิดนิวเคลียร์
เชื่อว่าคุณคงเคยได้อ่านประวัติของระเบิดปรมาณู ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาบ้างแล้ว และตอนนี้ก็มีภาพยนตร์ที่แสดงถึงความพินาศย่อยยับหลังการเกิดระเบิดออกมาให้ดูเรื่อยๆ ดังเช่น คนเหล็ก และ วันล้างโลกเป็นต้น หลายประเทศกำลังวิตกเรื่องภัยคุกคามจากนิวเคลียร์ มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ และเซ็นสัญญากันวุ่นวายไปหมด ขณะที่บางประเทศไม่เห็นด้วยกับสัญญา และกำลังเร่งสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ตัวอย่างเช่น อินเดีย และปากีสถาน และเมื่อเร็วๆนี้ ประเทศเกาหลีเหนือได้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ โดยอ้างความจำเป็นในการป้องกันตนเอง
ภาพการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ในปี 1953 โดยยิงจากปืนใหญ่
จุดกำเนิดของระเบิดปรมาณู
ถ้าท่านมี “A-Bomb” ติดบ้านไว้สักลูก ท่านไม่ต้องหวั่นเกรงมนุษย์หน้าไหนทั้งสิ้น ไม่ต้องหวาดผวาต่อภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกอีกต่อไปเมื่อไรที่ท่านรู้สึก “เซ็ง” ท่านอาจทดทองใช้ดูได้ทันที..และไม่แน่..ท่านอาจจะกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่จนคับฟ้าไปเลยก็ได้
เอาละครับท่านคิดอยากจะมี เอ-บอมบ์ ติดบ้านไว้ซักลูกก็ขอให้ติดตามรายละเอียดได้เลย..ก่อนอื่นใดทั้งหมด ท่านจะต้องทำความเข้าใจกับทฤษฎีและหลักการของระเบิดแบบปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่เสียก่อน..ระเบิดปรมาณูมันระเบิดขึ้นมาได้อย่างไร ..ง่ายมากครับ..หลักการมีอยู่ว่า.. “เอายูเรเนี่ยม-235 หรือพลูโตเนี่ยมก็ได้ ในปริมาณเท่ากันสองก้อน มาวางประกอบกันให้ดี
-ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://th.m.wikipedia.org และ http://www.rmutphysics.com/