การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในในเวลา 1 ปี ในลักษณะที่แกนโลกเอียงกับแนวตั้งฉากของระนาบทางโคจร ทำให้เกิดบริเวณส่วนต่างๆ ของโลกรับพลังงาน
จากดวงอาทิตย์แตกต่างกันเป็นผลทำให้เกิด ฤดูกาล ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมี
ระยะเวลาดังนี้
คิมหันตฤดูหรือฤดูร้อน: ตั้งแต่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กันยายน
วสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ: ตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน
สารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วง: ตั้งแต่ 22 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม
เหมันตฤดูหรือฤดูหนาว : ตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มีนาคม
ในเขตร้อนจะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู
1. ฤดูร้อน
2. ฤดูหนาว
3. ฤดูฝน
การที่โลกหมุนไปและแกนของโลกเอียงจึงทำให้โลกเกิดฤดูต่าง ๆ เพราะโลกจะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทย จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ค่อนข้างมาก ไม่ว่าโลกจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เพราะประเทศไทยอยู่เหนือบริเวณเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อย ทำให้อากาศของประเทศไทยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออก-เฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ทำให้เกิดฤดูหนาวและฤดูฝนอีกด้วย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศหรือกาลอากาศ
1. ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นลูกไฟดวงใหญ่ ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ให้ความร้อนแก่โลก ซึ่งมีทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ ความร้อนจาก ดวงอาทิตย์ เป็นเหตุที่ทำให้เกิด
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของอากาศ
2. โลกของเราหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันซึ่งร้อนและเกิดกลางคืนซึ่งเย็นกว่า นอกจากนี้แล้ว โลกยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ ด้วยระยะเวลาประมาณ
365 วัน(1 ปี) ต่อรอบ การโคจรของโลกทำให้เกิดฤดูต่างๆ เช่น ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
3. น้ำซึ่งเป็นแหล่งเกิดไอน้ำ พื้นโลกของเรามีน้ำอยู่มาก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ จะทำให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำ และลอยขึ้นไปในอากาศ เพราะฉะนั้น
ในอากาศจึงมีไอน้ำอยู่เสมอไม่มากก็น้อย
4. อากาศหรือบรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เคลื่อนตัวและหอบเอาไอน้ำไปด้วย ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศ ตามธรรมดาเรามองไม่เห็นอากาศแต่เรารู้สึกว่า
มีอากาศ เมื่อลมพัดถูกร่างกายของเรา เราคงเคยเห็นแล้วว่า ถ้าลมแรงจริง ๆ ลมอาจจะพัดให้ต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าล้มได้
สรุปได้ว่า ดวงอาทิตย์ โลก น้ำ (และไอน้ำ) และอากาศทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นปัจจัยร่วมกัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ของบรรยากาศหรือกาลอากาศที่เกิดขึ้นทุกๆ
วัน ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 อย่างนี้ ปรากฏการณ์ของอากาศจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น บนดวงจันทร์ ซึ่งนักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกาลงไปสำรวจนั้น
ไม่มีอากาศอยู่ด้วย จึงไม่มีลม ไม่มีพายุ จึงไม่มีปรากฏการณ์ของอากาศเลย
การทดลองเรื่อง การเกิดข้างขึ้น- ข้างแรม
คำชี้แจง ให้นักเรียนทำการทดลองเกี่ยวกับความร้อนและความสว่างที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์เพื่ออธิบายว่า บริเวณต่างๆ บนโลกได้รับแสง และความร้อนไม่เท่ากัน
4.2 แสงตรงเฉียงแสง
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี โดยแกนเอียงของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากของระนาบทางโคจรเสมอการที่แกนโลกเอียง
ทำให้ส่วนต่าง ๆของโลกรับแสงจากดวงอาทิตย์ต่างกัน บางบริเวณได้รับแสงตรงบางบริเวณได้รับแสงเฉียงบริเวณที่ได้รับแสงตรงจะมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณ
ที่ได้รับแสงเฉียง ทำให้บริเวณซีกโลกเหนืออุณหภูมิสูง ขณะที่แสงที่ตกบริเวณซีกโลกใต้จะเป็นแสงตรง ทำให้บริเวณซีกโลกเหนืออุณหภูมิต่ำและซีกโลกใต้
อุณหภูมิสูง
สรุปกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาล
คือความเอียงของโลก โลกมีแกนเอียง 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบของระบบสุริยะ ดังนั้นจึงมีบางช่วงที่โลกหันซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์
ส่วนซีกโลกใต้ก็หันเอียงออกจากดวงอาทิตย์
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/l