เมื่อพูกคำว่า สตาร์ทอัพ หลายคนอาจจะสงสัยว่าธุรกิจที่มีชื่อเรียกแบบนี้มันคืออะไรกันแน่ ต้องเป็นเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างเดียวหรือเปล่า หรือเป็นเรื่องอื่นๆ ก็ได้ มาดูกันว่าแท้จริงแล้วธุรกิจที่ว่านี้มันคืออะไรกันแน่
ก่อนอื่นเรามาไล่เรียงความหมายของคำที่จะเจอในวงการ สตาร์ทอัพ กันก่อน
Growth = การเติบโต
Repeatable = การทำซ้ำ
Scalable = การขยายตัว
Technology = เทคโนโลยี
Industry Disruption = การทำลายอุตสาหกรรม
Startup จะมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องของการขยายตัวและลดต้นทุน กล่าวคือแทนที่จะเริ่มต้นธุรกิจด้วยการหายอดฝีมือมาเก็บไว้กับตัวก็ทำการสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อกับช่างฝีมือจากที่ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ใช้แอพพลิเคชั่นเป็นช่องทางในการติดต่อลูกค้าที่ต้องการใช้บริการช่างฝีมือ
เมื่อสามารถนำเอา Demand กับ Supply มาเจอกันได้ก็ทำให้เกิดธุรกิจได้ โดยที่ไม่ต้องทำการระดมยอดฝีมือมาเก็บไว้กับธุรกิจของตัวเองไม่ต้องหาเงินเช่าสำนักงาน ด้วยการออกแบบธุรกิจแบบนี้ทำให้สามารถขยายตัวไปยังช่างฝีมือที่มีอยู่ในทุกตรอกซอกซอย รองรับลูกค้าได้ทุกพื้นที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของระยะทางอีกต่อไป ช่างคนไหนอยู่ใกล้ก็สามารถเรียกใช้บริการจากคนนั้นได้เลย เพิ่มเติมความสมบูรณ์เข้าไปอีกหน่อยด้วยระบบการจ่ายเงินแบบ e-payment ถ้าทำแบบนี้ได้จะขยายตัวออกไปนอกประเทศหรือทั้งโลกก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องยาก พอจะมองเห็นวิถีแบบสตาร์ทอัพกันบ้างหรือยัง
นี่เป็นแค่ส่วนเริ่มต้นที่เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ Startup ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายใน Ecosystem ของเรื่องนี้
สำหรับ SME
SMEs ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Small and Medium Enterprises หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” สำหรับความหมายของวิสาหกิจ (Enterprises) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1. กิจการการผลิต (Production Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining)
2. กิจการการค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3. กิจการบริการ (Service Sector) เช่น การขายอาหาร ขายเครื่องดื่ม ของภัตตาคารและร้านอาหาร การให้บริการเช่าสิ่งบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
” เข้าใจความต่าง ของ ธุรกิจSME และ ธุรกิจStartup “
ความต่างในแง่ของชื่อธุรกิจ
ธุรกิจ SME
มาจากศัพท์เต็มๆ ว่า Small and Medium Enterprise โดยความหมายตามคำศัพท์แปลว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
ธุรกิจ Startup
คำว่า Startup แปลตรงตัวว่า เริ่มต้นขึ้น เป็นการนำคำศัพท์มาใช้เรียกประเภทของธุรกิจที่มีลักษณะคือ เพิ่งเริ่มต้นก่อตั้ง ก่อการธุรกิจนั่นเอง
ความต่างโดยลักษณะของธุรกิจ
ธุรกิจ SME
จะต้องมีลักษณะอยู่ในกรอบที่กฎหมาย “พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543” ระบุไว้ กล่าวคือ ต้องมีลักษณะ 3 ประการ ดังนี้
1) กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สองร้อยคน
2) กิจการค้าส่ง ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน ห้าสิบคน
3) กิจการค้าปลีก ที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หกสิบล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สามสิบคน
ธุรกิจ Startup
จะมีลักษณะเฉพาะว่า เป็นธุรกิจที่มีการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์ เน้นเรื่องการเติบโตแบบเร่งด่วน รวดเร็ว มักนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้เสริมหรือช่วยแก้ปัญหาของสินค้าและบริการ
โดยรวมแล้วจะมีลักษณะจำเพาะอยู่ 2 ประการคือ
1) เป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด หรือช่วยแก้ปัญหา ในวงกว้าง
2) ตอบโจทย์แล้วยังต้องเข้าถึงตลาดดังกล่าวได้ด้วย
-ขอบคุณ https://www.officemate.co.th และ https://guru.sanook.com/2345/