มลภาวะทางอากาศคือสิ่งที่โลกยุคศตวรรษที่ 20 ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นปัญหาที่ไม่ใช่แค่ระดับประเทศ ทวีป หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แต่นี่คือปัญหาระดับดาวเคราะห์! (โลก) ที่เราทุกคนอาศัยอยู่กันนั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และหนึ่งในมาตรการรับมือกับปัญหามลภาวะทางอากาศเป็นพิษของโลกที่เกิดขึ้นก็คือ Euro emissions standards ที่เป็นมาตรฐานกำหนดการปล่อยมลพิษของรถยนต์ ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซพิษมากที่สุดในโลก
ภาพท่อไอเสียรถยนต์
ที่มา https://pixabay.com/, Nerivill
ตั้งแต่ก่อนปี 1990 รถยนต์ทุกคันที่จะเข้าตลาดเพื่อจำหน่าย จำเป็นที่จะต้องระบุและผ่านมาตรฐาน Euro emissions standards เพื่อควบคุมอัตราการปล่อยมลพิษของรถยนต์
Euro emissions standards ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี 1970 แต่มาตรฐาน Euro 1 ถูกประกาศครั้งแรกในปี 1992 เพื่อควบคุมการปล่อยไอเสียของรถยนต์เครื่องเบนซินให้มีความเหมาะสมโดยมีจุดประสงค์หลักก็คือ ต้องการที่จะควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์
และในปี 2014 ก็ได้มีการกำหนดมาตรฐานการปล่อยไอเสียใหม่เป็น Euro 6 ซึ่งเข้มงวดในการควบคุมการปล่อยมลพิษมากกว่า Euro 1 ถึง 96% ซึ่งสิ่งที่ถูกควบคุมหลัก ๆ ก็คือ CO = Carbon Monoxide, NOx = Oxides of Nitrogen, HC = Hydrocarbons และ PM = Particulate matter
Euro 1 ,กรกฎาคม 1992
ข้อกำหนดของมาตรฐานยูโร 1 ในปี 1992 คือต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบไร้สารตะกั่วเท่านั้นและจะต้องมีอุปกรณ์เครื่องฟอกไอเสียให้เป็นรถยนต์เบนซินเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
Euro 2 , มกราคม 2539
มาตรฐาน Euro 2 ได้เพิ่มความเข้มงวดโดยลดปริมาณสารพิษที่จะถูกปล่อยจากรถยนต์ให้น้อยลง ทั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์, ไฮโดรคาร์บอนที่ไม่เผาไหม้และออกไซด์ของไนโตรเจน ทั้งนี้มาตรฐาน Euro 2 ได้กำหนดมาตรฐานที่แตกต่างกันสำหรับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล
Euro 3 , มกราคม 2543
Euro 3 ได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทดสอบเพื่อลดระยะเวลาการอุ่นเครื่องยนต์เพื่อให้ทันสมัยกับรถยนต์ในสมัยนั้น และยังกำหนดให้ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์และการปล่อยฝุ่นละอองของเครื่องยนต์ดีเซล นอกจากนี้ Euro 3 ยังเพิ่มการจำกัด NOx สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและแยกหัวข้อการจำกัด HC และ NOx สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
Euro 4, มกราคม 2548
เนื่องมาจากในช่วงการบังคับใช้มาตรฐานนี้รถยนต์เครื่องดีเซลได้มีความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งการใช้งานส่วนบุคคลและในเชิงพาณิชย์ เช่น เพื่อการขนส่ง จึงต้องมุ่งเน้นกับการลดปล่อยมลพิษจากรถยนต์ดีเซลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดฝุ่นละออง (PM) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) จนทำให้รถยนต์ดีเซล Euro 4 บางคันต้องติดตั้งตัวกรองฝุ่นละอองเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน
Euro 5 , กันยายน 2552
Euro 5 เพิ่มความเข้มงวดของการปล่อยฝุ่นละอองจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นอย่างมาก โดยรถยนต์ดีเซลทุกคันต้องติดตั้งตัวกรองฝุ่นละออง ส่วนข้อจำกัด NOx ก็เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน (โดยต้องลดลง 28% เมื่อเทียบกับ Euro 4) และเป็นครั้งแรกที่มีการจำกัดปริมาณฝุ่นละอองสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่เป็นแบบจุดระเบิดโดยตรง
Euro 6, กันยายน 2014
มาตรฐาน Euro 6 กำหนดให้ลดการปล่อย NOx อย่างมีนัยสำคัญจากเครื่องยนต์ดีเซล (ลดลง 67% เมื่อเทียบกับ Euro 5) และกำหนดมาตรฐานที่คล้ายคลึงกันสำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล
แหล่งที่มา
European emission standards. Retrieved June 5, 2019, from https://en.wikipedia.org/wiki/European_emission_standards
มาตรฐานไอเสียยูโรคืออะไร? ช่วยลดฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้แค่ไหน?. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562. จาก https://www.roojai.com/article/lifestyle/euro-emissions-standards/