ข้อดี ข้อเสีย ของการเรียนแพทยศาสตร์
สำหรับข้อดีคือ เราได้ช่วยเหลือคนอื่นนะครับ แล้วก็อาชีพแพทย์จะเป็นอาชีพที่จบแล้วเราสามารถหางานได้เลย พูดง่ายๆ ว่าเราเรียนมาตรงสายครับ ก็จะโชคดีตรงที่มันก็จะง่ายในการจบมาแล้วมีงานรองรับเลย
ข้อเสียก็คือ เราต้องมีความอดทน ต้องมีความเสียสละ พูดง่ายๆ คือเราต้องอุทิศชีวิตส่วนตัวเราในการทำหน้าที่ อย่างเช่นช่วงที่เรียน เราก็ต้องเรียนและมีขึ้นเวรไปด้วย ถ้าให้เห็นภาพเลยก็คือมีการอดหลับอดนอน เพราะเราต้องเอาเวลาของเราไปช่วยเหลือและดูแลคนอื่นครับ รวมไปถึงเราต้องทนแรงกดดันจากสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน เรื่องเวลา รวมไปถึงต้องรับแรงกดดันจากคนไข้ด้วยครับ
แต่ก็ไม่ยากเกินไปถ้าผู้เรียนมีคุณสมบัติเหล่านี้ครับ
1. ขยัน
ข้อแรกสำคัญที่สุดคือ “ขยัน” หลายๆคนอาจจะคิดว่าการ เรียนแพทย์ นั้นต้องเป็นคนเก่ง ต้องฉลาดอะไรมากมาย แต่อยากได้รู้ว่าสิ่งที่สำคัญกว่าความเก่งในการ เรียนแพทย์ นั้นคือความขยันครับ เพราะเนื้อหาวิชาที่เรียนนั้นไม่ได้ยากเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจได้มากนัก เพียงแต่ปริมาณเนื้อหาที่ต้องเรียนนั้นมากมายมหาศาลเลยละ ดังนั้นถ้าน้องๆคนไหน อยากเป็นหมอ แล้วไม่ขยันบอกได้คำเดียวว่ายากที่จะได้เป็น หรือแม้ว่าเข้ามาเรียนได้แล้วก็ยากที่จะ เรียนแพทย์ ได้ดีเพราะน้องๆไม่มีทางจดจำเนื้อหาปริมาณมากขนาดนั้นตลอดระยะเวลา 6 ปีได้แน่นอนถ้าไม่ขยัน
2. ปรับตัวได้
ถ้าจำได้ในบทความ เรื่องเล่าชีวิตการเรียนหมอทั้ง 2 ภาค จะเห็นว่าการเรียนในแต่ละชั้นปีนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปเรื่อยๆ วิธีการเรียนและเนื้อหาที่เรียนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามชั้นปี ดังนั้นถ้าใครต้องการระยะเวลาในการปรับตัวในการเรียนนานๆ เรียนหมอ น่าจะลำบากครับเพราะเปลี่ยนปีก็ปรับตัวทีนึง ถ้าใช้เวลาปรับตัวนาน ก็พอดีหมด 1 ปี เลื่อนชั้นปีต้องปรับตัวใหม่ไม่เป็นอันเรียนหนังสือแล้วละครับ ดังนั้นถ้าจะมาเรียนหมอต้องเป็นคนที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ เข้ากับรูปแบบการเรียนใหม่ๆให้ได้อย่างรวดเร็ว แล้วจะสนุกไปกับการเรียนครับ
3. อดทน
เราใช้คำว่าอดทนในการ เรียนแพทย์ นั้นเพราะการเรียนแพทย์ต้องอดทนในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นอดทนในปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย(ของปี 4 5 และ 6)เพราะในการปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยนั้นจะไม่ได้เลิก 4 โมงเหมือนชีวิตเด็กมหาวิทยาลัยทั่วไปแน่นอน บางครั้งอาจเลิก 6 โมง 1 ทุ่ม หรือ 2 ทุ่มก็แล้วแต่งานที่ต้องทำครับ อดทนในการนอนน้อย เพราะการเรียนแพทย์นั้นจำเป็นต้องมีการอยู่เวร ทำให้ในคืนที่อยู่เวรอาจจะไม่ได้นอนหรือนอนเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องอดทนครับ อดทนในการไม่ได้เที่ยวเหมือนเพื่อนๆการ เรียนแพทย์ นั้นอาจจะทำให้น้องๆไม่ได้มีโอกาสไปเที่ยวหลังเลิกเรียน เที่ยววันเสาร์ อาทิตย์ได้มากเหมือนเพื่อนคณะอื่นๆ เพราะการเราอาจจะต้องเรียนตั้งแต่ 7.00-18.00 หรือบางครั้งมีนัดเรียนเพิ่มจะเลทกว่านี้ก็มี ดังนั้น อยากเรียนหมอ ต้องอดทน
4. มีความรับผิดชอบ
การเรียนหมอนั้นต้องมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนชั้นปีสูงๆ ซึ่งเป็นการเรียนกึ่งทำงานไปด้วยแล้วนั้น ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ต่อการดูแลผู้ป่วย เพราะความรับผิดชอบของหมอนั้น ตัดสินชีวิตของผู้ป่วยได้เลยละ
5. เรียนรู้อยู่เสมอ
การเรียนหมอนั้นแตกต่างจากคณะอื่นตรงที่เนื้อหาวิชาที่เรียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ซึ่งทุกวันนี้พัฒนาไปรวดเร็วมาก ส่งผลให้องค์ความรู้ ข้อมูลต่างๆทางการแพทย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ ดังนั้นการเรียนหมอจึงไม่ใช่ว่าเรียน 6 ปีแล้วใช้ความรู้นั้นประกอบอาชีพไปได้ตลอดชีวิต แต่ต้องหมั่นอ่านข้อมูลทางการแพทย์ใหม่ๆอยู่สม่ำเสมอ เข้าร่วมฟังสัมมนาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เรียกได้ว่าการเรียนแพทย์นั้น คือการเรียนรู้ตลอดชีวิตเลยละ
รงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง
โรงเรียนผลิตแพทย์ที่เป็นของรัฐบาล
- คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปกติ
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปกติ
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร)
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปกติ
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (หลักสูตร 7 ปี)
โรงเรียนผลิตแพทย์ที่เป็นของเอกชน
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ขอบคุณข้อมูล https://www.top-atutor.com/ และhttps://www.tmc.or.th/