อลัน ทัวริง (Alan Turing) เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ การศึกษานั้น จบการศึกษาจาก King’ S College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ชายคนนี้นิสัยชอบออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการพายเรือ เล่นเรือใบ หรือวิ่งมาราธอนแข่ง เค้าเคยวิ่งอย่างจริงจังจนได้ระดับโลก ซึ่งเร็วกว่าคนที่ได้เหรียญทองกีฬา
มาราธอนโอลิมปิก เมื่อปี 2491 เสียอีก ผลงานโดดเด่นของอลัน ทัวริง คือ ทฤษฎีความสามารถคำนวณใต้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing Test ) เครื่องจักรทัวริง (Universal Turing Maching ) เป็นต้น
ทัวริงเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ จบการศึกษาเกียรตินิยมด้านคณิตศาสตร์จาก King’s College แห่งเคมบริดจ์ และทำงานด้านคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ โดยคิดค้นกลไกด้านการคำนวณและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เอาไว้มากมาย จนกระทั่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดขึ้น เขาก็เข้ามาร่วมทีม GC&CS ซึ่งเป็นทีมไขรหัสสัญญาณของฝ่ายนาซีเยอรมัน
ฝ่ายเยอรมันใช้เครื่องอินิกมา (Enigma machine) ซึ่งเข้ารหัสอย่างซับซ้อนทำให้ยากต่อการแกะข้อมูล และกองทัพเยอรมันมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถถอดรหัสลับได้
ทัวริงกระโจนเข้ามาลุยแก้รหัสอินิกมาด้วยตัวเองเพราะว่า “ไม่มีใครทำอะไรกับมันเลย ผมเลยเอามันมาเป็นของผม” เขาเริ่มถอดรหัสในปี 1939 ร่วมกับทีมงาน และผลที่ได้คือเครื่อง Bombe และกระบวนการ Banburismus ที่ถอดรหัสอินิกมาได้ในที่สุด เขายังถอดรหัสลอเรนซ์ (Lorenz) ที่เยอรมนีใช้ในกองทัพเรือ โดยใช้เครื่อง Turingery และยังพัฒนากระบวนการ Delilah ในการเข้ารหัสคำพูดด้วย
ทัวริงจึงเป็นทั้งฮีโร่สงคราม และเป็นนักบุกเบิกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกของเราไปตลอดกาล แต่ในปี 1952 เขากลับถูกตอบแทนด้วยการทรมานและความตาย เพียงแค่มีรสนิยมชายรักชาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาอังกฤษ มาตราที่ 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และอาจต้องทำงานหนักด้วย ทัวริงถูกโน้มน้าวให้ยอมรับผิด โดยมีทางออกสำหรับเขา คือ รับโทษจำคุก กับรอลงอาญาแต่ต้องรับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อลดความต้องการทางเพศ
ทิวริงรับเงื่อนไขอย่างหลัง การฉีดฮอร์โมนเพศหญิงทำให้เขาหมดความต้องการทางเพศ สภาพร่างกายมีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น และยังหมดเรี่ยวแรงได้ง่าย
นอกจากนี้เพราะทำผิดกฎหมาย เขายังต้องตกงานจากหน่วยงานของรัฐ เหลือแต่งานด้านวิชาการเท่านั้น ทั้งยังถูกห้ามเข้าสหรัฐ ทั้งๆ ที่ในช่วงสงครามเขาเคยทำงานกับสหรัฐเพื่อถอดรหัสช่วยชาวโลก
วันที่ 7 มิถุนายน 1954 ทัวริงถูกพบเสียชีวิตในบ้านพักอายุแค่ 41 ปี หลังการชันสูตรพบว่าเขารับสารไซยาไนด์ในปริมาณที่ฆ่าคนได้ แต่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบเหตุผลที่ทำให้เขาตาย บ้างว่าเขาฆ่าตัวตายเพราะแรงกดดันจากข้อหารักร่วมเพศและการถูกฉีดยาลดความต้องการทางเพศ บ้างก็ว่าเขารับไซยาไนด์โดยบังเอิญเพราะเป็นสารเคมีที่เขาใช้ในการทำงาน บ้างก็ว่าเขาถูกลอบสังหารเพื่อป้องกันความลับของรัฐบาลรั่วไหล
เครื่องจักรทัวริง (อังกฤษ: Turing machine) คือเครื่องจักรนามธรรมที่แอลัน ทัวริงได้คิดค้นขึ้นใน ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) เพื่อการนิยามขั้นตอนวิธีหรือ ‘กระบวนการเชิงกล’ อย่างชัดเจนแบบคณิตศาสตร์ เครื่องจักรทัวริงได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดยเฉพาะในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณและทฤษฎีการคำนวณ ข้อปัญหา (thesis) ที่ว่าโมเดลของเครื่องจักรทัวริงนั้นครอบคลุมกระบวนการเชิงกลทั้งหมด ในการคำนวณทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อข้อปัญหาของเชิร์ช-ทัวริง
แนวคิดของเครื่องจักรทัวริงนั้นต้องการจะอธิบายการทำงานของคนที่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อแก้ไขข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในกระดาษที่เรียงต่อกันความยาวไม่จำกัด โดยที่กระดาษแผ่นหนึ่งจะสามารถเก็บสัญลักษณ์ได้หนึ่งตัวจากสัญลักษณ์ที่เป็นไปได้จำนวนจำกัด ผู้ปฏิบัติงานนั้นจะต้องจดจำสถานะหนึ่งจากสถานะที่เป็นไปได้ที่มีจำนวนจำกัด และขั้นตอนที่ระบุให้เขาทำงานนั้นจะอยู่ในลักษณะเช่น “ถ้าสถานะของคุณคือ 42 และสัญลักษณ์บนกระดาษที่คุณเห็นคือ ให้เปลี่ยนสัญลักษณ์นี้เป็น ‘1’, จดจำว่าสถานะใหม่เป็น 17 และไปทำงานต่อกับกระดาษแผ่นถัดไป”
เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการทดสอบของทัวริง ซึ่งถูกใช้เพื่ออธิบายความหมายของปัญญาประดิษฐ์โดยทัวริง
เครื่องจักรทัวริงที่สามารถจำลองการทำงานของเครื่องจักรทัวริงเครื่องใด ๆ ก็ได้เรียกว่า เครื่องจักรทัวริงสากล (universal Turing machine) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครื่องจักรสากล ทัวริงอธิบายไว้ใน ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) ว่า
สามารถแสดงได้ว่ามีเครื่องจักรพิเศษในรูปแบบนี้ ที่สามารถทำงานของเครื่องจักรอื่น ๆ ในรูปแบบดังกล่าวได้ทั้งหมด นอกจากนี้เครื่องจักรนี้ยังสามารถใช้เป็นโมเดลสำหรับเครื่องจักรในแบบอื่น ๆ เครื่องจักรพิเศษนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นเครื่องจักรสากล
อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ผู้เปลี่ยนโลกของเราให้เป็นได้อย่างทุกวันนี้ แล้วเขาเปลี่ยนอะไรบ้าง พบกับ 5 ผลงานโดดเด่นที่เขาได้ทำประโยชน์ต่อชาวโลก ดังนี้
1. ถอดรหัสอินิกมา ช่วยผู้คนมากกว่า 14 ล้านชีวิต
‘ทัวริง’ วีรบุรุษสงครามโลก หนึ่งในทีมถอดรหัสข้อความลับเครื่องอินิกมา (Enigma Machine) ของฝ่ายนาซี ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรู้เท่าทันกลยุทธ์ของฮิตเลอร์ สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงสิ้นสุดเร็วขึ้น และสามารถช่วยชีวิตผู้คนจากสงครามได้อย่างมหาศาล
2. เครื่องจักรทัวริง กับต้นแบบคอมพิวเตอร์
‘ทัวริง’ บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนา เครื่องจักรทัวริง หรือ Universal Turing Machine เครื่องจักรที่สามารถทำได้ทุกอย่างเมื่อใส่วิธีการแก้ปัญหาหรืออัลกอริทึมลงไป เป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่ประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ พัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบัน
3. จุดกำเนิดดิจิทัลคอมพิวเตอร์
‘ทัวริง’ นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์จากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในงานทั่วไปที่ไม่ใช่เพียงเครื่องจักรที่ใช้ในการถอดรหัสเท่านั้น แนวความคิดนี้จึงเป็นที่มาของการสร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรก (Pilot ACE) ในปี ค.ศ. 1950
4. ปัญญาประดิษฐ์ จากบททดสอบทัวริง
‘ทัวริง’ ผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์ ได้คิดค้นบททดสอบความฉลาดของเครื่องจักร หรือ Turing Test โดยให้ผู้ทดสอบปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และกับเครื่อง ถ้าผู้ทดสอบแยกแยะไม่ได้ว่ากำลังปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือเครื่องอยู่ นั่นแสดงว่าเครื่องจักรมีความสามารถเลียนแบบความคิดได้เหมือนมนุษย์
5. ถอดรหัสสิ่งมีชีวิต ด้วยกฎทางคณิตศาสตร์
‘ทัวริง’ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ชั้นสูงอธิบายการเกิดรูปแบบต่าง ๆ ในธรรมชาติ ว่าเป็นไปตามกฎทางคณิตศาสตร์อย่างไร ผลการศึกษานี้ถือเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีการเกิดลวดลายและสัณฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น ลวดลายบนผิวของม้าลาย จุดบนผิวของเสือดาว
-ขอบคุณข้อมูล https://www.posttoday.com/
และ https://www.scimath.org/article-technology/item/12290-5-2