โรงสกูล (School) หรือ โรงเรียนหลวง โรงเรียนแรกของเมืองไทย
- หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2411 ต่อมาอีกไม่กี่ปี ในปีพุทธศักราช 2414 พระองค์ท่านได้โปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม สถานที่ดังกล่าวนี้ คือ โรงสกูลหลวง (โรงเรียนหลวง) และ โรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ
- โรงสกูลหลวง ตั้งอยู่ข้างโรงละครเก่าในสนาม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยครูใหญ่คนแรกก็คือ หลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมอาลักษณ์ (นามจริง “น้อย อาจารยางกูร ต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระศรีสุนทรโวหาร”) และโปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษสำหรับสอนภาษาอังกฤษ ให้กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และหม่อมเจ้าต่างกรม ที่ทรงได้เรียนภาษาไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ที่ตึกสองชั้น ข้างประตูพิมานไชยศรี ด้านทิศตะวันออก มีนายฟรานซิส ยอร์ช แปเตอร์สัน เป็นครูผู้สอน ในปี พุทธศักราช 2422 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาใหม่ ณ พระราชวัง นันนทอุทยาน เรียกชื่อว่า “โรงเรียนนันทอุทยาน” หรือ “โรงเรียนสวนนันทอุยาน” โดยโปรดฯ ให้หมอแมคฟาร์แลนด์ (S.G. Mc. Farland) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ และมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง จำนวน 8 ท่าน ทำหน้าที่ควบคุม ดูและจัดการ และนี่คือกำเนิด “โรงเรียน” ที่มีคุณลักษณะ เป็นโรงเรียนอย่างแท้จริง แทนการเรียนตามวัด หรือบ้าน ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง แต่ ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนสำหรับราชนิกูลหรือบุตรหลานของข้าราชการ
ในปี 2427 ที่ได้ มีการตั้งโรงเรียนเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนหลวง สำหรับราษฎร ขึ้นตามวัดหลายแห่งทั้งในพระนคร และตามหัวเมืองสำคัญ ๆ ดังนั้น โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกจึงถือกำเนิดขึ้น ที่กรุงเทพฯ นี่เอง ณ วัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว ตำบลเสาชิงช้า อำเภอพระนคร โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร แห่งแรกนี้ ก็คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” หรือ “โรงเรียนวัดมหรรณพ์”
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://teen.mthai.com/