1. สมดุลกล ( Mechanical Equilbrium )
สมดุลกล หรือ สมดุล (Equilibrium) คือ การที่มีแรงลัพธ์มากระทากับวัตถุแล้ววัตถุคงสภาพการเคลื่อนที่หรือพูดอีกอย่างว่าไม่มีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ กล่าวคือ ถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็ยังคงสภาพนิ่งหรือ ถ้าเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงเดิม ซึ่งเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ข้อที่ 1
สมดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สมดุลสถิต ( Static Equilibrium ) เป็นสมดุลของวัตถุขณะอยู่ในสภาพอยู่นิ่ง เช่น วางสมุดไว้บนโต๊ะแล้วสมุดไม่ล้ม ขวดน้าที่วางไว้หลังตู้เย็นแล้วไม่ตกลงมาจากตู้เย็น หรือกล่าวได้ว่าวัตถุใดๆก็ตามที่อยู่ในสภาพอยู่นิ่งเมื่อมีแรงลัพธ์มากระทาแล้ววัตถุยังคงสภาพอยู่นิ่งไว้ได้ถือว่าเป็นสมดุลสถิต
2. สมดุลจลน์( Kinetic Equilibrium ) เป็นสมดุลของวัตถุขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
เช่น รถยนต์วิ่งไปตามถนนด้วยความเร็วคงตัว กล่องลังไม้ไถลลงไปตามพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัว
หรือกล่าวได้ว่า วัตถุใดๆก็ตามที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วค่าหนึ่งเมื่อมีแรงลัพธ์มากระทากับแล้ววัตถุก็ยังคงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงเดิมถือว่าเป็นสมดุลจลน์ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการเคลื่อนที่ของ รอก กว้าน ล้อและเพลาที่หมุนรอบแกนซึ่งวางอยู่ในสภาพเดิมด้วยอัตราการหมุนคงตัวด้วย
2. สมดุลต่อการเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งแกร่งอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
1. การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ คือทุกส่วนเลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น การผลักไม้บรรทัดแล้วไม้
บรรทัดเลื่อนไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน
2. การเคลื่อนที่แบบหมุน คือมีส่วนเป็นแกนหมุนและส่วนอื่นๆเคลื่อนที่หมุนรอบแกน เช่น การ
เคลื่อนที่ของพัดลม แต่วัตถุบ้างที่ก็เคลื่อนที่แบบหมุนและเลื่อนที่ไปพร้อมๆกัน เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบอล
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่เป็นหลักอาจแบ่งสมดุลของวัตถุได้ 3 ชนิด คือ
1. สมดุลต่อการเลื่อนที่ (Translational Equilibrium ) คือ วัตถุอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว โดยไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน จะมีค่าแรงลัพธ์หรือผลรวมของแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุทั้งหมดเป็นศูนย์ หรือเขียนได้ว่า ∑F = 0
2. สมดุลต่อการหมุน ( Rotational Equilibrium ) คือสมดุลที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุมีอัตราการหมุนคงตัว และไม่เปลี่ยนสภาพการหมุน
3. สมดุลสัมบูรณ์ของวัตถุ คือสภาพที่วัตถุนั้นเกิดสมดุลต่อการเลื่อนที่ (อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่)และ สมดุลต่อการหมุน(ไม่หมุน) ไปพร้อมๆกัน แรงต่างๆ ที่กระทาต่อวัตถุเป็นไปตามเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1. แรงลัพธ์เป็นศูนย์ หรือผลรวมของแรงทุกแรงที่กระทาต่อวัตถุเป็นศูนย์ ( ∑ F = 0 )
2. ผลรวมของโมเมนต์ของแรงทุกแรงที่กระทาต่อวัตถุเป็นศูนย์ ( ∑ M = 0 )
สมดุลที่เกิดจากแรง 2 แรง
เมื่อมีแรงกระทาต่อวัตถุ 2 แรงแล้ววัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่( อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว)ดังรูป
จากรูป ได้ว่าแรงทั้งสองต้องมีความสัมพันธ์กันดังนี้
1. แรงทั้งสองต้องมีขนาดเท่ากัน จากรูป (ก.) F1 = F2 รูป (ข.) T = mg และรูป(ค.) F = mgsin∅
2. แรงทั้งสองต้องมีทิศทางตรงกันข้าม และอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
3. แรงลัพธ์ (∑F = 0) ของแรงทั้งสองเท่ากับศูนย์
1. จากรูปวัตถุ A มีมวล 10 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นเอียงลื่นอยากทราบว่า มวล B จะมีค่าเท่าไร มวล A จึงอยู่นิ่งได้ ( สมดุล )