หมู่โลหิต (Blood type)ในร่างกายคนเรามีโลหิตอยู่ประมาณร้อยละ 9-10 ของน้ำหนักตัว โลหิตมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก และมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้.
1. ส่วนที่เป็นของเหลวซึ่งเรียกว่า น้ำโลหิต หรือพลาสมา ( Plasma ) มีอยู่ประมาณร้อยละ55 ของปริมาณโลหิตที่ไหลอยู่ในร่างกายในน้ำโลหิตประกอบด้วยน้ำร้อยละ 91 นอกนั้นเป็นสารอื่นๆ ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน สารอาหารต่าง ๆ และแก๊ส รวมทั้งของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น ยูเรีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น น้ำโลหิตทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร เอนไซม์ ฮอร์โมน และแก๊สกลับไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และลำเลียงของเสียต่าง ๆ มายังปอดเพื่อขับออกจากร่างกาย
2. ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ เซลล์เม็ดโลหิต และเกล็ดโลหิต ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 45 ของปริมาณโลหิตทั้งหมด
ภาพที่ 1 ตัวอย่างหมู่โลหิตที่พบ
ที่มา: http://www.scimath.org/article-biology/item/7418-2017-08-08-07-40-26
หมู่โลหิต คือ การแยกโลหิตของคนเราออกเป็นหมู่/เป็นกรุ๊ป (Group หรือ Type) ตามชนิดของสารชีวเคมี (Biochemicalsubstance) ที่มีชื่อว่า ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) หรือไกลโคไลปิด(Glycolipid) ที่ร่างกายสร้างขึ้นและปรากฏบนผิวเม็ดโลหิตแดงและเรียกว่าแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ซึ่งมีลักษณะจำเพาะในแต่ละหมู่โลหิต
โลหิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
- หมู่โลหิตระบบ ABO
- หมู่โลหิตระบบ Rh
1. หมู่โลหิตระบบ ABO
หมู่โลหิตเริ่มค้นพบใน คศ. 1900 โดย Karl Landsteiner พบหมู่โลหิต A, B, และ O ส่วนหมู่โลหิต AB พบโดย Von Decastello และ Sturli ในปี คศ. 1902 สถิติหมู่โลหิต ABO ของคนไทย มีดังนี้
หมู่โลหิตเริ่มค้นพบใน คศ. 1900 โดย Karl Landsteiner พบหมู่โลหิต A, B, และ O ส่วนหมู่โลหิต AB พบโดย Von Decastello และ Sturli ในปี คศ. 1902 สถิติหมู่โลหิต ABO ของคนไทย มีดังนี้หมู่โลหิตระบบเอบีโอประกอบด้วยหมู่โลหิตหลัก 4 หมู่ได้แก่ หมู่เอ (A),หมู่บี (B),หมู่โอ (O) และหมู่เอบี (AB) ซึ่งกำหนดหมู่โลหิตได้โดยชนิดของแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทานที่อยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดงและแอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody) ที่อยู่ในน้ำเหลืองหรือพลาสมาซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติเช่นกัน แต่จะพบว่าคนเราจะไม่สร้างแอนติบอดีต่อแอนติเจนที่ตนเองมีอยู่แล้ว (แอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อมีสารแปลกปลอมหรือแอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย) ดังนั้นเราจะสามารถบอกชนิดของหมู่โลหิตของแต่ละคนได้โดยการตรวจหาแอนติเจนและ แอนติบอดีจากโลหิต โดยหมู่โลหิตแต่ละหมู่จะมีลักษณะดังนี้
หมู่เอ: มีแอนติเจนเอบนผิวเม็ดโลหิตแดง มีแอนติบอดีบีในพลาสมา
หมู่บี: มีแอนติเจนบีบนผิวเม็ดโลหิตแดง มีแอนติบอดีเอในพลาสมา
หมู่โอ: ไม่มีแอนติเจนทั้งเอและบีบนผิวเม็ดโลหิตแดง แต่มีทั้งแอนติบอดีเอและบีในพลาสมา
หมู่เอบี: มีแอนติเจนทั้งเอและบีบนผิวเม็ดโลหิตแดง แต่ไม่มีทั้งแอนติบอดีเอและบีในพลาสมา
2. หมู่โลหิต ระบบอาร์เอช (Rh)
ปี คศ. 1939 Levine และ Stetson รายงานการค้นพบหมู่โลหิตระบบอาร์เอช เป็นหมู่โลหิตที่ประกอบด้วยแอนติเจนที่มีความสำคัญทางคลินิก 5 ชนิด คือ แอนติเจนดีใหญ่ (D), ซีใหญ่ (C), อีใหญ่ (E), ซีเล็ก ( c), อีเล็ก (e) และแอนติเจนอื่นที่เกี่ยวข้องที่ไม่ค่อยมีความสำคัญทางคลินิกอีก 46 ชนิด แต่แอนติเจนสำคัญที่เป็นตัวบ่งบอกชนิดของหมู่โลหิตระบบอาร์เอชนี้คือ แอนติเจนดีใหญ่ (D) ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 2 หมู่คือ
หมู่โลหิตอาร์เอชบวก (Rh positive, Rh+) : คือหมู่โลหิตที่มีแอนติเจน-ดีใหญ่ (Antigen-D) อยู่ที่ ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิตอาร์เอช (D) บวกประมาณ 99.7%
หมู่โลหิตอาร์เอชลบ (Rh negative, Rh-) : คือหมู่โลหิตที่ไม่มีแอนติเจน-ดีใหญ่ (Antigen -D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยพบว่ามีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3% หรือ 1,000 คนจะพบเพียง 3 คนเท่านั้นซึ่งเราเรียกว่าเป็น “หมู่โลหิตหายาก” หรือ “หมู่โลหิตพิเศษ”
หมู่โลหิตระบบอาร์เอชเป็นหมู่โลหิตที่มีความสำคัญรองลงมาจากหมู่โลหิตระบบเอบีโอเนื่อง จากแอนติเจน-ดีใหญ่สามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีได้ดีกว่าแอนติเจนอื่นๆของเม็ดโลหิตแดงปกติโดยธรรมชาติในคนเราจะไม่สร้างแอนติบอดีต่อแอนติเจน-ดีใหญ่ แต่จะพบว่ามากกว่า 80% ของคนหมู่อาร์เอชลบจะสร้างแอนติบอดี-ดีใหญ่ (Anti-D) ได้เมื่อได้รับโลหิตหมู่อาร์เอชบวก จากการถ่ายโลหิต/ได้รับโลหิตหรือจากตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจหมู่โลหิตอาร์เอช (ตรวจได้จากการตรวจโลหิต) ทั้งในผู้ป่วยและในผู้บริจาคโลหิตเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยที่เป็นหมู่โลหิตอาร์เอชลบ จะได้รับโลหิตอาร์เอชลบเท่านั้นเพื่อป้องกันการสร้างแอนติบอดี-ดีใหญ่ ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่มีความ สำคัญทางคลินิกเพราะสามารถทำให้เกิดเม็ดโลหิตแดงแตก/ถูกทำลายในคนที่มีแอนติบอดี-ดีใหญ่ และได้รับโลหิตอาร์เอชบวกเข้าไป
ถ้าผู้รับมีหมู่เลือด A ซึ่งมีแอนติบอดี – B ได้รับเลือดของผู้ให้ที่มีเลือดหมู่ B แอนติเจนของผู้ให้ก็จะจับกับแอนติบอดีของผู้รับทำให้เม็ดเลือดแดงของผู้ให้จับตัวกันเป็นกลุ่มตกตะกอนทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้รับได้ กล่าวโดยสรุปคือ การให้เลือดจะต้องระวังมิให้แอนติเจนของผู้ให้เป็นชนิดเดียวกันแอนติบอดีของผู้รับ
ตารางการให้เลือดและรับเลือด
Group | Can donate blood to | Can receive blood from |
A
B AB O |
A and B
B and AB AB All groups |
A and O
B and O All groups O |
การถ่ายทอดหมู่โลหิต ระบบ ABO ของพ่อ – แม่ – ลูก ที่เป็นไปได้
หมู่โลหิตของพ่อ | หมู่โลหิตของแม่ | หมู่โลหิตของลูกที่อาจจะเป็นไปได้ |
O | O | O |
O | A | O,A |
O | B | O,B |
O | AB | A,B |
A | A | A,O |
A | B | O,A,B,AB |
A | AB | A,B,AB |
B | B | B,O |
B | AB | A,B,AB |
AB | AB | A,B,AB |
แหล่งที่มา
Practical Transfusion Medicine. 4th edition, 2013.
AABB Technical Manual. 7th edition,2011.
Immunohematology Principle & Practice. 3rd edition,2011.
การจำแนกหมู่โลหิตในระบบ ABO. สืบค้นวันที่ 22 สิงหาคม 2561 . จาก https://sites.google.com/site/bloodsabo/about/2-1bloods