จำนวนเชิงซ้อน (complex number) ในทางคณิตศาสตร์ คือ เซตที่ต่อเติมจากเซตของจำนวนจริงโดยเพิ่มจำนวน ซึ่งทำให้สมการ เป็นจริง และหลังจากนั้นเพิ่มสมาชิกตัวอื่นๆ เข้าไปจนกระทั่งเซตที่ได้ใหม่มีสมบัติปิดภายใต้การบวกและการคูณ จำนวนเชิงซ้อน ทุกตัวสามารถเขียนอยู่ในรูป โดยที่ และ เป็นจำนวนจริง โดยเราเรียก และ ว่าส่วนจริง(real part) และส่วนจินตภาพ (imaginary part) ของ ตามลำดับ
เซตของจำนวนเชิงซ้อนทุกตัวมักถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ จากนิยามข้างต้นเราได้ว่าเซตของจำนวนจริงเป็นสับเซตของเซตของจำนวนเชิงซ้อน ดังนั้นจำนวนจริงทุกตัวเป็นจำนวนเชิงซ้อน เราสามารถบวก ลบ คูณ และหารสมาชิกสองตัวใดๆ ของเซตของจำนวนเชิงซ้อนได้ (เว้นแต่ในกรณีที่ตัวหารคือศูนย์) และผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเชิงซ้อนเสมอ ดังนั้นในทางคณิตศาสตร์เราจึงกล่าวว่าเซตของจำนวนเชิงซ้อนเป็นฟีลด์ นอกจากนี้เซตของจำนวนเชิงซ้อนยังมีสมบัติปิดทางพีชคณิต (algebraically closed) กล่าวคือ พหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเชิงซ้อนจะมีราก (พหุนาม)เป็นจำนวนเชิงซ้อนด้วย สมบัตินี้เป็นที่รู้จักในชื่อทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต
นอกจากนี้ ในทางคณิตศาสตร์แล้วคำว่า “เชิงซ้อน” ถูกใช้เป็นคำคุณศัพท์ที่มีความหมายว่าฟีลด์ของตัวเลขที่เราสนใจคือฟีลด์ของจำนวนเชิงซ้อน ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์เชิงซ้อน, พหุนามเชิงซ้อน, แมทริกซ์เชิงซ้อน, และพีชคณิตลีเชิงซ้อน เป็นต้น
จำนวนเชิงซ้อน
ในระบบจำนวนจริง สมการพหุนามบางสมการ เช่น x + 1 = 0 ไม่มีคำตอบเนื่องจากกำลังสองของจำนวนจริงใดๆ จะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์เสมอ ในที่นี้เราจะศึกษาวิธีการสร้างระบบจำนวนชนิดใหม่ เพื่อให้หาคำตอบของสมการพหุนามทุกสมการได้เสมอ และเรียกจำนวนในระบบที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ว่าจำนวนเชิงซ้อน ( complex numbers) ซึ้งนอกจากจะปัญหาในเรื่องของการมีคำตอบของสมการพหุนามใดๆ แล้ว ยังสามารถประยุกต์อย่างกว้างขวางกับสาขาต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
1.1 การสร้างจำนวนเชิงซ้อน (Construction Of Complex Numbers) จากที่กล่าวข้างต้นว่า สมการพหุนาม x + 1 = 0 ไม่มีคำตอบเป็นจำนวนจริงแต่นักคณิตศาสตร์ต้องการสร้างระบบจำนวนซึ้งขยายระบบจำนวนจริงออกไปเพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกคำตอบของสมการพหุนามทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงพิจารณาเซตที่มีจำนวนจริงเป็นสับเซต
บทนิยาม จำนวนเชิงซ้อน คือ คู่อันดับ (a,b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงและกำหนดการเท่ากัน
การบวกและการคูณของจำนวนเชิงซ้อน ดังนี้
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน (a,b) และ (c,d)
1. การเท่ากัน
( a , b ) = ( c , d ) ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
2. การบวก
( a , b ) + ( c , d ) = ( a + c , b + d )
3 การคูณ ( a , b ) • ( c , d ) = ( ac – bd , ad + bc )
เราอาจเขียนแทน ( a , c ) • ( c , d ) ด้วย ( a , b )( c , d ) ก็ได้ เซตของจำนวนเชิงซ้อน
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ C
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวกและผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน (-1,2) และ (3,-4)
วิธีทำ (-1,2)+(3,-4) = (-1 + 3 , 2 – 4)
= (2 , – 2)
(-1,2)(3,-4) = ((-1)3 – 2 (- 4), ( -1 )( -4 ) + 2 • 3)
= (-3 + 8, 4 +6)
= (5, 10)
พิจารณาจำนวนเชิงซ้อนที่อยู่ในรูป ( x , 0 ) จะเห็นว่า
( a , 0 ) + ( b , 0 ) = ( a + b , 0 )
( a , 0 )( b , 0 ) = ( ab – 0 , a0 + 0b ) = ( ab , 0 )
ซึ่งเหมือนกับการบวก และการคูณจำนวนจริง ฉะนั้นเราสามารถมองจำนวนเชิงซ้อนในรูป
( a , 0 ) ว่าเป็นจำนวนจริง a ตามข้อสังเกตนี้จะได้ว่า เซตของจำนวนจริงเป็นซับเซตของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อเราแถนจำนวนเชิงซ้อน ( a , b ) ด้วยจุด ( a , 0 ) บนแกน x นั้นเอง
บทนิยาม
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z = (a,b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง
เรียก a ว่าส่วนจริง (Real part) ของ z และแทนด้วย Re(z)
เรียก b ว่าส่วนจิตภาพ (Imaginary part) ของ z และแทนด้วย Im(z)
จากบทนิยามนี้ อาจกล่าวได้ว่า จำนวนจริงก็คือจำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจินตภาพเป็นศูนย์ จำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจริงเป็นศูนย์ แต่ส่วนจินตภาพไม่ใช้ศูนย์ เรียกว่า จำนวนจินตภาพแท้(purely imaginary number)
ต่อไปพิจารณาจำนวนเชิงซ้อน ( 0 , 1 ) สังเกตว่า
( 0 , 1 )( 0 , 1 ) = ( 0 – 1 , 0 + 0 ) = (-1 , 0 )
ซึ่งจำนวนเชิงซ้อน (-1,0) คือจำนวนจริง -1 นั่นเองเขียนแทนจำนวนเชิงซ้อน(0,1)ด้วยสัญลักษณ์ i จะได้ว่า
i2 = -1
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน ( a , b ) ใด ๆ
( a , b ) = ( a , 0 ) + ( 0 , b )
= ( a , 0 ) + ( b , 0 )( 0 , 1 )
= a + bi
ฉะนั้น จำนวนเชิงซ้อน ( a , b ) สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ a + bi
การกำหนดสัญลักษณ์ของจำนวนเชิงซ้อนในรูป a + bi เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง ทำให้การคำนวณเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อนสามารถทำได้โดยง่ายโดยใช้สมบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการบวกและการคูณ เช่นเดียวกับสมบัติของการบวกและการคูณของจำนวนจริง และข้อตกลงว่า i2 = -1 เช่น ( a + bi ) + ( c + di ) = ( a + c ) + ( bi + di )
= ( a + c ) + ( b + d ) i
( a + bi )( c + di ) = a ( c + di ) + bi ( c + di )
= ac + abi + bic + bdi2 = ( ac – bd ) + ( ad + bc ) i
a + bi = c + di ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
ต่อไปเมื่อกล่าวว่า z = a + bi เป็นจำนวนเชิงซ้อน จะถือว่า a และ b เป็นจำนวนจริงโดยไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวกและผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน 3 + 2i และ 1 – i
วิธีทำ ( 3 + 2i ) + ( 1 – i ) = ( 3 + 1 )( 2 – 1 )i
= 4+i
( 3 + 2i )( 1 – i ) = 3( 1 – i ) + 2i ( 1 – i )
= 3 – 3i + 2i – 2i2
= ( 3 + 2 ) + ( -3 + 2 )i
= 5 – i