Apple นั้น ทางบริษัทเริ่มต้นมาจากการเปิดตัวระบบจ่ายเงิน Apple Pay ตามมาด้วยบัตรเครดิต Apple Card โดยร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Goldman Sachs ในขณะที่ Google ก็มีระบบจ่ายเงิน Google Pay และกำลังสนใจจะทำระบบบัญชีเงินฝาก ซึ่งตอนนี้มีรายงานว่าน่าจะร่วมมือกับ Citibank และเครดิตยูเนียนในแคลิฟอร์เนีย
ฟากอีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon ก็ไม่น้อยหน้า เตรียมนำ Amazon Pay บุกตลาดออฟไลน์ และเคยมีข่าวลือว่ากำลังหารือกับ JPMorgan เพื่อทำบัญชีเงินฝากภายใต้แบรนด์ตัวเองเช่นกัน
ส่วนโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง Facebook ก็มี Libra ที่พันธมิตรหลายรายเริ่มทยอยถอนตัวจนตอนนี้เริ่มพับแผน ก็ยังมีเปิดตัวระบบจ่ายเงิน Facebook Pay ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่น่าสนใจของบริษัทเหล่านี้คือ บริษัทเทคโนโลยีอยากทำบริการด้านการเงิน โดยจะออกแบบบัตรเอง ทำแอปเอง ทำระบบเองส่วนหนึ่ง ส่วนงานน่าเบื่อของธนาคารที่ต้องคอยทำตาม regulation จะยกให้เป็นหน้าที่ของธนาคาร
ทางการเงินมีไว้เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่กับแพลตฟอร์มได้นานขึ้น เพื่อผลประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น Google หรือ Facebook ก็จะเป็นรายได้จากโฆษณานั่นเอง
สำหรับ Facebook นั้นอาจจะดำเนินการด้วยท่าทีที่แตกต่างจากคนอื่นพอสมควร เพราะบริษัทเลือกที่จะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลใหม่ที่ชื่อว่า Libra ที่ผูกกับตะกร้าเงินและพันธบัตรรัฐบาล แต่เมื่อหน่วยงานด้านการกำกับดูแลการเงินหลายประเทศแสดงชัดเจนแล้วว่า “ไม่เอา” รวมทั้งบริษัทหลายแห่งเริ่มถอนตัว Facebook จึงต้องกลับไปแก้โจทย์อีกหลายข้อ
บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่เลือกที่จะร่วมมือโดยการเป็นพาร์ทเนอร์กับสถาบันการเงินแทนที่จะขอใบอนุญาตตั้งธนาคารของตัวเองขึ้นมาเอง โดยจุดประสงค์ของบริษัทเหล่านี้คือสร้างประสบการณ์ด้านการเงินบนแพลตฟอร์มของตัวเอง หรือเป็น Interface เพื่อเสริมกับบริการหลักของตนเองให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องรับภาระของการเป็นธนาคาร
ที่สำคัญ ผลตอบแทนจากสินทรัพย์เมื่อเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมและมีผู้ใช้งานอยู่ในมือจำนวนมหาศาล มันสูงกว่าการเป็นธนาคารอยู่แล้ว
-ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล https://brandinside.asia/