ต้นกำเนิดรถไฟฟ้ารางเดี่ยว
เกิดจากความคิดของ วิศวกรชาวสวีเดน ประมาณ ค.ศ. 1952 ชื่อเอ็กเซล เกร็น (Axel L. Wenner Gren) ออกแบบครั้งแรกเป็นการ
ทดลองในเยอรมนีเป็นแบบคร่อมราง (Straddle Type) ขนาดเล็กวิ่งบนรางยาว 1.5 กิโลเมตร ขยายต่อมาใน ค.ศ.1957 เป็น 1.8 กิโลเมตร ที่เมืองฮุลิงเก้น (Huhlingen, Germany) ได้รับการตั้งชื่อว่าเป็นระบบแอลเว็ก (ALWEG) ตามชื่อย่อของวิศวกรผู้ออกแบบ
** ขณะนี้ “ประเทศไทย” ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า กำลังจะมี “ระบบโมโนเรล” มาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทาง โดยรัฐบาล เลือกใช้แบบวิ่งคร่อมบนรางมาก่อสร้าง มีความจุสูง ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. เป็นระบบไฟฟ้า DC 750 โวลต์ ผ่านตัวนำไฟฟ้าในรางไฟฟ้า รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 200 คน/ตู้ โดยจะให้บริการในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง ที่ ” รฟม. – การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ” ได้ข้อสรุปจะนำมาก่อสร้างโครงการ ตามแผนจะเริ่มสร้างต้นปี 2560 เปิดบริการ เดือน มิ.ย. 2563 **
1. ความจุไม่ได้น้อยอย่างที่คิด
โมโนเรลที่จะใช้กับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู มีความจุรองรับได้ประมาณ 1,000 คนต่อขบวน (6ตู้) ซึ่งเพียงพอกับปริมาณผู้โดยสารที่คาดการณ์ไว้
รถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ Heavy Rail ในระบบ Metro เช่น BTS สายสีเขียว สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน ก็มีความจุรองรับได้ประมาณ 1,000 คนต่อขบวน เช่นกัน (3 ตู้)
รถไฟฟ้าขนาดใหญ่สามารถเพิ่มความจุได้จนถึง 80,000 คน แต่ในเส้นทางสายสีเหลืองและสายสีชมพู ซึ่งเป็น Feeder Line ความจุสูงสุด 44,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ก็เพียงพอกับการใช้งานแล้ว
2. ความเร็วพอๆ กับ MRT
โมโนเรลสามารถทำความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เทียบเท่ากับรถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ Heavy Rail เช่น BTS สายสีเขียว สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน
3. โครงสร้างทางวิ่งแคบกว่า
โมโนเรลมีเขตทางกว้างประมาณ 6.7 – 7.3 เมตร ที่แคบกว่า Heavy Rail ที่มีเขตทางกว้างประมาณ 9 เมตร
ทำให้สามารถสร้างเข้าไปในที่แคบๆได้ เหมาะกับพื้นที่ในเส้นทางสายสีเหลืองและสายสีชมพู
4. รัศมีโค้งแคบกว่า
โมโนเรลใช้รัศมีโค้งน้อยสุดประมาณ 70 เมตร ในขณะที่ Heavy Rail ใช้รัศมีโค้งน้อยสุด 200 เมตร
ทำให้โมโนเรลสามารถเลี้ยวไปตามถนนต่างๆได้โดยไม่ต้องเวนคืนเยอะ
5. ขึ้นทางลาดชันได้สบายๆ
ทางวิ่งสำหรับโมโนเรลสามารถมีความลาดชันสูงสุดได้ถึง 6% ในขณะที่ Heavy Rail ต้องใช้ความลาดชัน 3.5%
ทำให้โมโนเรลสามารถยกระดับหรือลดระดับได้ยืดหยุ่นมากกว่า ใช้ระยะทางน้อย
6. ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากกว่า
เฉลี่ยแล้วโมโนเรลจะมีค่าก่อสร้างอยู่ที่กิโลเมตรละ 1,500 ล้านบาท ส่วน Heavy Rail จะมีค่าก่อสร้างอยู่ที่กิโลเมตรละ 1,800 ล้านบาท
7. น้ำหนักเบา เสียงก็เบา
โมโนเรลตัวรถมีน้ำหนักเบาและใช้ล้อยางจึงมีเสียงรบกวนน้อยกว่า รถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ Heavy Rail ที่เป็นล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก
8. โปร่งสบาย บังแสงน้อยกว่า
โครงสร้างโมโนเรลมีขนาดเล็ก จึงไม่บังแสงบังลม พื้นที่ด้านล่างจะไม่ทึบมาก โปร่งสบายไม่อึดอัด
9. สายสีชมพูและสีเหลือง เป็น Feeder
รถไฟฟ้าทั้งสองสาย ไม่ใช่รถไฟฟ้าสายหลักที่จะพาคนเข้าเมือง แต่เป็นรถไฟฟ้าสายรองหรือ Feeder ที่จะป้อนคนเข้ารถไฟฟ้าสายหลัก ทั้งสองสายจะมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆตามแผนแม่บทปัจจุบัน สายละ 4 สถานี
ที่มา — นสพ.มติชน , นสพ. ประชาชาติธุรกิจ https://www.home.co.th/ และ https://www.renderthailand.com/