โลกที่สรรพสิ่งเชื่อมโยงอย่างรวดเร็วด้วยระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า IoT ดูจะใกล้เป็นความจริงเข้ามาทุกทีในอนาคตอันใกล้ เมื่อในทุกวันนี้เราสามารถพบเห็นการนำ IoT มาใช้ในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะขอนำเสนอ 5 ประโยชน์ ที่มีการนำ IoT มาใช้งาน
1.ระบบการสั่งงานสมาร์ทโฟนด้วยเสียง
เป็นระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้กับการควบคุมสมาร์ทโฟนในสมัยใหม่ที่เราจะเห็นในมือถือแทบทุกยี่ห้อ อาทิ ระบบ Voice Access ของ ระบบปฏิบัติการ Android ที่บริษัท Google แทนการสั่งการด้วยการสัมผัสหน้าจอ
2.ระบบไฟอัจฉริยะ
เป็นระบบ IoT ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูแลสั่งการ การทำงานของระบบไฟส่องสว่างภายในบ้าน การปรับระดับแสงหรือสีไฟ รวมทั้งการตั้งเวลานับเปิดปิด ทั้งจากการสั่งการด้วยเสียงและระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว รวมทั้งการสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน
3.ระบบการระบบเตือนภัยอัจฉริยะ
เป็นระบบ IoT ที่จะทำการตรวจจับการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องใช้ภายในบ้าน และจะทำการเตือนภัยต่าง ๆ ผ่านไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การลืมปิดน้ำ ปิดไฟ การพบควันและประกายไฟติดในบ้าน แก๊สรั่วซึม หรือน้ำล้นท่วมบ้าน นั้นเอง
4.ระบบควบคุมเครื่องปรับอุณหภูมิภายในบ้าน
สำหรับเมืองไทยที่ร้อนและร้อนมากในแต่ละวัน ท่านจะสามารถสั่งงานเครื่องปรับอุณหภูมิได้ล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับถึงบ้านทาง ระบบ IoT ให้เย็นได้ทันทีที่กลับบ้าน
5.ระบบสตาร์รถและควบคุมรถแบบไร้สาย
เป็นระบบ IoT แบบใหม่ในธุรกิจยานยนต์ที่เริ่มมีการจำหน่ายรถยนต์ที่รองรับระบบดังกล่าวออกมาใช้จริงแล้ว เริ่มจากเปิด ปิด ล็อค รถยนต์ จากระยะไกลผ่านแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนนั้นเอง
ในอดีต Internet of Thing (IoT) เปิดตัวในฐานะเทคโนโลยีแห่งอนาคต แต่ ณ ปัจจุบัน IoT ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ดูได้จากแนวโน้มของ IoT ที่สามารถยืนยันได้ถึงความจริงในข้อนี้ IoT นั้นได้ถูกนำมาใช้งานทางด้าน Data analytics software และ Artificial Intelligence (AI)โดยการประยุกต์ใช้ทั้งสองด้านเหล่านี้เข้ามาช่วยให้ในส่วนของภาคธุรกิจ ซึ่งสามารถปรับปรุงกระบวนการในส่วนของการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมหาศาล
IoT นั้นได้ปูทางสำหรับเทคโนโลยีอัจฉริยะในทุกๆที่ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆที่เราได้เห็นและใช้กันอยู่ โทรศัพท์ รถยนต์ หรือ AI ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามากในปัจจุบัน จากข้อมูลของแนวโน้มที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ IoT ที่มีอยูรผู้เขียนตั้งใจจะทำให้ผู้อ่านได้รับการความรู้ความเข้าใจ IoT ในปัจจุบัน หากผู้อ่านได้นำความรู้ด้าน IoT ที่ได้อ่านเข้าสู่ธุรกิจหรือในการทำงาน อาจจะแค่หนึ่งหรือสองอย่างเกี่ยวกับวิธีใช้ประโยชน์จากแนวโน้มของเทรน IoT เหล่านี้เพื่อนำมาใช้กับ บริษัท ธุรกิจ รวมถึงอาชีพของคุณให้ได้ประโยชน์ในอนาคต
1.ความปลอดภัยบน IoT นั้นสำคัญ
ตลาดเทคโนโลยี IoT จะเห็นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นเนื่องจากความอันตรายด้านความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนเกิดขึ้น ความซับซ้อนเหล่านี้เกิดจากธรรมชาติที่หลากหลายและกระจายตัวของเทคโนโลยีที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน เครือข่ายของอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่ออยู่บนโลก internet มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี จากข้อมูลอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี 2019 จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ถูกโจมตีมีจำนวนมากกว่า 26 พันล้านเครื่อง การแฮ็คเครือข่ายอุปกรณ์และ IoT นั้นกลายเป็นเรื่องธรรมดามากในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเครือข่ายที่จะสามารถป้องกันผู้บุกรุกจากการทำธุรกิจของพวกเขาได้รึเปล่า
2. IoT กับ ระบบการผลิต
IoT มีการใช้ sensor แบบต่างๆ เช่น การวัดความร้อนในมอเตอร์ในส่วนของเครื่องจักร ซึ่งสามารถช่วยจัดการในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นเครื่องจักรก่อนที่จะส่งช่างเทคนิคไปทำงานในปัญหาต่างๆได้อย่างแม่นย่ำและตรงจุด ตัว Sensor นั้นมีประโยชน์มากสำหรับการดูแลจัดการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ซึ่งก่อนที่จะเกิดปัญหาจะเกิดและส่งผลเสียในส่วนของสายงานการผลิตต่างๆ โดย IoTในปัจจุบันมีการสร้าง แอปพลิเคชั่นต่างๆมากมาย เพื่อใช้ในการจัดการสิ่งต่างๆภายในโรงงานเพื่อปรับเปลี่ยนโรงงานธรรมดาให้เป็น Smart Factories โดยการใช้อุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลทางด้าน IoT ช่วยให้พนักงานได้เห็นความผิดปกติของสภาพโรงงานและความปลอดภัยพนักงานแบบเรียลไทม์
3.Big Data, Analytics, and Machine Learning
Big Data, Analytics ใช้ความสามรถ IoT เป็นผู้มีส่วนช่วยสำคัญในการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและมีความหลากหลายของธุรกิจข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างที่รวบรวมได้ตลอดเวลา การใช้ Big Data จะทำให้มองเห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงช่วยกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถดำเนินกิจการไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และทรัพยากรได้ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลยังช่วยขจัดปัญหาที่เคยเกิดขึ้นได้ เพราะข้อมูลมีความแม่นยำสูง สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้อย่างตรงจุด ลดความสูญเสียทางธุรกิจลงอีกด้วย องค์กรส่วนใหญ่ใช้การผสมผสานเทคนิคเหล่านี้เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจาก IoT
(Machine learning) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกิความก้าวหน้าจนทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานคล้ายมนุษย์ ซึ่ง AI จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาและขยายตัวอย่างมากของ IoT ทั้งนี้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลของ AI ผ่านการเรียนรู้ของเครื่องจักร จะทำให้มนุษย์เข้ามาแทรกแซงการทำงานน้อยลงอย่างมาก (มนุษย์ถูกแทนที่) และช่วยให้มนุษย์สามารถทำการตัดสินใจได้ดีที่สุดและเร็วที่สุดอีกด้วย ซึ่งข้อมูล IoT จะมีค่าที่สุดก็ต่อเมื่อมันสามารถตอบสนองได้ทันทีแบบ Realtime นั่นหมายความว่าข้อมูลจะต้องมีการวิเคราะห์โดยทันที และมีความถูกต้องแม่นยำสูงมาก
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานที่มีให้เห็นแล้ว เช่น เครื่องควบคุมความร้อนอัตโนมัติของ Nest ที่ใช้ AI ในการเรียนรู้อุณหภูมิและปรับการใช้พลังงานตามที่ผู้ใช้งานชอบ นอกจากนี้รถทุกคันที่ขายโดย Tesla จะทำงานเป็นเครือข่าย เมื่อรถยนต์คันหนึ่งมีการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างอย่าง รถยนต์ทั้งหมดในเครือข่ายจะมีการเรียนรู้ตามไปด้วย
4. อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพกับ IoT
อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้รับการแก้ไขด้วยเทคโนโลยี IoT มานานหลายปีแล้ว. การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากปัญหาประชากรสูงอายุที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ต้องการการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขภาพมากขึ้น โรคภัยต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงการนำ IoT เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใช้งานในทางการแพทย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ท้าทายในการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ระบบ IoT เชื่อมโยงกับวิธีการแก้ใขปัญหาต่างๆ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มปริมาณคนไข้ที่ดูแลได้มากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วย รวมไปถึงเสริมสร้างความพึงพอใจให้กับแพทย์และผู้ป่วย เป็นโอกาสสำคัญของตลาด IoT HealthCare
5. Better Workforce Management
การใช้เทคโนโลยี Beacons (บีคอนส์) เป็นเทคโนโลยีในยุค IOT หรือ Internet of Things ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2013โดยเฉพาะวงการค้าปลีกและพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมี Apple เป็นคนประกาศใช้เทคโนโลยีตั้งแต่ IOS7 ในนาม iBeacon เพื่อแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ของ Apple เมื่อคุณเดินสำรวจใน Apple Store คาดว่าจะมีการใช้งาน Becons มากขึ้นในส่วนของการจัดการแรงงานเพื่อลดต้นทุน โดย Becons สามารถใช้เพื่อตรวจสอบพนักงานและกำหนดเวลาการเข้า-ออก หรือ เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของพนักงานในกรณีที่ควรสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยที่เหมาะสมงาน ข้อมูลทั้งหมดจากระบบเหล่านี้สามารถใช้เพื่อช่วยในการจัดการประสิทธิภาพของการทำงานได้ดียิ่งขึ้น IoT กับ Becons จึงถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของข้างสูง
6. การเกิดขึ้นของสมาร์ทซิตี้
การยอมรับของเทคโนโลยี IoT จะส่งผลให้เกิดการจัดตั้ง Smart City บางเมืองในสหรัฐอเมริกากำลังใช้ IoT เพื่อเชื่อมต่อระบบต่างๆ ตั้งแต่ไฟจราจร ระบบไฟฟ้า ระบบประปา สาธารณูปโภคต่างๆโครงการ Smart City อยู่ในระหว่างการพัฒนาซึ่งสามารถแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในไม่ช้า ณ ตอนนี้ประเทศไทย เป้าหมายในการขับเคลื่อน Smart city แนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต ยังคงเป็นแค่จุดเริ่มต้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี เพราะภายใต้การขับเคลื่อนของนโยบาย ‘Thailand 4.0’ การพัฒนาเมืองไปสู่การเป็น Smart City นั้นแม้ส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพแต่ก็นับเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ สามารถนำมาปรับใช้ได้ ก็คงต้องเฝ้ากันต่อไปดูว่าประเทศไทยจะนำ IoT มาเปลี่ยนเปลี่ยนกับประเทศได้อย่างไร
Toyota to Build Smart City Prototype in Japan
7. ผู้ให้บริการบน Clound มุ่งไปที่ IoT
ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์บนคลาวด์จะมุ่งไปสนใจกับผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม IoT พวกเขาจะมุ่งเน้นไปที่การค้นหาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ สำหรับเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากความสามารถในการรวมระบบซอฟต์แวร์บนคลาวด์กับ IoT ของพวกเขา ความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการ Clound และ IoT จะเพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อขยายรูปแบบการใช้งานและปรับปรุงรูปแบบที่มีอยู่ จากที่เราได้เห็น Google ได้ประกาศเปิดตัว Cloud IoT Device SDK เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้นักพัฒนาใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT กับ Google Cloud IoT Core ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ซึ่งภายใน SDK นั้นประกอบไปด้วย Libraries ที่พัฒนาด้วย Embedded C ที่ถูกปรับแต่งให้สามารถทำงานกับ Microcontroller เพื่องาน IoT ได้เป็นอย่างดี สามารถทำงานบน Real-time OS ได้หลากหลาย เช่น Zephyr, ARM Mbed OS และ FreeRTOS kernel
ขอบคุณข้อมูล http://www.securitysystems.in.th/ และ https://medium.com/