สหภาพรถไฟสากล (International Union of Railways: UIC) กำหนดคำจำกัดความของรถไฟความเร็วสูงว่าหมายถึง “ขบวนรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงกว่า 200 กม./ ชม. บนทางรถไฟเดิมที่ปรับปรุงเพื่อการเดินรถไฟความเร็วสูงแล้ว” หรือ “ขบวนรถไฟที่วิ่งเร็วกว่า 250 กม./ ชม. บนเส้นทางพิเศษที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อเดินรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ”
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงขึ้น โดยเปิดการเดินรถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507
พิธีเปิดรถไฟความเร็วสูงสายแรกในโลก เมื่อ 1 ตุลาคม 2507
ปัจจุบัน รถไฟความเร็วสูงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป สำหรับประเทศในทวีปเอเซียที่มีรถไฟความเร็วสูงบริการประชาชนแล้ว คือ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และจีน
ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการสร้างรถไฟความเร็วสูงเป็นของตนเอง ได้แก่ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เกาหลีและจีน
รถไฟที่ใช้ขน ส่งผู้โดยสารแยกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม คือ รถไฟในเมือง (Urban rail) รถไฟระหว่างเมือง (Inter-city rail) และรถไฟความเร็วสูง (High speed rail) รถไฟทั้งสามประเภทนี้ทำหน้าที่ต่างกันและมีวัตถุประสงค์ในการออกแบบต่างกัน
การออกแบบรถไฟในเมืองมีรูปแบบหลายอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่การให้ บริการ และมีวัตถุประสงค์หลักคือขนคนไปกลับระหว่างที่อยู่อาศัยกับที่ทำงานในเมือง รถไฟขนส่งผู้โดยสารในเมืองจึงมีความอ่อนไหวต่อเรื่องเวลาที่ใช้ในการเดินทาง สูงมาก
รถไฟระหว่าง เมืองเป็นรถไฟแบบดั้งเดิมที่มีบริการหลายประเภทวิ่งร่วมทางกันโดยจอดให้ บริการตามชุมชนรายทางต่างกัน เช่น รถด่วนจะจอดเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ รถเร็วจอดเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่และชุมชนขนาดรองลงมาเพื่อลดเวลาการเดินทาง ส่วนรถธรรมดาจอดให้บริการทุกชุมชนตามสถานีรายทาง ทางรถไฟนี้จะมีขบวนรถสินค้าเดินร่วมทางด้วยเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากทาง รถไฟที่ลงทุนก่อสร้างขึ้น
รถไฟความเร็ว สูงเป็นรถไฟที่วิ่งบริการระหว่างชุมชนขนาดใหญ่มากตามรายทางซึ่งมีความต้อง การเดินทางที่เร็วกว่าการใช้รถไฟธรรมดา ความต้องการเดินทางนี้อาจสนองตอบได้โดยใช้เครื่องบิน แต่หากจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางสูงมาก ก็คุ้มค่าที่จะลงทุนสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูงแยกทางวิ่งออกไปจากทางรถไฟ ธรรมดา
โดยทั่วไป จะทำการพัฒนารถไฟธรรมดาขึ้นก่อนเพื่อชี้นำให้เกิดการใช้ที่ดินแบบรวมกลุ่ม เกิดเป็นชุมชนขนาดต่างๆขึ้นตามทางรถไฟ เมื่อชุมชนมีขนาดใหญ่มากและก่อให้เกิดปริมาณการเดินทางสูงจนรถไฟธรรมดาทำ หน้าที่ไม่ได้แล้ว จึงจะสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง ดังตัวอย่างเช่น ไต้หวันซึ่งมีโครงการรถไฟขนาดใหญ่ สร้างรถไฟทางคู่และเดินรถไฟฟ้าทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2522 แล้วจึงสร้างรถไฟความเร็วสูงในปี2550
ดัชนีชี้วัด อย่างง่ายๆว่าสมควรสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้วหรือยังคือจำนวนประชากรเมือง (Urban population) กล่าวคือ ประเทศที่สร้างรถไฟความเร็วสูงและมีจำนวนผู้โดยสารมากพอที่จะประกอบกิจการ เดินรถไปได้อย่างยั่งยืน มักจะมีสัดส่วนจำนวนประชากรเมืองสูง เช่น ฝรั่งเศสมีประชากรเมือง 76% ญี่ปุ่น 66% เยอรมนี 88% สหราชอาณาจักร 80% สเปญ 77% และจีน 47% เป็นต้น
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.thairailtech.or.th/