ในวิชาการเงิน มักพร่ำสอนมาเสมอว่า เงินที่เราถืออยู่นั้นจะด้อยค่าลงซึ่งเราควรนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนให้ได้มากกว่าเงินเฟ้อ โดยเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3%
หมายความว่า ถ้าวันนี้เราถือเงินอยู่ 100 บาท ณ สิ้นปี สินค้าและบริการจะมีราคาสูงขึ้นจนทำให้เสมือนเงินของเรามีมูลค่าลดลงเหลือ 97 บาท
อย่างไรก็ตาม วันนี้สิ่งที่ประเทศไทยของเราเจอกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น
เพราะเงินเฟ้อกำลังติดลบในปีนี้
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เพราะเงินเฟ้อกำลังติดลบในปีนี้
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ภาวะเงินเฟ้อคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น
ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากและเร็วเกินไปจะกระทบกับฐานะความเป็นอยู่ประชาชน และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นหมดความน่าเชื่อถือไปด้วย
ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากและเร็วเกินไปจะกระทบกับฐานะความเป็นอยู่ประชาชน และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นหมดความน่าเชื่อถือไปด้วย
โดยการเกิดขึ้นของเงินเฟ้อนั้นอาจเกิดมาจากฝั่งผู้ซื้อ ที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเร็วมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่มีขายอยู่ในตลาด (Demand – Pull Inflation)
หรืออาจเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจนทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนดังกล่าวได้ จนต้องเพิ่มราคาสินค้าและบริการ (Cost – Push Inflation)
แล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเงินเฟ้อของประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
2561 อัตราเงินเฟ้อ 1.1%
2562 อัตราเงินเฟ้อ 0.7%
2561 อัตราเงินเฟ้อ 1.1%
2562 อัตราเงินเฟ้อ 0.7%
ดังนั้น คำว่า “เงินเฟ้อจะโตปีละ 3%” ก็ไม่เป็นจริงเสมอไป อย่างน้อยๆ ก็ในช่วงที่ผ่านมานี้
แต่ที่น่าสนใจคือ
ในเดือนเมษายน 2563 อัตราเงินเฟ้อของไทยเท่ากับ -2.9% ซึ่งติดลบมากที่สุดในรอบ 11 ปี..
ในเดือนเมษายน 2563 อัตราเงินเฟ้อของไทยเท่ากับ -2.9% ซึ่งติดลบมากที่สุดในรอบ 11 ปี..
ปรากฏการณ์เงินเฟ้อติดลบ ในทางเศรษฐศาสตร์เราจะเรียกว่า ภาวะเงินฝืด
ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง
แล้วสิ่งนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไรในประเทศไทย
เรื่องแรกเป็นเรื่องของราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่มีทิศทางลดลงมาตั้งแต่ปี 2561 สังเกตได้จากค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าประเภทเชื้อเพลิงนั้นลดลง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.longtunman.com/