รถไฟเหาะตัวนี้อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทางวิ่งยาว1524 เมตร คือ กิโลเมตรครึ่ง
หลักการทำงานของรถไฟเหาะ ก็คล้ายกับการเคลื่อนที่รถรางเด็กเล่น ที่เราท่านเคยเล่นเมื่อตอนเป็นเด็ก เป็นการวิ่งอยู่บนทางราบ แต่สำหรับรถไฟเหาะ เป็นรถรางที่ขยายขนาดขึ้น และวิ่งด้วยความเร็วที่สูง แถมยังตีลังกาหกคะเมนได้ด้วย รถไฟเหาะไม่มีเครื่องยนต์หรือแหล่งขับเคลื่อนภายในตัวเอง มันเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงเฉื่อย กับแรงโน้มถ่วง ให้พลังงานจากภายนอกเพียงครั้งแรกเท่านั้น ตอนที่เลื่อนรถไฟขึ้นเนินแรก ซึ่งเป็นเนินเริ่มต้น และเป็นเนินที่สูงที่สุด
การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะมาจากพลังงานศักย์โน้มถ่วงยิ่งรถไฟอยู่สูงจากพื้นมากเท่าไร พลังงานศักย์โน้มถ่วงยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้นเหมือนกับการที่ท่านขี่จักรยานขึ้นเนินเขาพอถึงจุดสูงสุด และปล่อยให้ไหลลงมาจากเนินความเร็วของรถจักรยานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆยิ่งสูงมากเท่าไร ความเร็วของรถทางด้านล่างจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้นเมื่อรถไฟเหาะเลื่อนลงจากเนินแรกซึ่งเป็นเนินที่สูงสุดความเร็วจะเพิ่มขึ้นพอถึงข้างล่างความเร็วทำให้รถไฟพุ่งต่อไปยังเนินที่สองขณะที่ไต่เนินขึ้นความเร็วจะลดลง
เมื่อเราพิจารณาด้วยกฎการทรงพลังงาน เราอาจจะประมาณได้ว่าพลังงานศักย์ของขบวนรถไฟ เมื่อรถไฟเหาะเคลื่อนไปอยู่ที่จุดสูงสุดนั้น จะเปลี่ยนมาเป็นพลังงานจลย์ของรถไฟเหาะที่จุดต่ำสุด
เหตุผลที่เนินที่สองมีขนาดเตี้ยกว่าเนินแรกก็เพราะว่า รถไฟต้องสูญเสียพลังงานไปกับแรงเสียดทาน และแรงต้านอากาศเนินถัดไปจึงต้องมีขนาดเตี้ยลงไปตามลำดับ
เมื่อ คือมวลของรถไฟเหาะ, คือความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก,คือความสูงของรถไฟเหาะวัดจากจุดที่สูงที่สุดมายังจุดที่ต่ำที่สุด และคือความเร็วของรถไฟเหาะที่จุดต่ำที่สุด
จากการคำนวนพบเมื่อรางมีความสูง 62 เมตรรถไฟเหาะตีลังกาจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 125.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่วัดได้คือ 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนเนื่องมาจากแรงเสียดทานต่างๆ รถไฟวิ่งเหาะเหินอยู่บนรางได้ โดยมีจุดเริ่มต้นเป็นเนินสูงซึ่งช่วยเก็บสะสมพลังงานศักย์โน้มถ่วง และเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานจลน์เมื่อลงจากเนิน
โครงสร้างของรถไฟแยกออกเป็น2ประเภทคือ1.ทำด้วยไม้2.ทำด้วยเหล็ก โครงสร้างที่ทำด้วยไม้ถูกสร้างขึ้นมาก่อน โดยใช้แผ่นเหล็กขนาด10ถึง15 cmทำเป็นรางขนาน ยึดเข้ากับไม้ ล้อวิ่งซ้อนอยู่บนรางที่ทำเป็นปีกไว้ ทำให้ล้อไม่หลุดออกมาขณะที่วิ่งอยู่บนรางด้วยความเร็วสูง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/lesson-physics/item/7251-2017-06-12-15-48-07