การที่มนุษย์ในยุคหลังมองเห็นเทคโนโลยีคือทุกสิ่งทุกแอย่าง โดยลืมไปว่าเทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือของมนุษย์นั้น น่าจะประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อม 4 ปัจจัยด้วยกันคือ
ผลกำไรจากเทคโนโลยี : การที่มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นทำให้มนุษย์มองเห็นคุณค่าของเทคโนโลยีซึ่งนอกจากความสะดวกสบายและความอยู่รอดแล้ว เทคโนโลยียังสร้างผลกำไรและลดต้นทุนให้กับมนุษย์อย่างมหาศาล นับตั้งแต่การผลิตสินค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการบริการจนเข้าสู่ยุคของการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างสินค้าและบริการ มนุษย์จึงถูกประโยชน์จากผลกำไรเหล่านี้บดบังตาจนคิดว่าไปว่าปัญหาจากเทคโนโลยีคือปัจจัยที่ไม่สำคัญเมื่อเทียบกับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
ขาดกฎเกณฑ์การกำกับดูแลและการเพิกเฉยจากสังคม : กฎหมายและหลักปฏิบัติต่างๆที่สังคมยอมรับมักจะก้าวตามหลังการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่หลายก้าวเสมอ การใช้เทคโนโลยีจึงมักเป็นไปด้วยความประมาทและขาดความรับผิดชอบ รวมทั้งสังคมไม่ได้ให้ความสำคัญต่อภัยจากเทคโนโลยีมากเท่าที่ควร มนุษย์จึงต้องรับผลเชิงลบและปัญหา ที่เกิดขึ้นกับสังคมจากการใช้เทคโนโลยีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีประเภทดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligent :AI) นั้นมีความซับซ้อนและพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนยากที่จะออกกฎเกณฑ์การกำกับดูแลและกฎหมายได้ทันต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ขาดความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีกับกฎหมายและการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น
มนุษย์ถูกโน้มน้าวให้ใช้เทคโนโลยีจากภาครัฐ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้ให้บริการ : ประชาชนและผู้บริโภคต่างถูกกระตุ้นจากนโยบายของภาครัฐและแรงผลักดันจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ให้บริการ ฯลฯ ผ่านสื่อต่างๆจนทำให้ยอมรับโดยสนิทใจถึงประโยชน์จากเทคโนโลยีโดยไม่มีโอกาสรับรู้ถึงผลกระทบด้านลบซึ่งมักจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเสมอ
เทคโนโลยีทำให้เกิดการเสพติด : เทคโนโลยีหลายประเภทถูกออกแบบมาเพื่อการเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีประเภท Gadget และ Application รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ ที่ควบคู่กันมานั้นเป็นสิ่งที่ออกแบบมาให้มนุษย์เสพติดตั้งแต่เริ่มต้น สตีฟ จ็อบส์ รวมทั้งนักเทคโนโลยีคนดังๆของโลกอย่าง เช่น คริส แอนเดอร์สัน อีแวน วิลเลียมส์ ฯลฯ ต่างมองเห็นภัยของอุปกรณ์เหล่านี้ตั้งแต่แรก พวกเขาจึงจำกัดการใช้อุปกรณ์เหล่านี้แก่ลูกๆของพวกเขาเอง
แม้ว่าการเสพติดเทคโนโลยีเหล่านี้มิได้เกิดจากการเสพติดจากสารเสพติด แต่การเสพติดเทคโนโลยี เป็น “การเสพติดทางพฤติกรรม” (Behavioral addiction) ที่มีผลกระทบต่อสังคมแม่แพ้กัน นักเทคโนโลยีจากสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีคนนิยมอย่าง Instagram บางคนถึงกับออกมายอมรับต่อสังคมเองว่าเขาเองเป็นผู้สร้าง “เครื่องจักรแห่งการเสพติด” (Engine of addiction) ให้กับสังคมโลก
นอกจากนี้ยังพบข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญอีก 5 ประการจากการสำรวจครั้งนี้ คือ
- องค์กรที่ได้พัฒนาด้าน HR แล้ว มีความมั่นใจต่อความพร้อมในอนาคตของตนเองมากกว่าองค์กรอื่นๆ เกือบ 5 เท่า และสามารถดำเนินงานด้าน HR ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า 2 เท่า นอกจากนั้น องค์กรดังกล่าวยังมีอัตราส่วนบุคลากรด้าน HR ต่อพนักงานประจำโดยเฉลี่ย 1:92 เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ ซึ่งมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1:52
- องค์กร 3 ใน 4 แห่งมีแผนที่จะเพิ่มยอดใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถด้าน HR
- บริษัทในเอเชียแปซิฟิกกว่า 60 เปอร์เซ็นต์มีรูปแบบการให้บริการด้าน HR ที่ชัดเจนและเหมาะสม ซึ่งบ่งบอกว่าองค์กรนั้นๆ มีการพัฒนาที่ดี
- จะมีการนำระบบงานอัตโนมัติ (Automation) และ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วง 18 – 24 เดือนข้างหน้า โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ กำลังทำการประเมินกรณีการใช้งาน AI และระบบงานอัตโนมัติ รวมถึงขอบเขตการลงทุนในอนาคต
- ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Analytics) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผล ความสามารถ ประสิทธิภาพการทำงาน และการดึงดูดบุคลากร ผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 3 มีแผนที่จะปรับใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรที่แข็งแกร่งมากขึ้นในช่วง 12-24 เดือนข้างหน้า
ขอบคุณข้อมูล https://www.isranews.org/