กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
เกิด วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 เมืองลินคอร์นเชียร์ (Lincohnshire) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน – ตั้งกฎแรงดึงดูดของโลก
– ตั้งกฎเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
– ตั้งทฤษฎีแคลคูลัส (Calculus)
– ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
– ค้นพบสมบัติของแสงที่ว่า แสงสีขาวประกอบขึ้นจากแสงสีรุ้ง
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
นักประดิษฐ์ผู้หนึ่งได้ประยุกต์กฎข้อที่สามของนิวตันสำหรับรถพ่วงดังรูป 2-39 ระหว่างรถลากกับรถพ่วง จะมีกลไกเบรกติดไว้อยู่ตรงกลาง กลไกเบรกนี้ไม่ได้อาศัยกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ใช้หลักของกฎข้อที่สามดังนี้ เมื่อคนขับเหยียบเบรก จะทำให้รถลากช้าลงหรือหยุดลง แต่เพราะว่ารถพ่วงมีความเฉื่อยทำให้มันยังไม่หยุดในทันที และเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้า ไปกดกลไกของเบรกที่อยู่ตรงกลางทำให้รถพ่วงหยุดตามรถลากได้
แรง คืออะไร
ในทางวิทยาศาสตร์ คำว่าแรงมีความหมายที่ง่ายและเฉพาะเจาะจง แรง ( Force ) คือ
การผลักหรือการดึง เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งผลักหรือดึงวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง นักเรียนอาจกล่าวได้ว่าวัตถุชิ้นแรกออกแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นที่สอง นักเรียนออกแรงกระทำต่อปากกาในขณะที่นักเรียนเขียนหนังสือ นักเรียนออกแรงกระทำต่อหนังสือในขณะยกหนังสือนักเรียนออกแรงกระทำต่อซิปกางเกงในขณะรูดซิป นักเรียนออกแรงกระทำต่อลูกบอลในขณะที่ขว้างลูกบอลนักเรียนออกแรงกระทำต่อรถในขณะที่นักเรียนเข็นรถ และออกแรงกระทำกับตะปูในขณะที่ใช้ค้อนตอกตะปู
ลงไปบนแผ่นไม้
ในทำนองเดียวกับความเร็วและความเร่ง นอกจากนักเรียนจะต้องบอกว่า แรงที่กระทำนั้นมีค่ามากเท่าไรแล้ว นักเรียนยังต้องบอกทิศที่แรงกระทำด้วย เช่น ถ้านักเรียนผลักประตู นั่นคือ นักเรียนกำลังออกแรงใน ทิศตรงข้ามกับในขณะที่นักเรียนดึงมัน
แรงที่ไม่สมดุล
สมมติว่านักเรียนต้องการผลักกล่องที่หนักใบหนึ่งไปตามพื้น ในขณะที่นักเรียนผลักกล่อง นั่นคือ นักเรียนได้ออกแรงกระทำต่อกล่อง ถ้ามีเพื่อนมาช่วยนักเรียนผลัก แรงทั้งหมดที่กระทำต่อกล่องก็คือ ผลรวมของแรงที่นักเรียนและเพื่อนช่วยกันผลัก ถ้าแรงสองแรงกระทำต่อวัตถุในทิศทางเดียวกัน แรงทั้งสองจะรวมเข้าด้วยกัน
แรง คือสิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่โดยที่วัตถุอาจเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้
เพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุอยู่ด้วย แรงถือเป็นปริมาณเวคเตอร์ที่ต้องกำหนดด้วยขนาดและทิศทาง
1. แรง (Force)
จากการศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรง พบว่า วัตถุอาจมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วซึ่งอะไรคือสาเหตุที่ทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่เป็นแบบดังกล่าว โดยปริมาณที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรง ได้แก่ ระยะทาง, การกระจัด, อัตราเร็ว, ความเร็ว, ความเร่ง และช่วงเวลา หากเดิมมีวัตถุหยุดนิ่งอยู่กับที่แล้วต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่ หรือถ้ากำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแล้วต้องการให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็ว พบว่า จะต้องมีแรงมากระทำกับวัตถุ แสดงว่า แรงที่กระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุมีความเร็วเปลี่ยนไป ซึ่งอาจเปลี่ยนเฉพาะขนาด หรือทิศทาง หรืออาจเปลี่ยนทั้งขนาดและทิศทางก็เป็นได้
ดังนั้น แรง คือ ความพยายามที่จะทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ มีในลักษณะต่างกัน เช่น รูปร่าง ตำแหน่ง หรือการหมุน ซึ่งเกิดจากการกระทำของแรงในลักษณะต่าง ๆ และอาจจะมีแรงมากกว่า 1 แรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้น
เนื่องจากแรงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง จึงจัดได้ว่าแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยคือ นิวตัน (N) และ
1.1 องค์ประกอบของแรง
กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
กฏข้อที่ 1 ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำกับวัตถุเป็นศูนย์วัตถุจะรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมถ้าเดิมวัตถุหยุดนิ่งก็จะ
หยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น หรือถ้าเดิมเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วคงที่ในแนวเส้นตรง จะได้สมการ
ซึ่งใช้กับการคำนวณสมดุลกล
กฏข้อที่ 2 ถ้ามีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์
โดยความเร่งจะมีขนาดแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ จะได้สมการ
กฏข้อที่ 3 ทุก ๆ แรงกิริยา (Action Force) จะมีแรงปฏิกิริยา (Reaction Force) ที่มีขนาดเท่ากัน
และมีทิศทางตรงกันข้ามกันเสมอจะได้สมการ
น้ำหนัก คือ แรงดึงดูดของโลกซึ่งกระทำต่อวัตถุอยู่ตลอดเวลา คำนวณได้จาก
โดยที่ W = น้ำหนักของวัตถุ มีหน่วยเป็นนิวตัน (N)
m = มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที
ค่า g ในบริเวณต่างๆ ทั่วโลกมีค่าไม่เท่ากัน โดยทั่วไปมักให้ใช้ค่า g = 10