วิธีใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
หน้าตาของตัวเรือนคล้ายกับนาฬิกา บอกค่าด้วยตัวเลขดิจิทัล เมื่อได้เครื่องมาแล้วเกิดคำถามว่าเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วดูยังไง เนื่องจากแต่ละยี่ห้อมีการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ต้องดูจากคู่มือประกอบ แต่หลักการส่วนใหญ่ก็คล้ายกัน ดังนี้
1. ใส่ถ่าน หรือ ชาร์จให้เต็ม
2. กดปุ่มเปิดเครื่อง
3. หนีบเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่นิ้วมือ
4. หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วรอสักพัก จากนั้นจดค่าที่วัด
5. อ่านค่าและแปลผล
วิธีอ่านค่าเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- เลขตัวบน คือ ค่าระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ค่าปกติของระดับออกซิเจนที่วัดได้อยู่ที่ 96% -100% ไม่ควรต่ำกว่า 95% ( %SpO₂ )
- เลขตัวล่าง คือ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ มีหน่วยเป็นครั้ง ต่อ นาที ค่าปกติ อยู่ระหว่าง 60 ครั้งต่ นาที – 100 ครั้งต่อนาที ( )
หมายเหตุ SpO₂ หรือในชื่อที่เข้าใจง่ายๆคือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด [หรือบางคนจะเรียกว่า Pulse Ox] ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น ถ้าเรามีค่า SpO2 สูง อวัยวะต่างๆของร่างกายก็สามารถนำออกซิเจนในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ
แต่ถ้าเรามีค่า SpO2 ต่ำ อวัยวะต่างๆ ก็จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และจะมีผลต่อระบบการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบประสาทและสมอง
อัตราการเต้นของหัวใจ
pr bpm ค่าปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ ขณะพักจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที กรณีที่หัวใจเต้นเร็วคือ สูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
ปัจจัยที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
- การเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา
- ภาวะซีดหรือภาวะโรคเลือดอื่น ๆ
- โรคไทรอยด์
- โรคหัวใจ
- ความเครียด วิตกกังวล
- เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ชา
- ยาบางชนิด เช่น ยาลดอาการคัดจมูก
ขอบคุณข้อมุล https://www.thairath.co.th/