โดรนบังคับและอัตโนมัติจะมีราคาถูกลง และแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งมีความสามารถมากขึ้นทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมไปจนถึงระดับรัฐบาลและกองทัพ สะท้อนจากการเร่งพัฒนาหุ่นยนต์ของบรรดาชาติมหาอำนาจในโลก จะก่อให้เกิดธุรกิจแบบใหม่ โดยเฉพาะในด้านการขนส่ง รวมถึงอาชญากรรมรูปแบบใหม่ นำไปสู่การจัดระเบียบสังคมในหลายประเทศ
“โดรน” เดิมทีแล้ว มันคือหุ่นยนต์อัตโนมัติชนิดหนึ่งที่ใช้ในทางทหารมาก่อน มีหลายแบบเช่น หุ่นเครื่องบิน หุ่นรถ ยันหุ่นดำน้ำ จะเรียกว่า “หุ่นสังหาร” ก็ยังได้ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในตอนนั้นโดรนก็มีบทบาทแล้ว คือทำหน้าที่คอยสำรวจพื้นที่แวดล้อมของข้าศึก โดยมีการติดกล้องความละเอียดสูงในสมัยนั้น ไปสอดแนมพื้นที่เป้าหมายเพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์กัน หรือติดอาวุธสงครามอย่างจรวด ไม่ก็ขีปนาวุธถล่มข้าศึกจากระยะไกลซะเลย ข้อดีของมันคือ มันไม่ต้องใช้คนจริงไปเสี่ยงขับเข้าแดนศัตรู แต่ใช้การบังคับจากระยะไกลเลย (ข้อเสียคือแพง) จนเป็นเหตุให้โดรนถูกเรียกว่าอาวุธสังหาร (ที่ไร้หัวใจ) มาจนถึงทุกวันนี้
สุดท้ายนี้คิดว่า หลายคนน่าจะรู้จักกับโดรนกันมากขึ้นแล้ว เอาเข้าจริงๆ โดรนมันยังแปลได้อีกหลายความหมาย ในที่นี้จะเน้นไปในเรื่องของ มัลติโรเตอร์ ซะมากกว่า ซึ่งตอนนี้เรียกเป็นวงการๆหนึ่งได้เลย เพราะมีบางบริษัทเริ่มเล็งเห็นถึงความต้องการของเจ้านี้ขึ้นแล้ว จึงได้มีการผลิตโดรนทั้งแบบสำเร็จรูปเช่น Phantom กับ Spreading Wings ของทาง DJI เป็นต้น มีข้อดีคือไม่ต้องเซ็ตอะไรให้ยุ่งยากก็เล่นได้เลย หรือ แบบ Custom คือ มัลติโรเตอร์ ที่เราต้องหาชิ้นส่วนประกอบเอง ต้องใช้ความรู้พอสมควรเลย เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเอาการ (แต่สั่งร้านทำได้) ข้อดีคือ ได้มัลติโรเตอร์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร (ข้อเสียก็สลับกับข้อดีทั้งสอง)
สำหรับครั้งนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ หากมีโอกาสผมจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับ โดรน หรือ มัลติโรเตอร์ กันอีกครั้ง เนื่องจากมันมีรายละเอียดค่อนข้างมากทีเดียว เดี๋ยวจะยาวซะก่อน ก่อนไปขอทิ้งท้ายไว้ว่า “แม้ตอนนี้จะยังไม่มีกฎหมายควบคุมอย่างเป็นทางการ สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ แต่อย่างน้อยก็หวังว่า ทางผู้ใช้นั้นจะมีจริยธรรมพอที่จะไม่เอาไปใช้ในทางมิชอบ” นะครับ
-ชอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.techhub.in.th/