การแบ่งโครงสร้างภายในของโลก
โครงสร้างภายในของโลก สามารถสรุปเป็นชั้นต่างๆ สำคัญ ดังนี้
- เปลือกโลก คือ ส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของโลก มีทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินและน้ำที่มองเห็นอยู่ภายนอกกับส่วนที่เป็นหินแข็งฝังลึกลงไป ใต้ผิวดินและผิวน้ำ เปลือกโลกนี้มีความหนาประมาณ 6- 35 กิโลเมตร
- แมนเทิล คือ ส่วนที่อยู่ถัดลงไปจากเปลือกโลกหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร บางส่วนของชั้นนี้มีหินเหลวหนืดและร้อนจัดประกอบด้วยธาตุต่างๆ เช่น ซิลิคอน เหล็ก อะลูมิเนียม หลอม ละลายปนกันอยู่ภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูงมาก
- แก่นชั้นนอก คือ ส่วนที่อยู่ชั้นในของโลก มีความหนาประมาณ 2,250 กิโลเมตร ในชั้นนี้ประกอบด้วยเหล็กและนิเกิล โดยแก่นโลกชั้นนอกเป็นสารหลอมเหลว
- แก่นชั้นใน คือ ส่วนที่อยู่ชั้นในสุดของโลก มีความหนาประมาณ 1,230 กิโลเมตร ในชั้นนี้จะอยู่ลึกมาก จึงมีความกดดันและมีอุณหภูมิสูงทำให้อนุภาคของเหล็กและนิเกิลถูกอัดแน่นจนเป็นของแข็ง
แผ่นเปลือกโลก
เปลือกโลกมีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า เพลต (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโดออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอดเวลา ดังภาพ
แผนภาพแสดง แผ่นเปลือกโลก
- เปลือกโลก ( Crust ) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 0 – 70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่น ๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม มีหน้าที่ห่อหุ้มพลังงานความร้อนของโลก และมีความสำคัญมากที่สุดเนื่องจากมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
โครงสร้างของเปลือกโลก 2 แบบ คือเปลือกโลกส่วนทวีป ( Continental Crust ) และเปลือกโลกส่วนมหาสมุทร ( Oceanic Crust ) เปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความแตกต่างเฉพาะของเปลือกโลก และแบ่งเปลือกโลกออกเป็น 2 ชั้น ตามลำดับจากผิวโลกดังนี้
- เปลือกโลกชั้นบน ( Outer Crust ) ส่วนใหญ่เป็นหินไซอัล ( Sial ) ซึ่งเป็นหินแกรนิตของเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป หินไซอัล ประกอบด้วยซิลิกา ( Silica ) และ อะลูมินา ( Alumina ) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคำว่า Sial ( Si-al ) มาจากอักษรสองตัวแรกที่เป็นชื่อของสารประกอบทั้งสองนั่นเอง
- เปลือกโลกชั้นล่าง ( Inner Crust ) องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหินไซมา ( Sima ) ซึ่งเป็นหิน บะซอลล์ของเปลือกโลกส่วนที่เป็นท้องมหาสมุทร และอยู่ด้านล่างของหินไซอัล หินไซมาประกอบด้วยซิลิกา ( Silica ) และ แมกนีเซีย (Magnesia)
ภาพที่ 3 แสดงลักษณะและชั้นของเปลือกโลก
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Sial_ve_sima.jpg , www.cografyatutkudur.com.
- เนื้อโลก ( Mantle ) เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงไปจากเปลือกโลก มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร นับจากฐานล่างสุดของเปลือกโลกจนถึงตอนบนของแก่นโลก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ
2.1 ชั้นเนื้อโลกส่วนบน เป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตกเนื่องจากความ เปราะ ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก รวมตัวกันเรียกว่า “ธรณีภาค” ( Lithosphere ) ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าชั้นหิน ชั้นธรณีภาคมีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไป
2.2 ชั้นฐานธรณีภาค ( Asthenosphere ) ชั้นเนื้อโลกถัดลงไปที่ความลึก 100 – 700 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิสูงมากทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด ( Magma ) ที่ประกอบด้วยธาตุซิลิกอน เหล็ก และอลูมิเนียม เคลื่อนที่หมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้า ๆ ด้วยการพาความร้อน ( Convection )
2.3 ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง ( Lower Mantle ) เป็นชั้นล่างสุดอยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 700 – 2,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแน่นและหนืดกว่าตอนบน มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็ก แมกนีเซียม และซิลิเกท อุณหภูมิสูงตั้งแต่ประมาณ 2,250 – 4,500 องศาเซลเซียส
- ชั้นแก่นโลก ( Core ) เป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุด มีความหนาประมาณ 3,440 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
3.1 แก่นโลกชั้นนอก ( Outer Core ) มีลักษณะเป็นของเหลวร้อน อุณหภูมิสูงมาก ประมาณ 4,300 – 6,200 องศาเซลเซียส มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 – 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย
3.2 แก่นโลกชั้นใน ( Inner Core ) อยู่ถัดจากแก่นโลกชั้นนอกจนถึงจุดศูนย์กลางโลก มีอุณหภูมิประมาณ 6,200 – 6,400 องศาเซลเซียส และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/ และ http://nakhamwit.ac.th/