1. มี passion ในการเรียน
ถ้าจะบอกว่าข้อแรกนี้สำคัญที่สุดก็คงจะไม่ผิดเพราะข้อเสียของการเรียนด้วยตัวเอง คือไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไชนั่นเอง ฉะนั้นเราต้องมีความต้องการที่จะเรียนจริงๆ มีความหลงไหลที่จะเรียน หากไม่มีข้อนี้แล้วการจะเรียนให้สำเร็จก็ยากแล้วละ หลายคนอาจจะชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น ชอบคนญี่ปุ่น ชอบเที่ยวญี่ปุ่น ชอบฟังเพลงญี่ปุ่น ชอบดูอนิเมะญี่ปุ่น ชอบเล่นเกมญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นแรงผลักดันที่ดีในการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้
2. ฝึกจำตัว ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ ให้ได้ก่อน
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ อย่างละ 46 ตัว ให้ฝึกเขียนและจำให้ได้ครบทุกตัวก่อน รวมไปถึงการฝึกผสมตัวอักษรและวิธีการอ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาดูได้เยอะแยะมากมายบนอินเตอร์เน็ต หนึ่งในเคล็ดลับการฝึกจำของผมก็คือ ทำฉลากตัวอักษรทั้งหมดใส่ในกล่อง เวลาอยู่ว่างๆก็หยิบขึ้นฉลากขึ้นมา แล้วให้อ่านตัวอักษรนั้นให้ได้เร็วที่สุด
3. หาหนังสือดีๆเพื่อใช้ในการเรียน
หลังจากที่จำฮิระงะนะ และ คะตะคะนะได้พอประมาณแล้ว ให้หาหนังสือดีๆมาเพื่อใช้ประกอบการเรียน โดยหนังสือดีๆ นั้นมีมากมาย แต่ที่หลายคนแนะนำเบื้องต้นก็คงจะเป็น みんなの日本語 (มินนะ โนะ นิฮงโกะ) ทั้ง 4 เล่ม นอกจากนี้ที่อยากจะแนะนำก็มีหนังสือ “คันจิที่มาและความหมาย” ซึ่งมีอยู่ 4 เล่มด้วยกัน นำมาใช้ฝึกคันจิควบคู่ไปกับการเรียนจากมินนะ โนะ นิฮงโกะ
4. สร้างสิ่งแวดล้อมของตนเองให้เป็นญี่ปุ่นมากที่สุด
คอมพิวเตอร์ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นให้หมด ถ้ามีคำไหนที่ไม่เข้าใจก็ให้เปิดค้นหาความหมายเอา นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับที่อยากจะแนะนำอีกอย่างคือ เขียนคำศัพท์แปะไว้บนสิ่งของต่างๆในบ้านเลย ถ้าเราได้เห็นมันอยู่ทุกวันๆ รับรองว่าต้องจำได้อย่างแน่นอน
5. อ่านแค่หนังสือ ไม่พอสำหรับการเรียนรู้
หนังสือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเรียนเท่านั้น บนโลกนี้มีสื่อการเรียนรู้อีกมากมายนอกจากในหนังสือ เช่น หาเพลงญี่ปุ่นมาฟังแล้วทำความเข้าใจความหมาย หาหนังหรือการ์ตูนญี่ปุ่นมาดู แต่อย่ามัวแต่อ่านซับไตเติ้ลนะ ไม่งั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ให้ใช้หูคอยฟังภาษาญี่ปุ่นไปด้วย เวลาที่เราเจอคำศัพท์ที่รู้จักจากในหนังหรือการ์ตูน มันรู้สึกภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกเลย
6. สงสัยตรงไหนให้หาคำตอบเดี๋ยวนั้นเลย
สมมติว่ากำลังนั่งคิดอะไรเพลินๆ แล้วอยู่ดีๆเกิดนึกแวบเข้ามาในหัวว่า “คำนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอะไรนะ รู้สึกคุ้นๆ จัง” ถ้าเป็นแบบนี้อย่าปล่อยผ่านครับ ให้เปิดหาคำตอบของความสงสัยเดี๋ยวนั้นเลย แล้วคำตอบของความสงสัยนั้นมันจะจำฝังหัวเราอัตโนมัติเลยละ
7. ทบทวนให้มากที่สุด
Herman Ebbinghaus ได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมายในช่วงเวลาที่ต่างๆกัน พบว่า
-คนเราจะจําได้ 100% ในช่วงเริ่มต้น
ขอบคุณข้อมูล https://teen.mthai.com/