ไ ฟฟ้าสถิต (Statics Electricity)
ไฟฟ้าสถิต เป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ 2 ชนิด คือแท่งแก้วนำมาขัดถูกับผ้าไหม จะมีผลทำให้ ทำให้ อิเล็กตรอนย้ายที่ แท่งแก้วจะมีอำนาจไฟฟ้าดึงดูดวัตถุเบา ๆ เช่น เศษกระดาษ ไฟฟ้าสถิตทีเกิดจากธรรมชาติ เชน ฟ้าแล็บ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
ไฟฟ้ากระแส (Current Electricity)
คือแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มนุษย์สามารถผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานด้านต่างๆได้อย่างมากมายโดยการส่งกระแสไฟฟ้าให้เคลื่อน ที่ ไปในลวดตัวนำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือไฟฟ้ากระแสตรง( Direct Current) ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternation Current)
ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current)
ไฟฟ้ากระแสตรงนี้จะมีทิศทางการไหลไปในลวดตัวนำเพียงทิศทางเดียวโดยกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวก เสมอ เราเรียกว่ากระแสอิเล็กตรอน (Electron – Current) แต่เรานิยมให้ กระแสไฟฟ้าไหลจากขั้วบวกไปหาขั้วลบ เราเรียกว่า กระแสนิยม (Conventional- Current)แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงนั้นมีต้นกำเนิดมาจากเซลไฟฟ้า เช่น ถ่านไฟฉายและเบตเตอรี่ รถยนต์
เซลไฟฟ้า คือต้นกำเนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้ปฏิกิริยาทางเคมี แบ่งตามลักษณะการใช้ งาน ได้ 2 ชนิดคือ
1. เซลปฐมภูมิ (Primary Cell) คือเซลไฟฟ้าที่นำมาใช้งานจนหมดสภาพแล้วเราไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย
2. เซลทุติยภูมิ (SecondaryCell)แบตเตอรี่แบบสะสมคือเซลไฟฟ้าที่นำมาใช้งานแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ได้อีก โดยการเติมประจุ (Charge) เข้าที่เซลล์ไฟฟ้านี้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ หรือถ่านนิเกิลแคดเมี่ยมที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือ
ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternation Current) เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการไหลเปลี่ยนแปลงอย่ตลอดเวลาคือมีทั้งขั้วบวกและขั้วลบ สลับกัน โดยหลักการพื้นฐานแล้วกระแสไฟฟ้าสลับนี้เกิด จากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กตัดกับขดลวด โดยการ นำเอาขดลวดไปวางไว้ระหว่างสนามแม่เหล็กและหมุนขดลวดนั้นแล้วใช้เทคนิคในการต่อขั้วทั้งสองของขดลวดออก มาเราก็สามารถบังคับให้กระแสไฟฟ้าสลับออกมาใช้งานได้
ทิศทางของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวด จะเปลี่ยนแปลงไปตามการหมุนซึ่งตรวจดูความสัมพันธ์ ระหว่างมุมที่ขด ลวดกับขนาดทิศทางของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้น จะได้ผลดังรูป
เมื่อขดลวดอยู่ในตำแหน่ง (a)กำหนดให้เป็นมุม 0 องศาและกำหนดให้ขดลวดหมุนไปตามทิศทางของลูกศรในรูปเมื่อขดลวดอยู่ 0องศาขดลวดไม่ได้ติดฟลักซ์แม่เหล็กแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะเป็น0 เมื่อขดลวดหมุนไปอยู่ที่ 30 องศา และ 60 องศาแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะมีค่าสูงขึ้นและมีกระแสไหลจาก A ไป B ถ้ากำหนดให้ทิศดังกล่าวเป็นบวกทิศของแรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งเป็นบวกด้วยเมื่อขดลวดมาอยู่ตำแหน่งที่ (b) คือ 90 องศา ขดลวด A จะอยู่ใต้แม่เหล็ก S พอดีแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะมีค่าสูงสุดเมื่อขดลวดหมุนไปที่ 120 องศา และ 150 องศาแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะมีค่าลดลงและจะเป็น 0 เมื่อขดลวดอยู่ในตำแหน่ง (c ) คือที่ 180 องศา เมื่อเลย 180องศาไปจะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้นอีกแต่มีทิศทางกลับกันกระแสจะไหลจาก B ไป A เมื่อขดลวดหมุนไปเรื่อยๆก็จะได้ขนาดและทิศทางของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหมือนรูปข้างต้น